ปรับเวลา “ซื้อขายหุ้นไทย” ตอบโจทย์ตลาดทุนแค่ไหน

ปรับเวลา “ซื้อขายหุ้นไทย”  ตอบโจทย์ตลาดทุนแค่ไหน

ประเด็น “ท็อป ออฟ เดอะ ทาวน์” ในแวดวงตลาดหุ้นไทยที่จะมีการปรับเปลี่ยนเวลา “ ซื้อขายในตลาดหุ้น” ให้เร็วขึ้น หลังมีการพูดถึงประเด็นนี้มาก่อนหน้านี้แต่กลับมาเป็นเรื่องใหญ่หลังนายกรัฐมนตรีสอบถามถึงการดึงเงินลงทุน และสร้างความเชื่อมั่นในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น

เงื่อนไขในการปรับเวลา เพิ่มชั่วโมงเทรดบ่ายให้เร็วขึ้นครึ่งชั่วโมง  และจะดำเนินการต่อการขยายเร็วขึ้นในช่วงเช้าอีกครึ่งชั่วโมง จากปัจจุบันตลาดหุ้นไทยเปิดทำการซื้อขาย 10.00 น.  – 12.30 น. เพื่อการซื้อขาย เปิดซื้อขายช่วงบ่าย  14.30 -16.30 น. แต่ช่วง 30 นาที ก่อนเปิดซื้อขายช่วงเช้าและบ่าย จะเป็นการซื้อขายด้วยวิธีจับคู่อัตโนมัติ โดยจับคู่ซื้อขายครั้งเดียวเมื่อเปิดทำการ (Auction) และ 30 นาทีก่อนปิดตลาด การซื้อขายด้วยวิธีบันทึกการซื้อขาย (Trade Report)

      ตามช่วงเวลาดังกล่าวทำให้ตลาดหุ้นไทยมีเวลาซื้อขายอยู่ที่เกือบ 5 ชั่วโมง ซึ่งเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆทั่วโลกที่มีการซื้อขายตลาดหลักในเอเชีย (ตามเวลาไทย)  Nikei ของ ญี่ปุ่น 07.00 - 13.00 น.,  Kospi เกาหลีใต้ 07.00 - 13.30 น. ส่วนจีน (SSE)และฮ่องกง (HSI) 08.30 - 15.50 น. ถือว่าเป็นเวลาคาบเกี่ยวช่วงทำการเช้าตลาดหุ้นไทย

      ตลาดหุ้นยุโรป เช่น DAX, FTSE100, CAC40 อยู่ที่ 14.00 - 22.30 น. เป็นเวลาคาบเกี่ยวทำการซื้อขายช่วงบ่ายของตลาดหุ้นไทย  ส่วนสหรัฐ Dow30, S&P500 , Nasdaq 21.30 - 04.30 น. เป็นช่วงที่ตลาดหุ้นไทยปิดทำการ

       ปรับเวลา “ซื้อขายหุ้นไทย”  ตอบโจทย์ตลาดทุนแค่ไหน

อย่างไรก็ตาม การขยายระยะเวลาการมองโอกาสหลายด้าน หากเป็นนักลงทุนสายเทคนิคย่อมเป็นการเพิ่มเวลาหมุนการซื้อขายหุ้นได้หลายรอบกลุ่มนักลงทุนพื้นฐานไม่ได้เพิ่มโอกาสมากกว่าเดิม ส่วนนักลงทุนต่างประเทศมีช่วงเวลาคาบเกี่ยวกับตลาดหุ้นไทยอยู่แล้วแต่ สิ่งที่จะเพิ่มโอกาส คือ ภาวะการลงทุน และการเติบโตหุ้นรายตัวที่มีมาร์เก็ตในตลาดหุ้นที่ยังเผชิญแรงขายมาตลอด

        ภาพตลาดทั่วโลกเผชิญแรงเทขายเพื่อลดความเสี่ยง และไปพักลงทุนในตลาดพันธบัตร การดำเนินนโยบายการเงินของเศรษฐกิจโลก FED  ยังเปิดโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย 1 ครั้งในปีนี้ ตาม Dot pot (สำรวจความคิดเห็นเจ้าหน้าที่ FED) ในการประชุมครั้งก่อน ซึ่งจะมีรอบที่เหลือจะมีการประชุม 1 พ.ย. 2566 และ 12-13 ธ.ค.2566 

     โดย FedWatch Tool บ่งชี้ว่านักลงทุนให้น้ำหนัก 99.5% FED จะคงอัตราดอกเบี้ย 5.25 - 5.50% ประชุมวันที่ 31 ต.ค. - 1 พ.ย.66 และให้น้ำหนัก 79.9% คงอัตราดอกเบี้ย 5.25 - 5.50% ประชุม 12 - 13 ธ.ค.66 เมื่อดอกเบี้ยยังขาขึ้นได้อีกยิ่งกดดันภาคธุรกิจที่จะมีต้นทุนสูงตามไปด้วย

      สะท้อนจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ ( Bond Yield ) 10 ปี ทะลุ 5%  ในช่วงที่ผ่านมา และเมื่อมีการเปรียบเทียบการลงทุนในตลาดหุ้นมีประเด็นใหม่ และใหญ่มากดดัน “สงครามอิสราเอล – กลุ่มฮามาส”  ยังยืดเยื้อ และมีประเทศอื่นทั้งสนับสนุน และต่อต้านจนกลายเป็นความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจโลกในอนาคต

      ดังนั้นนักลงทุนมีเงินลงทุน (Fund Flow) ต้องการแสวงหาผลตอบแทนลงทุนเมื่อเปรียบเทียบกับ Bond Yeild อายุ 10 ปี ที่ 5%   กับอัตรากำไรบริษัท (EPS) ปีนี้ที่ปรับตัวลงยัง และไม่กลับมาเติบโตทันทีระยะเวลาอันใกล้ จึงเกิด “Earning Yield Gap”   

     คือ หรือผลตอบแทนเปรียบเทียบพันธบัตร และหุ้นที่ต้องห่างมากที่สุดตามความเสี่ยง ตามธรรมชาติพันธบัตรผลตอบแทนน้อยจากความเสี่ยงน้อย  ตรงข้ามตลาดหุ้นผลตอบแทนสูงแต่ความเสี่ยงก็สูงตาม ปรากฏว่าตลอดปี 2566 ผลตอบแทนพันธบัตรยังสูงแต่ตลาดหุ้นกลับผลตอบแทนลดลงไปเรื่อยๆ ทำให้ Earning Yield Gap  แคบลงจนทำให้ Fund Flow ไม่จำเป็นต้องพักเงินหรือลงทุนในตลาดหุ้นระยะนี้

     การลดความเสี่ยง และเทขายหุ้นอย่างหุ้นไทยตั้งแต่เดือนเม.ย. ของนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่องจนเป็นยอดขายสุทธิมากถึง 1.7 แสนล้านบาท   กดดันดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลดลงตั้งแต่ 1,690 จุด  จนมาถึงจุดต่ำสุดในรอบ 3 ปี ที่ 1,371.22 จุด (26 ต.ค.2566) หรือเป็นการปรับตัวลดลง 16% หรือ - 300 จุด !!

     สภาวะตลาดหุ้นวันนี้การขาดสภาพคล่อง และไม่มีปัจจัยใหม่ที่หนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยได้   จากนโยบายภาครัฐที่ประกาศใช้แล้วเป็นการลดภาระค่าครองชีพชั่วคราว ส่วน “เงินดิจิทัลวอลเล็ต”  10,000 บาท ยังไร้ทิศทางจะออกมาในรูปแบบไหน แต่ต้นทุนธุรกิจสูงขึ้นและกำลังซื้อขาดหายไปเพราะภาคการท่องเที่ยวยังต้องลุ้นให้ถึงเป้าหมาย 10 ล้านคนปีนี้ล้วนแต่เป็นเรื่องยากเศรษฐกิจไทย

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์