7 แบงก์เตรียมอวดกำไร Q2/66 BBL –KTB –TTB คาดเติบโตมากสุด

7 แบงก์เตรียมอวดกำไร Q2/66   BBL –KTB –TTB  คาดเติบโตมากสุด

เตรียมรายการผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2566 ตามธรรมเนียมกลุ่มแรกคือ “ธนาคารพาณิชย์” ที่มีความคาดหวัง อานิสงค์หลักจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ย Net Interest Margin (NIM) ของธนาคารเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย

       เฉพาะ NIM ที่ปรับขึ้นตามนโยบาบดอกเบี้ยในปีนี้ตามการประชุม กนง 3 นัด คือ 25 ม.ค. 2566 2566 คณะกรรมการมีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.25% เป็น 1.50% โดยมีผลทันที

         วันที่ 28 มี.ค. 2566 คณะกรรมการมีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.50% เป็น 1.75% โดยมีผลทันที และล่าสุด 31 พ.ค. 2566 คณะกรรมการมีมติเอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.75% เป็น 2.00% โดยมีผลทันที

        ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ทยอยประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยขาฝากและขากู้พร้อมเพรียงกัน ซึ่งดอกเบี้ยที่มีส่วนต่างมากขึ้นทำให้เป็นปัจจัยบวกสำหรับธนาคาร

      บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ประเมินกลุ่มแบงก์จากสินเชื่อสุทธิทั้งกลุ่มเดือนพ.ค.2566 ค่อนข้างทรงตัว จากตัวเลขธนาคารพาณิชย์ 11 รายงานสินเชื่อสุทธิ และสำรับของ 7ธนาคารที่วิเคราะห์พบว่า เดือนพ.ค.2566 สินเชื่อค่อนข้างทรงตัว

    โดยสินเชื่อเดือนพ.ค.เทียบกับไตรมาสก่อนเดือนมี.ค. ขยายตัว 0.4% (QTD)แต่ลดลง0.3% (YTD) ซึ่งหลายธนาคารยังระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อโดยใช้เกณฑ์ที่เข้มงวด มีธนาคารที่มีสินเชื่อเติบโตโดดเด่นสุดคือ TISCO (+3.8% QTD และ +4.4% YTD) รองลงมาคือKKP (+2%QTDและ+4.9% YTD) ขณะที่ธนาคารส่วนใหญ่มีสินเชื่อทรงตัวถึงลดลงเล็กน้อย

    ด้านแนวโน้มดอกเบี้ยยังคงเป็นขาขึ้นธปท.มีโอกาสปรับดอกเบี้ยขึ้นอีกปีนี้ดีต่อ NIMธนาคารขนาดใหญ่ ดอกเบี้ยยังเป็นขาขึ้นดีต่อ NIM ของธนาคารขนาดใหญ่ และการประชุมกนง.ครั้งล่าสุด (31 พ.ค.66 )ยังคงปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25%เป็น 2%

      ทั้งนี้ตั้งแต่ต้นปี กนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ยมา 3 ครั้งแล้วโดยครั้งแรกเมื่อ 25 ม.ค. และปรับขึ้นอีกเมื่อ 29 มี.ค. และ 31พ.ค.โดยธนาคารพาณิชย์ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยตามมาตลอด ส่งผลให้ช่วงไตรมาส 1ปี2566 ได้รับผลบวกจากการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกต้นปีทำให้ NIMกว้างขึ้นสำหรับธนาคารขนาดใหญ่

    การขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งหลังคาดจะส่งผลบวกต่อ NIM ธนาคารขนาดใหญ่ในไตรมาส 2ปี 2566 ทำให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิโตต่อเนื่องได้แม้สินเชื่อไม่โตมากนัก พร้อมทั้งยังคาดว่ามีโอกาสที่กนง.จะปรับดอกเบี้ยขึ้นอีกราว 1-2 ครั้งในปีนี้

     คาดกำไรไตรมาส 2 ปี 2566 กลุ่มธนาคารโตราว 15% (YoY แต่ทรงตัว QoQ) มี 7 ธนาคารกำไรรวมอยู่ที่5หมื่นล้านบาทเพิ่มขึ้น +15% (YoY) เป็นผลหลักจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้นมากเป็นหลัก จาก NIM ที่สูงขึ้นจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แม้ยังคาดว่าสินเชื่อยังคงทรงตัวอยู่ สำหรับคุณภาพสินทรัพย์คาดว่าจะเลวร้ายสุดแล้วในช่วงนี้และไม่ได้ส่งผลต่อภาระการตั้งสำรองมากนักในไตรมาสนี้

      ขณะที่มองกำไรทั้งกลุ่มธนาคารจะทรงตัว โดย BBL จะมีกำไร เติบโตสูงสุดในกลุ่ม ขยายตัว 53% YoY เป็นผลหลักจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิที่เพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยดีต่อ NIM และได้แรงหนุนจากสำรองที่ลดลงรองลงมาคือ TTB ที่คาดจะมีกำไรสูงขยายตัว 25% YoYได้รับผลบวกจากกลยุทธ์ revenue synergy หลังปรับโครงสร้างองค์กรช่วยเพิ่มรายได้ให้เติบโตได้ดี บวกกับการควบคุมค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้นต่อเนื่อง ตามมาด้วย KTB ที่คาดว่าจะมีกำไรขยายตัว 21% YoYจากผลบวกจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยดีต่อ NIM และการเน้นสินเชื่อรายย่อยที่มีอัตราผลตอบแทนสูง

     แนะนำ ” Top Picksคือ BBL ราคาเป้าหมาย 190 บาท ,KTB ราคาเป้าหมาย 23 บาท และ SCB ราคา 134 บาท ภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่องแม้ไม่ได้ฟื้นตัวทุกภาคส่วน แต่คาดว่าจะยังส่งผลดีต่อสินเชื่อของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้นจะดีต่อ NIMของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ขณะที่คาดว่าคุณภาพสินเชื่อน่าจะเลวร้ายสุดในปีนี้

    บล.ฟินันเซีย ไซรัส คาดเบื้องต้นกลุ่มธนาคารกำไรไตรมาส 2 ปี 2566 (7ธนาคารหลัก) จะเพิ่มขึ้นขยายตัว 3.5% (q-q) และ +19% (y-y) โดย BBL - KTB -SCB และ TTB จะโตแข็งแกร่ง จากรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นและตั้งสำรองลดลง ส่วน KKP และ TISCO คาดค่อนไปในทางทรงตัวโดยมีปัจจัยถ่วงจากธุรกิจตลาดทุนที่ซบเซา