ดราม่าดอกเบี้ยแพง - กู้บ้านภาระหนัก สวนทางนาทีทองหุ้นแบงก์

ดราม่าดอกเบี้ยแพง - กู้บ้านภาระหนัก  สวนทางนาทีทองหุ้นแบงก์

ดราม่าบนโลกโซเซียล "ผ่อนบ้านแต่ดอกเบี้ยสูง" จนทำให้กลายเป็นจ่ายดอกเบี้ยทบต้น ทบดอก จ่ายค่าบ้านมากกว่าตัวราคาจริงที่ซื้อด้วยเงินสดถึง 5 เท่าตัว จนทำให้มีการพูดถึงการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของสถาบันการเงินที่เอาเปรียบเกินไปหรือไม่

          เพราะดอกเบี้ยเงินฝากต่ำเตี้ยเรี่ยดินแต่ดอกเบี้ยเงินกู้กลับมีส่วนต่างที่สูง กลไกการกู้ซื้อบ้านถือว่าเป็นภาระหนี้ และไม่ได้ตีว่าเป็นสินทรัพย์  เหมือนรถ ของใช้ ที่ผ่อนจำนวนงวดที่น้อยกว่า  ทำให้อัตราดอกเบี้ยที่คิดคำนวณจากเงินก้อนเดียวแล้วเฉลี่ยจ่ายตามงวดที่ระยะยาว เช่น 20 - 30 ปี 

            ส่วนมากจะคงเป็นดอกเบี้ยต่ำไว้ 3 ปีแรก แต่ก็เป็นการคิดดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าช่วงอื่น จึงทำให้ตัวเลขออกมาในบิลแต่ละเดือนจะเป็นการจ่ายค่าดอกเบี้ยมากกว่าเงินต้น  ซึ่งเมื่อครบ 3 ปีทำให้รู้สึกว่าเงินต้นแทบจะไม่ได้ลดลงเลย  ยิ่งในยุคดอกเบี้ยขาขึ้นที่ทุกสถาบันการเงินอิงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายทำให้ดอกเบี้ยขยับขึ้นตามไปด้ว

            ด้วยตัวกลางสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้จำนวนเงินก้อนที่สูงให้กับเจ้าของโครงการต้องเป็นผู้รับความเสี่ยงหากผู้กู้ไม่สามารถชำระเงินกู้ได้ระหว่างทาง จึงทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ยขากู้เพิ่มความเสี่ยงในส่วนนี้เข้ามาด้วย  

          และเมื่อทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของไทยยังมีโอกาสขึ้นอีก 1 ครั้งในปีนี้ ยิ่งทำให้การใช้นโยบายดอกเบี้ยสู้กับเงินเฟ้อทำให้ข้าวของราคาแพงรวมทั้งต้นทุนการเงินไปด้วย

            ทางที่ดีที่สุดคือ "money management" ที่ต้องวางแผนแต่เนิ่นๆ ก่อนตัดสินใจก่อหนี้ ยิ่งหนี้บ้านที่มีระยะยาวแบบนี้การทำรีไฟแนนซ์  หาแหล่งดอกเบี้ยที่ถูกลงสามารถลดภาระดอกเบี้ยของผู้กู้ลงไปได้  แม้ว่าจะมีความยุ่งยากในการหาข้อมูล  ต้องจัดเตรียมเอกสาร และดำเนินการ แต่ค่าดอกเบี้ยที่ได้ลดลงไปแลกกับการลดหนี้ได้เร็วขึ้นถือว่า "คุ้มค่า" 

         ด้านดอกเบี้ยเมื่อเกิดส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากที่ขยับขึ้นมาแล้วยังไม่ถึง  2% เทียบกับดอกเบี้ยเงินกู้ที่แต่ละแบงก์ขยับขึ้นมาแล้วประมาณ  6-7% แล้วแต่จะเป็นลูกค้ากลุ่มไหนทำให้ NIM หรือส่วนต่างดอกเบี้ย สร้างผลดีให้กับกลุ่มธนาคาร

        หากไตรมาส 2 ปี 2566 ไม่มีแบงก์ไหนสร้างเซอร์ไพรส์สำรองหนี้สูญฯ แบบไม่คาดคิดอีก หุ้นแบงก์น่าจะมีตัวเลขกำไรเติบโตชัดเจน  ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) ให้ BBL จะมีกำไรไตรมาส 2 นี้ที่  11.4 พันล้านบาท  เพิ่มขึ้น 65.1% ( y-y) และ 13.5% (q-q)

     แม้จะคาดว่าสินเชื่อในไตรมาสนี้จะหดตัวลงแต่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้นคาดว่าจะทำให้รายได้ดอกเบี้ยยังเพิ่มขึ้นได้ และเมื่อรวมรายได้ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มขึ้น และกำไรจากเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และการตั้งสำรองที่ทรงตัว

     สินเชื่อของ BBL ในเดือนพ.ค. กลับมาฟื้นตัว 0.8% (m-m )  คาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อในเดือนมิ.ย. แต่การหดตัวลง 1.2%  (m-m )ในเดือนเม.ย.คาดว่าจะทำให้สินเชื่อไตรมาส 2  หดตัวลงประมาณ 0.2% (q-q) และคาดว่า NPL อาจจะเพิ่มสูงขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2566  ที่มีอยู่ 2.9%

      คงประมาณการกำไรปี 2566 ไว้ที่ 41.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 42.2%  (y-y) จากรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมากโดยโครงสร้างสินเชื่อ  BBL ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อรายใหญ่ซึ่งถึงแม้ว่าจะให้ผลตอบแทนต่ำกว่าสินเชื่อ ประเภทอื่นแต่ส่วนใหญ่จะเป็นสินเชื่อที่คิดอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ซึ่งจะปรับผลตอบแทนขึ้นทันทีที่มีการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขึ้น และทำให้มองว่า BBL จะเป็นธนาคารที่ได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้นมากที่สุดคงราคาพื้นฐาน  191 บาท

 

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์