หุ้น "เหมืองบิตคอยน์" แตก พร้อมรอยร้าวสูญเงิน

หุ้น "เหมืองบิตคอยน์" แตก  พร้อมรอยร้าวสูญเงิน

ขึ้นชื่ออยู่แล้วว่าความผันผวนของบรรดาเหรียญ “คริปโทเคอร์เรนซี” สามารถขึ้น และลงได้เป็น 100% ภายในวันเดียวด้วย ไม่มีปัจจัยพื้นฐานรองรับ และเป็นสาเหตุทำให้สถานการณ์ “เหมืองแตก “ บริษัท ซิก้า อินโนเวชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ZIGA

       ปี 2564 ปรากฏการณ์บริษัทจดทะเบียนของไทยแห่เข้าลงทุน และเกี่ยวข้องกับเหรียญ “บิตคอยน์” ซึ่งถือว่าเป็นเหรียญหลักที่มีปริมาณการซื้อขาย และมูลค่ามาร์เก็ตแคปใหญ่ที่สุด แต่สุดท้ายเจออาการ “พอร์ตแตก”

      หลังราคาบิตคอยน์ปรับฐานครั้งใหญ่หลังราคาขึ้นไปที่ระดับ 68,000 ดอลลาร์ ในปี 2564  จากนั้นราคาทยอยลงที่ 47,320 ดอลลาร์ หลุดระดับ 40,000 ดอลลาร์ จนมาอยู่ที่ 36,265 ดอลลาร์  จนลงไปลึกสุดที่ 19,000  กว่าดอลลาร์

       ข้ามมาปี 2565 เกิดกระแสเข้าลงทุนในธุรกิจ “เหมืองบิตคอยน์” ซึ่ง ZIGA  จากผู้ที่ดำเนินธุรกิจขายเหล็กจากภาคเกษตร มาเป็นการขายให้กับงานโครงการในภาคอสังหาริมทรัพย์ และกระโดดมาจับส่วนธุรกิจด้านเทคโนโลยี หรือการทำเหมืองขุดบิตคอยน์

       บริษัทวางแผนติดตั้งเครื่องขุดบิตคอยน์อย่างต่อเนื่อง ผ่านการเตรียมลงทุนซื้อเครื่องขุดบิตคอยน์ เฟส 3 เพิ่มเติมอีกราว 200 เครื่อง จากเดิมมีจำนวน 400 เครื่อง คาดว่าจะใช้เงินลงทุนที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้ประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งมีเป้าหมายระยะยาวคาดว่าจะเพิ่มจำนวนเครื่องขุดบิตคอยน์ได้ถึง 10,000 เครื่อง และมีแผนออกเหรียญดิจิทัล (Digital Token) และผลิตเกมที่จะนำเหรียญดิจิทัลไปสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมไปถึงการสร้างและออกเหรียญ NFT อีกด้วย

       ช่วงปลายเดือนส.ค. 2565 ZIGA ประกาศหยุดเดินเครื่องขุดบิตคอยน์ชั่วคราว จากความผันผวนของราคาเหรียญบิตคอยน์ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ไม่คุ้มกับค่าไฟ พร้อมทั้งปรับกลยุทธ์มาเป็นการซื้อเหรียญบิตคอยน์เข้ามาแทนในช่วงที่ราคาเหรียญบิตคอยน์อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งมีการซื้อมาแล้ว 3 บิตคอยน์ในไตรมาส 2 ปี 2565

      ปัจจุบันบริษัทยังเผชิญปัจจัยลบหนัก กรณีถูกยักยอกทรัพย์และขาดทุนจากธุรกิจคริปโทฯ หลังผู้สอบบัญชีตั้งข้อสังเกตกรณีบริษัท กรรมการ และบริษัทย่อย “ถูกฟ้องร้องในคดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขายเหรียญโทเคนดิจิทัล” และการลงทุนในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งทำให้บริษัทมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานจากธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญซึ่งส่วนหนึ่งมาจากข้อพิพาท

       โดยมี “ซิก้า เอฟซี” บริษัทย่อยเป็นผู้ดำเนินการ  ภายใต้แผนเครื่องขุดจำนวนทั้งสิ้น 400 เครื่องจำนวนแรงขุดรวม 41,600 TH/sแบ่งเป็น ซิก้า เอฟซี ลงทุนเอง 200 เครื่อง แรงขุดรวม 20,800 TH/s และสัญญาเช่าเครื่องขุดบิตคอยน์ 2 สัญญา

       โดยแต่ละสัญญาจะมีเครื่องขุด 100 เครื่อง แรงขุด 10,400 TH/s รวมทั้งสิ้น 200 เครื่อง แรงขุดรวม 20,800 TH/s มูลค่าการลงทุนทั้งหมด 103.10 ล้านบาท จำนวน 20,800 TH/s แต่เมื่อลงนามสัญญาแล้ว ซิก้า เอฟซี ได้ชำระค่าเช่าแรงขุดล่วงหน้าไปตามสัญญาทั้งสองฉบับ และบริษัทก็ได้ทวงถามให้ผู้ให้เช่าแรงขุดส่งเอกสารที่ยังขาดส่งแต่ทางผู้ให้เช่าแรงขุดก็เพิกเฉยไม่นำส่งให้บริษัท

       และมี "วิสเดน กรุ๊ป"  ดำเนินการว่าจ้างสร้างโทเทน “Zii Token” ให้กับ ซิก้า เอฟซี แต่ปรากฏมีอดีตกรรมการบริษัทย่อยกับพวกร่วมกันยักยอกทรัพย์ ไม่ส่งมอบเงินที่ได้จากการจำหน่าย "Zii Token"  100 ล้านบาท ความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้ ZIGA ต้องหยุดขุดเหรียญบิตคอยน์ ชั่วคราวไปด้วย                               

      อีกรายที่ร้อนแรงไม่แพ้กัน และมีผลต่อราคาหุ้น บริษัท จัสมิน เทเลคอม ซิสเต็มส์ จำกัด  (มหาชน)  หรือ JTS ที่ทำราคาหุ้น 10 เด้งจากราคาไม่ถึง 10 บาท ขึ้นไปออลไทม์ไฮเกือบ 40 บาท และสูงสุด 67 บาท

       ราคาหุ้นยังขึ้นไม่หยุดยั้งเพราะปี 2565 ราคาหุ้น JTS  แตะ 238 บาท และ 586  บาท ท่ามกลางการเข้าสู่ธุรกิจ สินทรัพย์ดิจิทัล ด้วยการตั้งบริษัทย่อย “ ขุดเหมืองบิตคอยน์” เม็ดเงินลงทุน 156.7 ล้านบาท เพื่อเข้าลงทุนในเครื่องคอมพิวเตอร์ 500 เครื่อง และระบุจะขยายเพิ่มเป็น 5,000 เครื่อง หากมาดูราคาหุ้น JTS ล่าสุด(25 เม.ย.)  อยู่ที่ 27.25  บาท แทบไม่เหลือเค้าหุ้น 20 เด้งในอดีต

 

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์