ZIGA แจงหยุดธุรกิจดิจิทัล ‘ผู้รับจ้างผิดสัญญา-กรรมการบริษัทย่อยยักยอก”

ZIGA แจงหยุดธุรกิจดิจิทัล ‘ผู้รับจ้างผิดสัญญา-กรรมการบริษัทย่อยยักยอก”

“ซิก้า อินโนเวชั่น” แจงข้อมูลในงบการเงินปี 65 เพิ่ม หลังตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม โดยหยุดธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลชั่วคราว เหตุบริษัทรับจ้างขุดเหมืองบิตคอยน์ผิดสัญญา และกรรมการบริษัทย่อย “ยักยอกทรัพย์” จากการจำหน่ายโทเคน “Zii Token”

              นายศุภกิจ งามจิตรเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิก้า อินโนเวชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ZIGA รายงานผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า บริษัทได้นำส่งงบการเงิน ประจำปี 2565 ซึ่งผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมายังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งผู้สอบบัญชีมีข้อสังเกต กรณีบริษัทกรรมการ และบริษัทย่อย ถูกฟ้องร้องในคดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขายเหรียญโทเคนดิจิทัล และการลงทุน ในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งเป็นธุรกิจใหม่ที่มีความเสี่ยงและความผันผวนของราคาสินทรัพย์ดิจิทัล

นอกจากนี้บริษัทมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานจากธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญซึ่งส่วนหนึ่งมาจากข้อพิพาท ดังนั้น เพื่อให้ผู้ลงทุนได้รับทราบข้อมูล ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงาน ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงขอให้บริษัทชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ดังนี้

1. ข้อมูลที่บริษัทใช้ประกอบการพิจารณาการเข้าลงทุนในธุรกิจขุดเหมืองบิตคอยน์ ทั้งในส่วนที่บริษัทว่าจ้างขุดและดำเนินการลงทุนในเครื่องขุดเอง เหตุผลของการจ่ายค่าบริการขุดเหรียญบิตคอยน์ล่วงหน้าทั้งจำนวน รวมทั้งขอให้อธิบายกระบวนการท า Due Diligence บริษัทที่ว่าจ้างขุดเหรียญบิตคอยน์ก่อนการพิจารณาจ่ายชำระล่วงหน้า บริษัทฯ ขอชี้แจงดังนี้

  • การดำเนินการในส่วนของบริษัท ซิก้า อินโนเวชั่น จำกัด (มหาชน) หรือบริษัท

• ในปี 2564 บริษัทประสงค์จะดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล ดังนั้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งที่ 3/2564 จึงได้มีมติจัดตั้งบริษัทย่อย คือ บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด เพื่อประกอบกิจการขายธุรกิจแฟรนไชส์ และการทำธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล

• บริษัทได้กำหนดให้มีนโยบายในการกำกับดูแลบริษัทย่อยและบริษัทร่วม โดยบริษัทฯ จะส่งกรรมการ หรือผู้บริหารที่มีคุณสมบัติและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ เพื่อเป็นตัวแทนในการบริหารกิจการของบริษัทย่อย โดยกรรมการหรือผู้บริหาร ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทต้องทำหน้าที่ในการกำกับดูแล บริษัทย่อยให้มีการบริหารจัดการ หรือดำเนินการต่าง ๆ ตามนโยบายที่บริษัทกำหนด รวมถึงการใช้ดุลยพินิจตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการ และหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติในเรื่องสำคัญของบริษัทย่อย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทและการเจริญเติบโตแบบยั่งยืนของบริษัท โดยบริษัทมอบหมายให้นายศุภกิจ งามจิตรเจริญ กรรมการบริษัท/ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และคุณมณฑา ทัสฐาน กรรมการบริษัท เป็นกรรมการ บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด

• คณะกรรมการบริษัทมีหน้าที่กำหนดนโยบาย เป้าหมาย แผนธุรกิจ ตลอดจนงบประมาณของบริษัท และกำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินการไปตามนโยบาย แผนงาน และงบประมาณที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้กำหนดให้กรรมการบริษัท ปฏิบัติตามข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับกรรมการบริษัทฯ จดทะเบียน ตามแนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งกรรมการได้รับทราบและได้ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าว

• คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้ง และกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการบริหารงานธุรกิจของบริษัท และดำเนินการและบริหารกิจการตามกฎหมายนโยบายบริษัท และตามมติของคณะกรรมการและมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น และให้มีอำนาจตั้งคณะทำงานชุดย่อยเพื่อดำเนินกิจการ หรือการบริหารกิจการของบริษัทได้

• บริษัทขอชี้แจงต่อไปว่า ฝ่ายจัดการของบริษัท ได้จัดทีมทำงาน เพื่อศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการเข้าลงทุนในธุรกิจขุด บิตคอยน์ ทั้งในส่วนของบริษัทว่าจ้างขุด และส่วนที่ บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด ดำเนินการขุดเอง ดังต่อไปนี้

• เอกสารข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องขุดบิตคอยน์ยี่ห้อ ชนิด ประเภท เพื่อศึกษาหาเครื่องขุดที่มีประสิทธิภาพ ประหยัดไฟ และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้ง พบว่า ปัจจุบันยังไม่มีกฎเกณฑ์การจัดทำการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

• เอกสาร ข้อกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งของหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

• ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงราคาบิตคอยน์ย้อนหลัง เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงราคา และศึกษาแนวทางลดการผันผวนของราคาบิตคอยน์

• ติดตามความเคลื่อนไหวของนโยบาย หรือกฎหมาย กฎระเบียบหรือคำสั่งของหน่วยงานกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องรัฐบาลออกกฎที่กระทบกับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

• ศึกษาข้อมูลผู้ผลิตเครื่องขุดบิตคอยน์ที่ประสิทธิภาพสูง เนื่องจาก เครื่องขุดบิตคอยน์ที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน จึงอาจต้องคัดเลือกผู้ผลิตเครื่องขุดบิตคอยน์และสามารถกำหนดแผนการนำส่งมอบเครื่องขุดบิตคอยน์ ได้สอดคล้องกับแผนธุรกิจของบริษัท

• ศึกษาข้อมูลความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ที่จะทำให้สถานที่ตั้งเครื่องขุดบิตคอยน์สามารถเดินเครื่องได้อย่างเสถียร และวางแผนให้ผู้ให้เช่าชดเชยแรงขุดที่สูญเสียไปคืนให้แก่ บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด

• ศึกษาข้อมูลของคู่แข่งทางธุรกิจ ที่จะเข้ามาในธุรกิจ ทำให้ผลตอบแทนการขุดเหรียญน้อยลงและวางแผนบริหารความเสี่ยง เมื่อศึกษาข้อมูลแล้ว ฝ่ายจัดการก็ได้ร่างแผนการลงทุนในธุรกิจบิตคอยน์และแผนการลงทุนในธุรกิจ UtilitiesToken เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท

• เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาและอนุมัติแผนธุรกิจและแผนการลงทุนของบริษัท (Business Plan) และงบประมาณประจำปี 2565 ซึ่งรวมถึงแผนการลงทุนในธุรกิจบิตคอยน์ และแผนการลงทุนในธุรกิจ Utilities Token ด้วย

• เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564 ทางบริษัทได้แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อบริหารจัดการในเรื่องการลงทุนในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งครอบคลุมการลงทุนในธุรกิจเหมืองบิตคอยน์การจำหน่ายบิตคอยน์และการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล โดยองค์ประกอบของคณะทำงานประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารของบริษัท วิศวกรด้านบล็อกเชน วิศวกรด้านฮาร์ดแวร์ และนักวิเคราะห์ด้านการเงินและความเสี่ยง

  • การดำเนินการของบริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด เมื่อบริษัท ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ และคณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติแผนธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลแล้ว บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด จึงกำหนดความต้องการและวัตถุประสงค์ในการลงทุน โดยได้จัดเตรียมข้อมูลการนำเสนอแนวทางดำเนินธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลตามแผนที่ได้รับอนุมัติโดยบริษัทต้องการเครื่องขุดจำนวนทั้งสิ้น 400 เครื่องจำนวนแรงขุดรวม 41,600 TH/s แบ่งเป็น 1. บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด ลงทุนเองจำนวน 200 เครื่อง จำนวนแรงขุดรวม 20,800 TH/s และ 2. สัญญาเช่าเครื่องขุดบิตคอยน์ จำนวน 2 สัญญา โดยแต่ละสัญญาจะมีเครื่องขุดจำนวน 100เครื่อง และจำนวนแรงขุด 10,400 TH/s รวมทั้งสิ้น 200 เครื่องจำนวนแรงขุดรวม 20,800 TH/s สำหรับ การเช่าแรงขุดจากบุคคลภายนอกนั้น บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด ได้กำหนดแนวทางการดำเนินการไว้ ดังนี้

• กำหนดผลตอบแทนในการลงทุน กำหนดให้มีระยะเวลาของสัญญาไม่น้อยกว่า 2 ปีนับจากจุดคุ้มทุน

• กำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการ, อัตราแรงขุดที่ต้องการ, ชนิด ประเภท รุ่น และจำนวนเครื่องขุดบิตคอยน์ขั้นต่ำที่ต้องการ, การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน, วงเงินงบประมาณ และระยะเวลาของสัญญา ตลอดจนเงื่อนไขค่าใช้จ่าย สิทธิหน้าที่ของคู่สัญญาต่าง ๆ

• ศึกษาข้อมูลของผู้ให้เช่าเครื่องขุดบิตคอยน์แต่ละราย หรือกรรมการ และตัวแทนผู้ติดต่อ

• ศึกษากิจการที่ผู้ให้เช่าเครื่องขุดบิตคอยน์ดำเนินธุรกิจอยู่ จากเอกสาร และไปตรวจสถานที่ตั้งหรือสำนักงานของบริษัทผู้เช่าแรงขุด ปรากฏว่า พบเครื่องขุดบิตคอยน์จำนวน 200-300 เครื่องจริงที่เปิดดำเนินการอยู่ โดยมีอัตราแรงขุดได้ประสิทธิภาพ

• บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด ได้ประเมินศักยภาพ และประสิทธิภาพของเครื่องขุดบิตคอยน์ของผู้ให้เช่าแรงขุดบิตคอยน์และพบว่าเครื่องขุดมีประสิทธิภาพ และผู้ให้เช่าแรงขุดมีความสามารถที่จะปฏิบัติตามสัญญาได้และขอให้ผู้เช่าแรงขุดนำส่งเอกสารสำคัญของบริษัท หรือใบอนุญาตต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการของผู้ให้เช่าแรงขุดให้บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด พิจารณา และผู้ให้เช่าแรงขุดนำส่งเอกสารให้บริษัทเพียงบางส่วน และผัดผ่อนการนำส่งเอกสารบางรายการ เนื่องจาก ต้องมีการจัดหาเครื่องขุดใหม่เพิ่มเติมจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะต้องนำ ส่งเอกสารในภายหลัง

• ก่อนเข้าทำสัญญา กรรมการ บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด ได้เจรจาต่อรองเพื่อจัดทำสัญญาให้เช่าแรงขุดกับผู้ให้เช่าแรงขุดฯ และขอให้ใส่ข้อความว่า “หากมีการขาดหายไปของแรงขุดไปจากเหตุสุดวิสัยหรือสิ่งอื่นใด ผู้ให้เช่าจะชดเชยแรงขุดให้ครบถ้วนตามสัญญา” เพื่อลดความเสี่ยงของ บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด และผู้ให้เช่าแรงขุดก็ร่างสัญญาให้บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด พิจารณา

• วันที่20 ธันวาคม 2564 คณะกรรมการบริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด พิจารณาข้อมูล เหตุผล ความจำเป็นความเสี่ยงในการทำธุรกิจแล้วและบริษัทเห็นว่าเป็นการลงทุนในระยะยาว และสร้างรายได้ให้แก่บริษัทประกอบกับความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อเข้าประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ดังนั้น คณะกรรมการบริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด จึงมีมติอนุมัติให้บริษัทลงทุนในธุรกิจการขุดเหมืองบิตคอยน์ (Bitcoin Mining) โดยมีมูลค่าการลงทุนทั้งหมด จำนวน 103.10 ล้านบาท จำนวน 20,800 TH/s ซึ่งแบ่งการลงทุนออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนธันวาคม 2564 และเดือนมกราคม 2565 เนื่องด้วยเหตุผลว่า บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด มีความจำเป็นต้องการรายได้กลับคืนมาโดยเร็วและเครื่องขุดของผู้ให้เช่าแรงขุดมีประสิทธิภาพสูง และมีคุณสมบัติและเงื่อนไขทางเทคนิคที่บริษัทต้องการเป็นการเฉพาะ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของบริษัท

• เมื่อลงนามสัญญาแล้ว บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด ก็ได้ชำระค่าเช่าแรงขุดล่วงหน้าไปตามสัญญาทั้งสองฉบับ และบริษัทก็ได้ทวงถามให้ผู้ให้เช่าแรงขุดส่งเอกสาร ที่ยังขาดส่งแต่ทางผู้ให้เช่าแรงขุดก็เพิกเฉยไม่นำส่งให้บริษัท

              2. ลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัท วิสเดน กรุ๊ป จำกัด ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายโทเคนดิจิทัล “Zii Token” (Zii Token) ข้อมูลที่สำคัญของ Zii Token เช่น ผู้ออกโทเคนดิจิทัล รูปแบบของโทเคนดิจิทัลสิทธิประโยชน์ของโทเคนดิจิทัล เป็นต้น บริษัทฯ ขอชี้แจงดังนี้

บริษัท วิสเดน กรุ๊ป จำกัด เป็นบริษัทย่อยที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับโทเคนดิจิทัล ซึ่งทาง บริษัท วิสเดน กรุ๊ป จำกัด ได้รับจ้างให้เป็นผู้ออกแบบและสร้างโทเคนดิจิทัลเพื่อการใช้ประโยชน์แบบพร้อมใช้ ชื่อว่า Zii Token ให้กับบริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด ต่อมาบริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด จึงได้ให้บริษัท วิสเดน กรุ๊ป จำกัด ช่วยจำหน่ายโทเคนดิจิทัลนั้นด้วย โดยผู้ที่ซื้อและเป็นเจ้าของโทเคนดิจิทัล Zii Token จะสามารถนำโทเคนดิจิทัล Zii Token มาแลกกำลังขุดเหรียญบิตคอยน์ต่อไป ซึ่งสามารถแลกได้ผ่านช่องทางเฉพาะที่กำหนดไว้ให้ผู้เป็นเจ้าของโทเคนดิจิทัล Zii Token ใช้เท่านั้น

             3. ที่มา และสรุปสาระสำคัญของข้อพิพาท รวมถึงความคืบหน้าของข้อพิพาท กรณีบริษัท กรรมการและบริษัทย่อยถูกฟ้องร้องเป็นคดีแพ่ง เกี่ยวกับการซื้อขายเหรียญโทเคนดิจิทัล และกรณีบริษัท วิสเดน กรุ๊ป จำกัด (บริษัทย่อย) ได้ฟ้องอดีตกรรมการบริษัทย่อยกับพวกในข้อหาร่วมกันยักยอกทรัพย์เนื่องจากไม่ส่งมอบเงินที่ได้จากการจำหน่ายโทเคนดิจิทัล “Zii Token” รวมทั้งขอให้อธิบายระบบควบคุมภายในของบริษัทในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับชำระเงินจากการประกอบธุรกิจและแนวทางปรับปรุงระบบควบคุมภายในเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวอีกในอนาคต บริษัทฯ ขอชี้แจงดังนี้

สำหรับกรณีที่บริษัทฯ กรรมการ และบริษัทย่อยถูกฟ้องร้องเป็นคดีแพ่ง เกี่ยวกับการซื้อขายเหรียญโทเคนดิจิทัลนั้น มีที่มา กล่าวคือ มีนักลงทุนได้ซื้อโทเคนดิจิทัล Zii Token ของบริษัทย่อยโดยชำระเป็นเงินสด 100 ล้านบาท ต่อมานักลงทุนได้ยื่นฟ้องบริษัทฯ กรรมการ และบริษัทย่อยเป็นคดีแพ่ง (คดีผู้บริโภค) เพราะนักลงทุนต้องการเรียกเงินที่ชำระไปแล้วคืน อ้างว่ามีการปกปิดข้อความที่ควรบอกหรือแจ้งให้กับนักลงทุนทราบ

อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทย่อยได้ส่งมอบโทเคนดิจิทัลให้แก่นักลงทุนไปจนครบถ้วนแล้ว บริษัทฯ กรรมการ และบริษัทย่อย จึงได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีตามสิทธิของตนต่อไป ปัจจุบันคดีอยู่ในระหว่างกระบวนการไกล่เกลี่ยและการพิจารณาคดีของศาลแพ่ง

สำหรับกรณี บริษัท วิสเดน กรุ๊ป จำกัด ได้ฟ้องอดีตกรรมการบริษัทย่อยกับพวกนั้น กล่าวคือ บริษัท วิสเดน กรุ๊ป จำกัด ได้ยื่นคำฟ้องคดีอาญาข้อหาร่วมกันยักยอกทรัพย์ มูลค่า 103.2 ล้านบาท โดยอดีตกรรมการและพวก มีพฤติการณ์รับเงินสดที่ได้จากการจำหน่ายโทเคนดิจิทัล Zii Token ที่บริษัทย่อยเป็นผู้รับจ้าง จัดวางระบบและ จำหน่ายโทเคนดิจิทัล Zii Token ให้กับเจ้าของโทเคนดิจิทัล Zii Token (บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด) ซึ่งในการจำหน่ายนั้น ได้มีการส่งมอบสินค้าหรือโทเคนดิจิทัล Zii Token ให้ผู้ซื้อครบถ้วนถูกต้องแล้ว

แต่อดีตกรรมการและพวกได้ร่วมกันเบียดบังค่าตอบแทนจากการจำหน่ายโทเคนดิจิทัล Zii Token นั้นไปเป็นของตนเองหรือผู้อื่น โดยไม่ส่งมอบค่าตอบแทนดังกล่าวให้แก่ บริษัท วิสเดน กรุ๊ป จำกัด อันเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของ บริษัท วิสเดน กรุ๊ป จำกัด ปัจจุบันคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอาญาธนบุรี ระบบควบคุมภายใน การชำระเงิน และแนวทางป้องกันเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันในอนาคตจากการตรวจสอบหลักฐานและข้อเท็จจริงพบว่า

การดำเนินธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบจัดระบบ และการจำหน่ายโทเคนดิจิทัล Zii Token ในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลและบริหารงานโดยอดีตกรรมการซึ่งไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและรายละเอียดที่ทาง บริษัท วิสเดน กรุ๊ป จำกัด ได้ทำสัญญาไว้กับเจ้าของโทเคนดิจิทัล Zii Token (บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด) ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาในภายหลังในช่วงเวลาที่เกิดปัญหาดังกล่าว บริษัท วิสเดน กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่เพิ่งถูกจัดตั้งขึ้นจึงยังมีจำนวนธุรกรรมไม่มาก (มีการเสนอขายและจำหน่ายโทเคนดิจิทัล Zii Token ให้กับลูกค้าในวงจำกัดจำนวนน้อยราย) จึงยังไม่ได้มีการนำระบบการควบคุมภายในมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ อย่างไรก็ตามหลังจากที่เกิดปัญหาและความผิดพลาดดังกล่าวขึ้น ทางฝ่ายจัดการก็ได้ถอดบทเรียน และกำหนดแนวทางการควบคุมภายในเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวอีกในอนาคต ดังสรุปได้ ดังต่อไปนี้

• ให้ฝ่ายปฏิบัติงานพิจารณาจัดลำดับความสำคัญและประเมินความเสี่ยงในกิจกรรมหรือขั้นตอนในการทำงาน เพื่อนามาพิจารณากำหนดแนวทางที่จำเป็นต้องใช้เพื่อให้เกิดความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าความผิดพลาด เสียหายจะไม่เกิดขึ้น หรือหากเกิดขึ้นก็จะอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย หรือไม่เป็นอุปสรรค ต่อความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กรว่ามีงานใดที่ต้องให้ความสำคัญและมีความเสี่ยงอย่างไร

• พิจารณากำหนดแนวทางจัดการกับความเสี่ยงอย่างเหมาะสม โดยในการวิเคราะห์ความเสี่ยงจะมี

1) การจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยความเสี่ยง และ 2) ประมาณผลกระทบของความเสี่ยงที่มีต่อองค์กร และโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงว่าอยู่ในระดับใด โดยอาจกำหนดเป็น 3 ระดับ คือ สูง ปานกลาง ต่ำ เมื่อทราบถึงระดับความเสี่ยงที่องค์กรเผชิญอยู่แล้ว ผู้บริหารก็จะนำมาพิจารณากำหนดแนวทาง จัดการกับความเสี่ยงที่มีสาระสำคัญและมีโอกาสที่จะเกิดสูงอย่างเหมาะสม โดยทั่วไปกรณีเป็นความเสี่ยง ที่มีสาเหตุจากปัจจัยภายในองค์กรจะใช้วิธีจัดระบบการควบคุมภายใน และกรณีเป็นความเสี่ยงที่มีสาเหตุจากปัจจัยภายนอกจะใช้วิธีการบริหารความเสี่ยง

• พิจารณาและจัดเตรียมประกาศระเบียบหรือแนวปฏิบัติ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมการดำเนินงานและการดำเนินธุรกิจหลักของบริษัทฯ เช่น ระเบียบเกี่ยวกับการรับชำระเงินของบริษัทฯ ให้รัดกุมและเหมาะสมมากขึ้น เช่น ไม่อนุญาตให้รับเงินจากลูกค้าหรือคู่ค้าเข้าบัญชีธนาคารที่ไม่ใช่ชื่อบัญชีของบริษัท เว้นแต่มีเหตุผลพิเศษและต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทก่อน จึงจะสามารถทำได้ เป็นต้น

• ปรับปรุงให้มีการตรวจสอบและติดตามการรับชำระเงิน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดและ/หรือข้อสัญญาที่บริษัททำไว้ (ถ้ามี) อย่างเคร่งครัด

• ให้มีการทำบัญชีตามหลักการบัญชีที่เรียบร้อย สมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน

• ท ารายงานผลการดำเนินงานเสนอคณะกรรมการให้รับทราบอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คณะกรรมการสามารถช่วยทำหน้าที่ติดตามและให้คำแนะนำฝ่ายปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที

4. การหยุดธุรกิจขุดเหรียญบิตคอยน์ชั่วคราวและมีข้อพิพาทต่างๆ มีผลกระทบหรือทา ให้บริษัทมีภาระผูกพันใดต่อเนื่องจากสัญญาว่าจ้างขุดเหรียญบิตคอยน์หรือไม่ อย่างไร เช่น ภาระในการชำระค่าไฟฟ้ารายเดือนหรือภาระค่าใช้จ่ายอื่นใด เป็นต้น บริษัทฯ ขอชี้แจงดังนี้

การหยุดธุรกิจขุดเหรียญบิตคอยน์ชั่วคราว และการมีข้อพิพาทต่าง ๆ ไม่มีผลกระทบ หรือไม่ทำให้บริษัทมีภาระต่อเนื่องจากสัญญาว่าจ้างขุดเหรียญบิตคอยน์ เนื่องจาก ตามหลักกฎหมายสัญญาต่างตอบแทนเมื่อผู้ให้เช่าแรงขุดไม่ได้ขุดเหรียญและส่งมอบเหรียญให้แก่ บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด ตามสัญญาจริง บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด ย่อมมีสิทธิไม่ชำระหนี้ค่าไฟฟ้ารายเดือน หรือค่าใช้จ่ายอื่น หลังจากวันที่ผู้ให้เช่าแรงขุดผิดนัดหรือผิดสัญญา จนกว่าผู้ให้เช่าแรงขุดจะชำระหนี้ หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้

นอกจากนี้ การที่ผู้ให้เช่าแรงขุดผิดสัญญา หรือจงใจละเมิดต่อ บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด เพราะไม่จัดหาเครื่องขุดบิตคอยน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายมาให้บริการอย่างครบถ้วนถูกต้องตามสัญญา บริษัท จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาทั้ง 2 ฉบับได้ และเนื่องจากบริษัทผู้ให้เช่าแรงขุดเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ตามกฎหมาย จึงสามารถบอกเลิกสัญญา และสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่ง ต่อศาลที่มีเขตอำนาจ เพื่อเรียกเงินค่าเช่าหรือค่าจ้างที่ชำระแล้วคืนพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหาย สำหรับคดีฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่ง คดีมีแนวโน้มที่จะชนะคดี เนื่องจากผู้ให้เช่าแรงขุดผิดสัญญาทำให้ บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด เสียหายจริง กรณีที่บริษัทย่อยหยุดขุดเหรียญบิตคอยน์ ชั่วคราวนั้นเป็นเพราะฝ่ายบริหารพิจารณาประโยชน์สูงสุดที่จะได้กับบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นของบริษัทฯแล้ว บริษัทฯ และบริษัทย่อยพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการดำเนินการ โดยเฉพาะค่าไฟฟ้าที่เป็นต้นทุนหลักในการขุดเหรียญบิตคอยน์ซึ่งหลังจากที่บริษัทย่อยได้หยุดขุดเหรียญบิตคอยน์ก็ย่อมทำให้ภาระในการชำระค่าไฟฟ้ารายเดือนลดลงอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ทางบริษัทฯขอเรียน ชี้แจงเพิ่มว่า

ในปัจจุบันบริษัทฯ และบริษัทย่อยไม่ได้มีหน้าที่หรือภาระที่จะต้องดำเนินการขุดเหรียญบิตคอยน์กับบุคคลหรือนิติบุคคลใด ๆ จึงเป็นสิทธิโดยสมบูรณ์ฝ่ายเดียวของบริษัทย่อยที่จะตัดสินใจอย่างใดเกี่ยวกับธุรกิจขุดเหรียญบิตคอยน์ อนึ่ง บริษัทย่อยไม่มีภาระค่าใช้จ่ายรายเดือนเกี่ยวกับธุรกิจขุดเหรียญบิตคอยน์อื่นในประเด็นเกี่ยวกับข้อพิพาทต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากสัญญาเช่าบริการขุดเหรียญบิตคอยน์นั้น ผู้ให้บริการเป็นผู้ผิดสัญญา ซึ่งทางบริษัทย่อยได้ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ให้บริการเพื่อรักษาสิทธิแล้ว

5. ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการลงทุนในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และการจ่ายค่าบริการขุดเหรียญบิตคอยน์ล่วงหน้า ว่าได้ดำเนินการอย่างระมัดระวังเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทและผู้ถือหุ้นแล้วหรือไม่อย่างไร รวมถึงความเห็นต่อประสิทธิภาพของระบบควบคุมภายในของบริษัท บริษัทฯ ขอชี้แจงดังนี้

คณะกรรมการบริษัทได้ดำเนินการตามหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารเป็นผู้ดำเนินกิจการและบริหารงาน และให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/กรรมการบริษัทเข้าเป็นกรรมการบริษัทย่อย เพื่อบริหาร และกำกับดูแลกิจการธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างรอบคอบ ซึ่งปรากฏว่าฝ่ายจัดการได้ศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ

และประธานเจ้าหน้าที่บริหารได้แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อบริหารจัดการในเรื่องการลงทุนในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งครอบคลุมการลงทุนในธุรกิจเหมืองบิตคอยน์ การจำหน่ายบิตคอยน์ และการลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นผู้ศึกษารายละเอียด ขั้นตอนการดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมายและนโยบายของบริษัท ตลอดจนมติคณะกรรมการและมติที่ประชุมใหญ่ที่เกี่ยวข้องทั้งปวงฝ่ายจัดการของบริษัท ได้จัดให้มีทีมทำงานศึกษาความเป็นไปได้ ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

และบริหารจัดการในเรื่องการลงทุนในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล และคณะกรรมการ บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด ได้ศึกษาข้อมูล ศึกษารายละเอียดโครงสร้างพื้นฐานในการจัดทำเหมืองขุดบิตคอยน์ที่มีประสิทธิภาพและกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด จัดหาเครื่องขุดบิตคอยน์ที่เหมาะสม วิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุน วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านต่าง ๆ เสาะแสวงหา คัดเลือกผู้ให้บริการเช่าเครื่องขุดบิตคอยน์กรรมการ บริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด ได้เดินทางไปตรวจสอบสถานที่ประกอบกิจการด้วยตนเองอีกด้วย ได้เจรจาข้อสัญญา และเงื่อนไขการลงทุนอย่างรัดกุมระมัดระวัง

และประธานเจ้าหน้าที่บริหารได้ทำหน้าที่บริหารกิจการด้วยความระมัดระวังแล้ว และติดตามทวงถามเอกสารที่ยังขาดอยู่เรื่อยมาเมื่อบริษัท ซิก้า เอฟซี จำกัด พบว่า เครื่องขุดบิตคอยน์ที่ผิดกฎหมายถูกยึดไปแล้ว และผู้ให้เช่าแรงขุดได้ผิดสัญญา ก็เร่งดำเนินการเรียกประชุมคณะกรรมการบริษัทย่อย เพื่อพิจารณาดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้กระทำความผิดทันที ซึ่งเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัท และผู้ถือหุ้นแล้ว

คณะกรรมการบริษัทมีความเห็นว่า บริษัทฯ และบริษัทย่อยได้จัดให้มีการบริหารงานและระบบการควบคุมภายในที่ดีพอ เนื่องจากคณะกรรมการ กรรมการชุดต่าง ๆ และผู้บริหารได้สนับสนุนให้พนักงานในองค์กรตระหนักถึงความสำคัญของระบบการควบคุมภายในที่มีความเพียงพอและเหมาะสม โดยพนักงานและผู้บริหารก็บริหารงานภายใต้ระบบการควบคุมภายในของบริษัท ตามเหตุผลที่เรียนมาข้างต้น

คณะกรรมการฯ มีแนวทางและคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดต่อบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในทุกเรื่องที่คณะกรรมการฯ ต้องพิจารณา แต่เนื่องจากธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลและการขุดเหรียญบิตคอยน์นั้นเป็นธุรกิจใหม่ และมีผู้ให้บริการในเรื่องดังกล่าวจำนวนน้อย ทำให้อำนาจการต่อรอง รวมถึงการเจรจาหรือกำหนดเงื่อนไขหรือข้อตกลงระหว่างบริษัทย่อยกับผู้ให้บริการไม่สามารถเป็นไปตามที่ฝ่ายบริหารอยากให้เป็นได้ทั้งหมด

อย่างไรก็ตามคณะกรรมการฯ และฝ่ายบริหารได้ถอดบทเรียนที่เกิดขึ้นจากกรณีดังกล่าว เพื่อนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับบริษัทฯ และบริษัทย่อยต่อไปในภายภาคหน้า