‘ตราสารหนี้ ESG’ ไทย-จีน ร่วมวง ฟื้นตาม สหรัฐ รับแรงหนุนการลงทุน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองแนวโน้ม ตราสารหนี้ ESG’ ไทยและจีน ฟื้นตามและมีโอกาสแซงหน้า สหรัฐ จากรับแรงหนุนการลงทุน
นางสาวนราพร สังสะนา นักวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า "ตราสารหนี้ ESG สหรัฐฯ" เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว จากแรงหนุนการลงทุนทางการเงิน หลังหดตัวรุนแรงในเดือนก่อน
โดยยอดคงค้างตราสารหนี้ ESG อยู่ที่ 279.2 พันล้านดลลาร์ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่ 278.7 พันล้านดอลลาร์ ตามมูลค่าตราสารหนี้ออกใหม่ที่เร่งขึ้น ในเดือน พ.ค. 2568 มียอดออกใหม่สูงสุดตั้งแต่ต้นปีนี้ ยอดตราสารหนี้ ESG ออกใหม่เร่งขึ้นเป็น 3.5 พันล้านดอลลาร์ จาก 16 พันล้านดอลลาร์ ในเดือนก่อน
ทั้งนี้ ผู้ออกตราสารหนี้ส่วนใหญ่เป็นสถาบันการเงิน คาดว่าเพื่อเป็นการลงทุนมากกว่าเป็นการระดมทุนสำหรับโครงการ ESG
ขณะที่ "ยอดคงค้างตราสารหนี้ ESG จีน" อยู่ที่ 3.02 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมูลค่าตราสารหนี้ออกใหม่ในเดือน พ.ค.2568 ชะลอลงอยู่ที่ 5.9 พันล้านดอลลาร์ (ลดลง 12% YOY) นับเป็นการหดตัวครั้งแรกในปี 2568
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าเป็นการหดตัวเพียงในระยะสั้น เนื่องจากตลาดตราสารหนี้ ESG จีนยังอยู่ในทิศทางขยายตัวต่อเนื่อง
เช่นเดียวกับ "ยอดคงค้างตราสารหนี้ ESG ไทย" กลับมาขยายตัว จากมูลค่าออกตราสารหนี้ใหม่ 0.4 พันล้านดอลลาร์ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) WHA และ MINOR เพื่อชำระคืนหนี้เดิม (roll-over) เป็นสำคัญ
ส่งผลให้ยอดดดงค้างเพิ่มขึ้นเป็น 25.9 พันล้านดอลลาร์ เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 2568 ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ Thailand Taxonomy Phase 2 เพิ่มความครอบคลุมไปยังภาคเกษตร อสังหาริมทรัพย์ การผลิต และการจัดการของเสีย
นับเป็นการช่วยจัดประเภทกิจกรรม ESG เพื่อลดความเสี่ยง Greenwashing และช่วยกระตุ้นตลาดการเงินยั่งยืนในประเทศ
สำหรับแนวโน้มตลาดตราสารหนี้ ESG ระยะข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในระยะข้างหน้า ตลาดตราสารหนี้ ESG จีนและไทยจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดสหรัฐฯจะฟื้นตัว
ไทย: ขยายตัวได้ หลังภาครัฐและเอกชนยืนยันที่จะปรับตัวสู่ ESG ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากสงคราม การค้าของสหรัฐฯ
จีน: ขยายตัวสูงและจะมีโอกาส แซงหน้าสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง จากความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนต่อหน่วย GDP ประมาณ 18% ภายในปี 2568 และมุ่งสู่การบรรลุการปล่อยก๊าซเรือน กระจกสูงสุดภายในปี 2030