‘ธนาคารเงา’ เกาหลีใต้ ส่อล้ม เหตุยอด ‘อสังหาฯ พาณิชย์’ ดีฟอลต์ พุ่ง

‘ธนาคารเงา’ เกาหลีใต้ ส่อล้ม เหตุยอด ‘อสังหาฯ พาณิชย์’ ดีฟอลต์ พุ่ง

‘ธนาคารเงา’ เกาหลีใต้ ส่อล้ม หลังปล่อยสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์อื้อ ท่ามกลางดอกเบี้ยขาขึ้นทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ ประสบปัญหาสภาพคล่อง

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (23 เม.ย.) ว่า "ธนาคารเงา"ของเกาหลีใต้เริ่มกลายเป็นจุดสนใจของบรรดานักลงทุนทั่วโลก ท่ามกลางมูลค่าธนาคารเงาทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ประมาณ 63 ล้านล้านดอลลาร์ 

โดยสภาวะ “ดอกเบี้ยขาขึ้น” ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก จนกระทั่งสถาบันการเงินอย่างกลุ่มบริษัทที โรว์ ไพรซ์ (T. Rowe Price) และโนมูระ โฮลดิ้งส์ (Nomura Holdings) ออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับปัญหา “หนี้สินด้อยคุณภาพ” ในภาคอสังหาริมทรัพย์

‘ธนาคารเงา’ เกาหลีใต้ ส่อล้ม เหตุยอด ‘อสังหาฯ พาณิชย์’ ดีฟอลต์ พุ่ง ยอดผิดนัดชำระหนี้เกาหลีใต้พุ่ง

สถาบันตลาดทุนเกาหลี (KCMI) พบว่า อัตราการผิดนัดชำระหนี้ของกลุ่มสถาบันสินเชื่อหลักของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าเป็น 6.55% ในปีที่แล้ว ในขณะที่นักเศรษฐศาสตร์จากธนาคารซิตี้กรุ๊ป (Citi Group) ประเมินว่า หนี้จากสินเชื่อโครงการ (Project-finance Debt) มูลค่า 111 ล้านล้านวอน (ประมาณ 8 หมื่นล้านดอลลาร์) อยู่ในสภาวะ “มีปัญหา” โดยยอดปล่อยสินเชื่อของธนาคารเงาให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 926 ล้านล้านวอนในปีที่แล้วซึ่งมากกว่าทศวรรษที่แล้วกว่าสี่เท่า

ผู้กำหนดนโยบายพยายามสกัดกั้นความเสี่ยงแบบลูกโซ่ด้วยการเพิ่มวงเงินค้ำประกันสินเชื่อบางประเภท  ทว่าประกาศปรับโครงสร้างองค์กรแบบฟ้าผ่าปลายปีที่แล้วของ บริษัทแทยอง เอ็นจิเนียริง แอนด์ คอนสตรัคชัน (Taeyoung Engineering & Construction Co.) กลับยิ่งทำให้สถานการณ์น่าเป็นห่วง  บริษัทจำเป็นต้องดำเนินการแปลงหนี้เป็นทุน (Debt-to-equity Swap) ประมาณ 1 ล้านล้านวอนเพื่อชำระหนี้ด้อยคุณภาพตามที่เจ้าหนี้รายใหญ่เปิดเผยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

 

คณะกรรมการเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability Board) เปิดเผยว่า การปรับโครงสร้างเหล่านี้ย่อมซ้ำเติมความตึงเครียดในกลุ่มธนาคารเงาโดยส่วนหนึ่งของภาคธุรกิจนี้ที่มีกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินมหาศาลเมื่อเทียบกับประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ และเป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกาเท่านั้น


“สิ่งที่เกิดขึ้นในเกาหลีใต้ อาจเป็นภาพสะท้อนบางส่วนของสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในที่อื่น ๆ”

เควนทิน ฟิตส์ซิมมอนส์ ผู้จัดการพอร์ตตราสารหนี้ระดับโลก จากบริษัทของที โรว์ ไพรซ์ กล่าว พร้อมเสริมว่า  “สถานการณ์ครั้งนี้ทำให้ผมกังวล”

‘ธนาคารเงา’ เกาหลีใต้ ส่อล้ม เหตุยอด ‘อสังหาฯ พาณิชย์’ ดีฟอลต์ พุ่ง สินทรัพย์ธนาคารเงาเกาหลีใต้พุ่งสามเท่าในรอบทศวรรษ

ด้านบทวิเคราะห์ของบลูมเบิร์ก เผยว่า ยอดปล่อยสินเชื่อ ของธนาคารเงารวมถึงสินเชื่อภาคเอกชนเติบโตอย่างรวดเร็วหลังวิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2008 ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ต่างลดการปล่อยสินเชื่อเสี่ยงทำให้ธุรกิจขนาดเล็กและมีกำไรน้อยต้องหันไปพึ่งพาแหล่งเงินทุนทางเลือก 
 

หลังจากธนาคารกลางเกาหลีใต้เป็นกลุ่มแรกที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2021 ความท้าทายในการรีไฟแนนซ์การกู้ยืมเหล่านี้ก็ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น  แน่นอนว่าปัจจุบันเกาหลีใต้ไม่ใช่ประเทศเดียวที่เผชิญกับผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์จากต้นทุนการเงินที่สูงขึ้น เพราะในไตรมาสแรกของปี 2024 อัตราการผิดนัดชำระหนี้ของสินเชื่อแบบเลเวอเรจในสหรัฐพุ่งสูงเกิน 6% และสเปรด (Spreads) ของหุ้นกู้เสี่ยงสูงในยุโรปก็ขยายมากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงต้นวิกฤตโควิด-19 

แต่สำหรับกรณีของเกาหลีใต้ ระดับความกังวลนั้นสามารถเห็นได้จากความรวดเร็วในการตอบสนองด้วยนโยบาย เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของเกาหลีใต้ องค์กรบริการกำกับดูแลทางการเงิน (Financial Supervisory Service) กล่าวในช่วงต้นเดือนนี้ว่า อาจดำเนินการตรวจสอบภาคสนามของธนาคารเพื่อการออมหลังจากประเมินหนี้ที่ผิดนัดชำระสำหรับไตรมาสแรก

ยุน ซอก ยอล ประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ ประสบความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งในรัฐสภาเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา แต่อย่างน้อยด้วยผลการเลือกตั้ง บทวิเคราะห์ของบลูมเบิร์ก แสดงความคิดเห็นว่า เจ้าหน้าที่อาจได้รับอิสรภาพมากขึ้นในการล้างความเสียหายของสินเชื่อที่เสื่อมค่า

เจียง วู พาร์ค นักเศรษฐศาสตร์จากโนมูระ โฮลดิ้งส์ กล่าวว่า รัฐบาลจะเร่งปรับโครงสร้างในภาคอสังหาริมทรัพย์ “การแก้ไขหนี้ของแทยง ไม่ใช่จุดสิ้นสุด แต่เป็นไปได้ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของโครงการอสังหาฯ ต่างๆ”

‘ธนาคารเงา’ เกาหลีใต้ ส่อล้ม เหตุยอด ‘อสังหาฯ พาณิชย์’ ดีฟอลต์ พุ่ง เกาหลีใต้ได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจจีนตกต่ำ

อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงทางเครดิตโดยรวมยังไม่ได้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจทั่วไป เปรียบเทียบกับประเทศจีนเพราะการตกต่ำของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปักกิ่งส่งผลให้มีการผิดนัดหนี้หุ้นกู้มากกว่า 1.3 แสนล้านดอลลาร์และยังเผชิญสภาวะเงินฝืด นอกจากนี้ยังทำให้จงจื่อ ธนาคารเงายักษ์ใหญ่ประกาศล้มละลายในปีนี้ด้วย

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้ปล่อยสินเชื่อในจีนเริ่มหวาดกลัวสถานการณ์ครั้งนี้จึงพิจารณาการนำเงินไปลงทุนในที่อื่น ๆ ในเอเชีย รวมถึงเกาหลีใต้ ตัวอย่างเช่น ช่วงต้นปีที่ผ่านมา เคเคอาร์แอนด์โค (KKR & Co.) ลงนามในข้อตกลงปล่อยสินเชื่อมูลค่า 40 ล้านดอลลาร์กับบริษัทอสังหาริมทรัพย์อินโน แวลู (Innovalue) 

อย่างไรก็ตาม สิ่งเลวร้ายที่สุดจากความซบเซาของตลาดอสังหาริมทรัพย์เกาหลีใต้ยังไม่มาถึง โดยจิน วูค คิม นักเศรษฐศาสตร์ของซิตี้กรุ๊ป ย้ำเตือนมุมมองของธนาคารประจำเดือนเม.ย. ว่า การปรับโครงสร้างหนี้ของสินเชื่อโครงการเงินจะทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังเหลือเพียง 0.2% ในสำหรับสถานการณ์พื้นฐาน 

ที่ผ่านมา สินเชื่อเพื่อโครงการซึ่งเป็นหนี้ระยะสั้นประเภทหนึ่งได้รับความนิยมจากผู้พัฒนาโครงการหลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียเมื่อปี 1997 ซึ่งเป็นช่วงที่เกาหลีใต้ขอรับสินเชื่อจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

วิธีการระดมทุนประเภทนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยต่ำและมูลค่าอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น บริษัทนายหน้าเข้าร่วมด้วยโดยการแปลงสินเชื่อดังกล่าวเป็นหลักทรัพย์ (Securitization) และจำหน่ายต่อให้กับนักลงทุนในตลาดเงิน

แต่สินเชื่อเหล่านี้กลับกลายเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงไปถึงความหวาดกลัวในช่วงวิกฤติที่ผ่านมา

สัญญาณเบื้องต้นที่ชี้ว่าตลาดสินเชื่อของเกาหลีใต้กำลังเผชิญปัญหา เริ่มปรากฏขึ้นเมื่อประมาณ 19 เดือนที่แล้ว กรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อบริษัทผู้พัฒนาสวนสนุกเลโกแลนด์ (Legoland) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโซล ที่ผิดนัดชำระหนี้สินเชื่อโครงการ ส่งผลให้ผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะสั้นในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด นับตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินโลกครั้งล่าสุด

เหตุการณ์นี้ยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นในเสถียรภาพของตลาด จนกระทั่งในเดือนก.ค.ปีที่แล้ว เจ้าหน้าสั่งปิดสาขาหนึ่งของธนาคารเงาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของเกาหลีใต้เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เหมาะสม

จากนั้นเจ้าหน้าที่รัฐบาลเกาหลีใต้สามารถจำกัดความเสียหายไว้ได้เบื้องต้น โดยหลังจากกรณีของแทยง รัฐบาลให้คำมั่นว่าจะขยายแพ็คเกจการช่วยเหลือมูลค่า 6.6 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อจำกัดผลกระทบที่เลวร้ายออกไปหากจำเป็น และเมื่อเดือนที่แล้วรัฐบาลได้สนับสนุนเพิ่มเติมอีกหลายพันล้านดอลลาร์

ด้านกฤษณะ ศรีนิวาสัน ผู้อำนวยการกองเอเชียและแปซิฟิกของไอเอ็มเอฟกล่าวว่า “พวกเขากำลังบริหารจัดการความเสี่ยงอยู่ แต่จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและสถาบันการเงินขนาดเล็กบางแห่งอาจมีความเสี่ยง”

ผู้กำหนดนโยบายไม่สามารถเพิกเฉยต่อการร่วงลงอย่างรุนแรงของราคาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งอาจส่งผลต่อการขาดทุนจากหนี้เสียและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นช่วงทศวรรษ 1990

‘ธนาคารเงา’ เกาหลีใต้ ส่อล้ม เหตุยอด ‘อสังหาฯ พาณิชย์’ ดีฟอลต์ พุ่ง ราคาอสังหาริมทรัพย์เกาหลีใต้ลดลงต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บริษัทสินเชื่อที่ไม่ใช่ธนาคารของเกาหลีใต้ทุ่มเม็ดเงินลงทุนอย่างมากในอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ต่างประเทศ โดยได้รับแรงจูงใจจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เอื้ออำนวยและมุมมองในเชิงบวกก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ว่าสำนักงานซึ่งมีสัญญาสเช่าระยะยาวนั้นให้ผลตอบแทนที่ปลอดภัย

ทว่าในความเป็นจริงสินทรัพย์จำนวนมากเหล่านั้นได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำหลังโควิด ตัวอย่างเช่น การลงทุนในอาคารสำนักงานและค้าปลีกหมายเลขหนึ่งของฮานา อัลเทอร์เนทีฟ แอสเซท เมเนจเม้นท์ (Hana Alternative Asset Management) ในกรุงลอนดอน

โดยบทวิเคราะห์ของบลูมเบิร์ก เผยว่า ภัยคุกคามรุนแรงที่สุดอยู่ที่ผู้ให้กู้ยืมรายย่อย อย่างน้อยที่สุดคือตลาดผู้ปล่อยสินเชื่อในเอเชีย

“ด้วยความตั้งใจของรัฐบาลที่จะปรับโครงสร้างไซต์พัฒนาที่ดำเนินงานได้ไม่ดีบางแห่ง เราคิดว่าสถาบันการเงินขนาดเล็กและที่ไม่ใช่ธนาคารบางแห่งมีความเสี่ยงมากกว่า” แมทท์ ชเว ผู้อำนวยการสถาบันการเงินภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของฟิตช์ เรทติ้งส์ (Fitch Ratings) กล่าว
 

อ้างอิง: Bloomberg