เปิดผลงาน 9แบงก์ ปี 66 ‘SCB’ แชมป์กำไรสูงสุด ส่วน BBL-KTB-TTB นิวไฮรอบ10ปี!

เปิดผลงาน 9แบงก์ ปี 66  ‘SCB’ แชมป์กำไรสูงสุด ส่วน BBL-KTB-TTB นิวไฮรอบ10ปี!

เปิดผลงาน 9แบงก์ ปี 66 ‘SCB’ แชมป์กำไรสูงสุด ส่วน BBL-KTB-TTB ขึ้นแท่นกำไรสูงสุดรอบ10ปี! เปิดกำไร 9แบงก์ปี 66 ‘SCB’แชมป์ กำไรสูงสุด 4.3 หมื่นล้านบาท อันดับสอง KBANK กำไร 4.2 หมื่นล้านบาท ขณะที่ BBL- KTB- TTB กำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์รอบ 10ปี

ผ่านพ้นไปที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับการประกาศ ผลการดำเนินงาน กลุ่ม “ธนาคาร” ท่ามกลางการจับตาของสังคมอย่างมาก หลังมีการหยิบยกประเด็น “กำไร” และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย หรือ NIM ของกลุ่มธนาคารว่า สูงเกินไปหรือไม่? ท่ามกลางประชาชนที่เดือดร้อนจำนวนมากจาก “ภาระดอกเบี้ย”ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นตัวหนุนหลัก ที่ทำให้ธนาคารพาณิชย์บางธนาคารสามารถทำกำไรสุทธิได้เติบโตสูงสุดในปีนี้

หากดูไส้ไนของ “กำไรสุทธิของ 9 ธนาคารพาณิชย์ ซึ่งประกอบไปด้วย เอสซีบี เอกซ์ (SCB) บริษัทแม่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ,ธนาคารกสิกรไทย(KBANK) ,ธนาคารกรุงเทพ(BBL),ธนาคารกรุงไทย(KTB), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา(BAY),ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต(TTB),ธนาคารทิสโก้(TISCO),ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์(LHFG),ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย(CIMBT) ส่วนธนาคารเกียรตินาคินภัทร(KKP) เลื่อนประกาศงบเป็นวันที่ 22 ม.ค. 2567นี้

เปิดผลงาน 9แบงก์ ปี 66  ‘SCB’ แชมป์กำไรสูงสุด ส่วน BBL-KTB-TTB นิวไฮรอบ10ปี! SCB แชมป์กำไรสูงสุดปี66
ธนาคารที่สามารถทำกำไรสูงที่สุดในปี 2566 ในบรรดา 9 แบงก์ คือ SCB โดยมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 43,521 ล้านบาท กำไรเพิ่มขึ้น 15.91% ขึ้นแซงแชมป์เก่าอย่าง BBL และ KBANK ไปอย่างหวุดหวิด 

โดยกำไรสูงสุดอันดับสอง ได้แก่ KBANK กำไรสุทธิอยู่ที่ 42,405 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18.55% และ BBL กำไรสุทธิอยู่ที่ 41,636 ล้านบาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 42.07% 
ซึ่งหากดูกำไรสุทธิโดยรวมทั้ง 9 ธนาคารปี 2567 อยู่ที่ 226,169 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.44% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 192,578 ล้านบาท 

เปิดผลงาน 9แบงก์ ปี 66  ‘SCB’ แชมป์กำไรสูงสุด ส่วน BBL-KTB-TTB นิวไฮรอบ10ปี! BBL-KTB-TTBกำไรทุบสถิติรอบ10ปี

หากไปแกะไส้ใน “กำไรสุทธิ”ของแต่ละแบงก์ย้อนหลัง 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2557-2566 (  พบว่า ธนาคารที่สามารถทำกำไรทุบประวัติศาสตร์ หรือสูงสุดในรอบ 10ปีนี้

ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ(BBL) ที่มีกำไรสูงสุดในประวัติการณ์ หรือในรอบ 10ปี  อันดับสองคือ กรุงไทย กำไรสุทธิปีนี้อยู่ที่ 36,616 ล้านบาท ซึ่งเป็นกำไรระดับสูงสุดนับตั้งแต่เคยทำมาเช่นเดียวกัน และอันดับสาม ได้แก่ TTB ที่ปีนี้สามารถสร้างกำไรเติบโตมาอยู่ที่ 18,462 ล้านบาท 

ขณะที่แบงก์ขนาดกลาง บางแบงก์ก็มีผลงานสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกัน เช่น TISCO ที่ปีนี้มีกำไรขึ้นมาอยู่ที่ 7,302ล้านบาท 
 

รายได้ดอกเบี้ยหนุนกำไรเพิ่ม
หากมาดูถึงปัจจัย ที่ทำให้ หลายธนาคาร มีกำไรสุทธิสูงสุด และบางแบงก์สูงที่สุดในรอบ 10ปี ปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งมาจาก “รายได้ดอกเบี้ย”ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับ ดอกเบี้ยนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ในปัจจุบันที่ 2.50% ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนสำคัญต่อผลประกอบการปีนี้อย่างมาก

เช่น BBL ที่มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น 28.0 %  โดยอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับภาวะอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยมาอยู่ที่ 3.02% เช่นเดียวกัน SCB ที่รายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 15.6% หากเทียบกับปีก่อน หรือ KTB ล้วนมีรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นถึง 25.5% 

NIM 9 แบงก์กระฉูด

การเติบโตของรายได้ดอกเบี้ย ก็ถือเป็นส่วนสนับสนุนให้ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยหรือ NIM พบว่าเกือบทุกธนาคารปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะแบงก์ใหญ่ๆ

โดยพบว่า แบงก์ที่ NIM มากที่สุดใน บรรดา 9 แบงก์ อันดับแรก คือ TISCO ที่ NIM สูงถึง 5.04% แม้จะลดลงจาก 5.09% แต่ NIM ก็ยังสูงที่สุดในระบบธนาคารพาณิชย์

ถัดมา BAY โดยอยู่ที่ 3.91% และ SCB โดย NIM อยู่ที่ 3.73% 
เช่นเดียวกัน BBL  ที่ NIM เติบโตโดยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.02% จากช่วงเดียวกันปีก่อน 2.42%, KBANK มาอยู่ที่ 3.66% จาก3.33% ,KTB ส่วนต่างดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.22% จาก 2.60% 

หากดูไส้ในของการ “ตั้งสำรองหนี้เสีย” สำหรับ 9 ธนาคาร พบว่า ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้กระทบต่อการทำกำไรของปี 2566 แต่อย่างใด โดยธนาคารที่มีการตั้งสำรองสูงที่สุด คือ KBANK ตั้งสำรองสูงถึง 5.1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับปีก่อน ขณะที่ KTB ตั้งสำรองเพิ่มขึ้นถึง 52% หรือ 3.7 หมื่นล้านบาทหากเทียบกับปีก่อนหน้า ,BAY ตั้งสำรองเพิ่มขึ้น 33.64% ,TTB เพิ่มขึ้น 21% ส่งผลให้สำรองโดยรวมทั้ง 9แบงก์ เพิ่มมาอยู่ที่ 229,860 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.03% จากปีก่อน ที่สำรองอยู่ที่ 193,104 ล้านบาท 

อย่างไรก็ตาม หากดู "หนี้เสีย" หรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล พบว่า โดยรวมปรับลดลง มาอยู่ที่ 498,720ล้านบาท ลดลง 0.13% จาก 499,358 ล้านบาท แต่บางธนาคาร หนี้เสียยังปรับเพิ่มขึ้น สะท้อนการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับคุณภาพหนี้ที่อาจตกชั้นในระยะข้างหน้า เช่น SCB หนี้เสียเพิ่มขึ้นที่ 1.58% KBANK 1.84% BAY เพิ่มขึ้น 14.2% , TISCO เพิ่มขึ้น 14.2% LHFG เพิ่มขึ้นสูงสุด 20% และ CIMBT เพิ่มขึ้นเกือบ 6% 

โดยรวมแล้ว ผลประกอบการโดยรวมของ 9ธนาคาร ที่ออกมาแล้ว ถือว่าใกล้เคียงกับ ที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ จากเดิมมองว่า กำไรทั้งระบบ จะทำได้ระดับ 2.2 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 18%   แม้ล่าสุด ผลประกอบ 9 แบงก์ออกมาแล้ว เติบโตกว่า 17% (ผลประกอบการ KKP ยังไม่ออก)