ปปง. คาดม.ค. ปีหน้าชัดเจน ยึดทรัพย์ STARK

ปปง. คาดม.ค. ปีหน้าชัดเจน ยึดทรัพย์ STARK

ปปง.เร่งตรวจสอบ การทุจริต STARK ผนึกกลต. เร่งยึดทรัพย์ผู้ต้องหานำเงินมาชำระคืนผู้เสียหาย คาดชัดเจนม.ค.ปีหน้า

กรณี การทุจริตในบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) STARK  ที่มีผู้เสียหายจำนวนมากเกือบ 5 พันคน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายรวมกว่า 1.47 หมื่นล้านบาท ที่สร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินคดีตามคดีพิเศษ ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ  

โดยล่าสุดมีการตรวจพบว่า มีการนำเงินจำนวน 10,000ล้านบาท โอนเข้ากลุ่มบริษัทของผู้ต้องหาเพื่อนำไปชำระหนี้การค้า และยักย้ายถ่ายเทเข้าบัญชีส่วนตัวอีกส่วนหนึ่ง ล่าสุด กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ส่งสำนวนพร้อมความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหา ทั้งที่เป็นบุคคลและนิติบุคคล ทั้งหมด11 ราย ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ฐานตกแต่งบัญชีและงบการเงิน และฐานฉ้อโกงประชาชน รวมถึงความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542   ให้พนักงานอัยการคดีพิเศษแล้ว   พร้อมประสานข้อมุลเส้นทางการเงินให้ ปปง.พิจารณายึด อายัดทรัพย์กลับคืนมา 

นายเทพสุ บวรโชติดารา เลขาธิการ ปปง.  กล่าวว่าความคืบหน้าการดำเนินการคดี STARK เบื้องต้น ปปง.ได้มีการเปิดรับคำร้องขอคุ้มครองสิทธิผู้เสียหาย ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2565 ตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. เพื่อให้ผู้เสียหายยื่นคำร้อง ความเสียหาย โดยกำหนดระยะเวลา 90 วัน นับตั้งแต่ลงราชกิจจานุเบกษา จนถึง 26  ก.พ. ปัจจุบันมีผู้เสียหายเข้ามายื่นคำร้องต่อปปง.แล้วหลักร้อยคน

โดย เลขาธิการ ปปง.กล่าวว่า  หลังจากนี้ จะมีการรวบรวมข้อมูล เพื่อให้อัยการยื่นคำร้องต่อศาลแพ่ง เพื่อเข้าสู่กระบวนการยึดทรัพย์ เพื่อนำไปชำระคืนให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหาย 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน มีทรัพย์3ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต STARK ก้อนแรก คือ ดำเนินการยึดทรัพย์ไปแล้วกว่า 350 ล้านบาท ซึ่งเป็นของกลางในคดีอาญา ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ก้อนที่สอง คือ เป็นทรัพย์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.) อายัดไว้ชั่วคราว และสุดท้ายคือ ทรัพย์ที่มีการผ่องถ่ายไปต่างประเทศ                          

โดยเบื้องต้น ทางปปง.จะมีการทำงานร่วมกับกับกลต. เพื่อตรวจสอบว่า ทรัพย์ที่กลต.ยึด อายัดไว้หลักพันล้านบาทนั้น  มีส่วนใดบ้างที่เเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากากกระทำผิด ตามตามกฎหมายของ ปปง. โดย  หากผลตรวจสอบพบว่าเกี่ยวข้องหรือได้มาจากการกระทำผิด ก็จะนำไปสู่ขั้นตอนการยึดทรัพย์ เพื่อเข้าสู่กระบวนการเฉลี่ยคืนผู้เสียหาย โดยการประชุมร่วมกันเพื่อหารือประเด็นดังกล่าว จะมีขึ้นวันที่ 9 มกราคม ที่จะถึงนี้