‘ศุภวุฒิ’ ชี้เศรษฐกิจไทยเผชิญ ‘วิกฤติ’จากการฟื้นตัวช้า ห่วงหนี้ท่วมประเทศ

‘ศุภวุฒิ’ ชี้เศรษฐกิจไทยเผชิญ ‘วิกฤติ’จากการฟื้นตัวช้า ห่วงหนี้ท่วมประเทศ

‘ศุภวิฒิ’ ชี้เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญวิกฤติ จากการฟื้นตัวช้าอย่างมาก การลงทุนต่ำเนื่อง ห่วงไทยเจอหนี้ท่วมทุกภาคส่วน ทั้งหนี้ภาครัฐ-หนี้เอกชน-หนี้ครัวเรือน สะท้อนถึงวิกฤตจากงบดุลพัง โจทย์ปีหน้าหนักกว่าเก่า คนพะวงการคืนหนี้ ไม่กล้าบริโภค ไม่กล้าลงทุน

‘ศุภวุฒิ’ ชี้เศรษฐกิจไทยเผชิญ ‘วิกฤติ’จากการฟื้นตัวช้า ห่วงหนี้ท่วมประเทศ นายศุภวุฒิ สายเชื้อ นักเศรษฐศาสตร์ และที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียตินาคินภัทร กล่าวในงาน เสวนาพิเศษแบบ Economic Forum : Thailand Crisis?  “เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญวิกฤติอยู่หรือไม่?” ที่จัดขึ้นโดย 'กรุงเทพธุรกิจ' ว่า จากภาพเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา  แม้ในทางเศรษฐศาสตร์มองว่าไม่ถึงขั้นวิกฤติ เนื่องจากจีดีพีไม่ได้ติดลบต่อเนื่อง แต่หากดูวิกฤติของไทยในอดีต เช่น วิกฤติราคาเงินทุนในตลาดหุ้น ที่เกิดขึ้นในปี 2522 จีดีพีของไทยไม่ได้ติดลบ  เช่นเดียวกันกับวิกฤติต้มยำกุ้ง ที่จีดีพีของไทยไม่ได้ติดลบ ดังนั้นในมุมส่วนตัวมองว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจคือ วิกฤติจากการฟื้นตัวช้าอย่างมากของเศรษฐกิจไทย 

นอกจากนี้หากย้อนดูวิกฤติโควิด-19 เศรษฐกิจโลกติดลบที่ 2.8% ในปี ในปี2563 ขณะที่เศรษฐกิจไทยติดลบ 6.1% แต่ปี 2564 เศรษฐกิจโลกกลับมาขยายตัวได้ 6.3% ส่วนเศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียง 1.5% เช่นเดียวกันปี 2565 เศรษฐกิจไทยโลกโต3.5% ขณะที่ไทยโตได้เติบโต 2.6% และปีนี้คาดว่า เศรษฐกิจโลกจะเติบโตที่ 3% แต่เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวต่ำที่เพียง 2.4% ดังนั้นการที่เศรษฐกิจไทยไม่ฟื้นคือวิกฤติใช่หรือไม่?

ไม่เพียงแค่นั้น หากเปรียบเทียบข้อมูลเศรษฐกิจในอดีต ตั้งแต่วิกฤติต้มยำกุ้ง เศรษฐกิจไทยเผชิญกับวิกฤติของงบดุล การลงทุนที่ค่อนข้างมาก มีหนี้เกินตัว ส่งผลให้ 
Gross Fixed Capital Formation Growth หรือการสะสมทุนถาร ที่สะท้อนรายจ่ายเพื่อการลงทุนติดลบต่อเนื่อง  หลังจากเหตุการณ์ยึดอำนาจทางการเมืองเป็นต้นมา

สิ่งที่น่ากลัวคือ รายจ่ายเพื่อการลงทุนของไทย เติบโตเฉลี่ยเพียง 2.13% ส่งออก 1.65% จีดีพีของไทยขยายตัวไม่ถึง 3% แต่ประเทศไทยมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมหาศาลปีละ 7% ต่อปี แปลว่า ไทยขายของไปต่างประเทศมากกว่าซื้อในประเทศ ทำให้การใช้จ่ายในประเทศลดลงอย่างมาก ส่งผลให้เมื่อเราเจอโควิด-19 เศรษฐกิจไทยถึงยังไม่สามารถกลับมาฟื้นตัวได้ ดังนั้นส่วนตัวมองว่าในมุมนี้คือ “วิกฤติ” 

นอกจากนี้ หากดูจากการรายงานของสภาพัฒน์ ในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า วันนี้หลายภาคส่วนของเศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับ Balance sheet หรืองบดุลที่วิกฤติ ทั้งหนี้สาธารณะของภาครัฐที่ปรับขึ้นมาจาก 41% มาสู่ 62% ในปัจจุบัน หนี้บริษัทขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นมาจาก 70% มาสู่ 79% หนี้ครัวเรือนจาก 70% มาอยู่ที่กว่า 90% ดังนั้นวันนี้ทุกคนมีปัญหาหนี้ทั้งหมด โดยเฉพาะเอสเอ็มอี ที่มีปัญหาหนี้มากที่สุด ขนาดการก่อหนี้ลดลง จากการที่แบงก์ไม่ปล่อยสินเชื่อ และหนี้เสีย หรือเอ็นพีแอล สูงกว่า 7.1% ส่งผลให้สถาบันการเงินไม่ปล่อยสินเชื่อ ทำให้เอสเอ็มอีวันนี้เจอปัญหาหนักที่สุด

ดังนั้นหากดูในระยะสั้น ที่ห่วงคือ Balance sheet crisis วิกฤตจากงบดุล ช่วง10ปีที่ผ่านมา ธปท.ต้องเขียนจำหมายกว่า 10ฉบับถึงกระทรงการคลังในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา เพราะเงินเฟ้อต่ำกว่าเป้า ขณะที่ 6 เดือนที่ผ่านมา เงินเฟ้อต่ำกว่า 1% ต่อเนื่อง ดังนั้นหากข้างหน้าดีมานด์ในประเทศไม่สามารถกลับมาได้ ก็เป็นสิ่งที่ต้องระวัง

และปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะเจอโจทย์อีกมาก ทั้งการรีไฟแนนซ์บอนด์ ทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 1ล้านล้านบาท บวกกับปัญหาหนี้เอ็นพีแอลที่แบงก์ต้องเร่งบริหารจัดการ ดังนั้นปีหน้าสิ่งที่ต้องเจอคือ ทุกคนพะวงกับการคืนหนี้ ไม่กล้าลงทุน ไม่กล้าบริโภค 

“อาจารย์เศรษฐศาสตร์เคยสอนว่า จีดีพีของไทยเหมือนการถีบจักรยาน เมื่อถีบที่ 1.5กิโลต่อชั่วโมง โอกาสล้มได้ง่าย แต่หากเราไปที่ 4-5 กิโลต่อชั่วโมง เราจะไปได้เร็วและไม่ล้ม สำหรับเศรษฐกิจไทย เวลาแบงก์ชาติบอกว่าฟื้นตัวได้ ข้อมูลทุกอย่างดีหมด จากข้อมูลของธปท. ปัญหามีเล็กน้อยๆเท่านั้น แต่ในมุมนักเศรษฐศาสตร์มองว่า จะดูว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวหรือไม่ดูจาก Gross fixed capital การลงทุนรวมขึ้นอย่างกระท่อนกระแทน ไตรมาสแรก 3.1% ถัดมา 0.4% และไตรมาสล่าสุดเหลือเพียง1.5% ดังนั้นเศรษฐกิจไทยจะฟื้นได้อย่างไรเพราะการฟื้นนั้นถูกนำโดยการลงทุนเป็นหลัก หากการส่งออกไม่ดี  แต่3ไตรมาสที่แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยจาก 1.25% เป็น 2.5% การลงทุนโตได้แค่นี้หรือ ดังนั้นนึกไม่ออกว่า การที่บอกว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง เข้าสู่ระดับศักยภาพ ที่การลงทุนโตเพียง 1.5% เป็นไปไม่ได้”

สำหรับภาพระยะยาวมองว่า สิ่งที่ควรทำ คือ การตอบโจทย์ 3 กลุ่ม วัยเด็ก วัยทำงาน คนแก่ง วัยเด็กมีจำนวนน้อยลงต่อเนื่อง ดังนั้นสิ่งที่ต้องเน้นคือ คุณภาพการศึกษที่ต้องโฟกัสมากขึ้น จากช่วงที่ผ่านมา ที่ไม่มีการปรับปรุงเท่าที่ควร ถัดมาที่จำเป็นสำหรับวัยทำงานคือการอัพสกิล รีสกิล ที่จะเป็นเรื่องหลัก และสุดท้ายคือ คนแก่ ที่ต้องให้ความสำคัญด้านสุขภาพ ไม่ฉะนั้นอาจเป็นภาระต่อประเทศในระยะข้างหน้า 

ขณะที่ภาพระยะสั้น สิ่งที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ยังมองว่า จะมาจาก ดีมานด์ต่างประเทศ และการลงทุนภายในประเทศ ดังนั้นสิ่งที่เป็นความท้าทายคือ การกล้ากระตุ้นแบบฉลาดเพื่อให้นายทุนไทยกล้าลงทุนมากขึ้น เหล่านี้เป็นความท้าทายสำคัญของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นผ่านดิจิทัลวอลเล็ต หรือไม่ก็ตาม แต่ต้องทำให้รู้สึกว่า ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้เกิดความยั่งยืนได้ เพราะการพึ่งพานอกประเทศทำได้ยากมากขึ้น 

“สิ่งที่เป็นคำถามคือ ภายใต้ เงินเฟ้อต่ำ ธปท.มีเครื่องมือในการทำนโยบายการเงิน(Policy space)  ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาบวกได้ แม้จะมาจากการเร่งอุปสงค์ในประเทศ ( Domestic demand) แต่ที่เป็นคำถามคือ แบงก์ชาติ เก็บ Policy Space ไว้ทำไม ควรทำทันทีเมื่อเศรษฐกิจแย่หรือไม่  เพราะหากไปลดในกลางปีหน้า เหมือนที่ตลาดคาดการณ์ตอนนี้พระเอกตายแล้ว เพราะ มีข้อจำกัดด้านระยะเวลาหรือ Implenentation lags ถึง 12-18 เดือนกว่าจะได้ผล เพราะอย่าลืมว่านโยบายการคลัง Implementation ยากมาก”