22 รายจ่ายที่คุณอาจไม่เคยรู้! ช่วยลดภาระทางภาษีของกิจการได้

22 รายจ่ายที่คุณอาจไม่เคยรู้! ช่วยลดภาระทางภาษีของกิจการได้

ทำธุรกิจ มีรายได้ ก็ต้องมีรายจ่าย และทราบไหมว่า รายจ่ายบางประเภทสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ เพื่อช่วยให้เสียภาษีน้อยลงได้ ซึ่งมีด้วยกัน 22 ประเภทรายจ่าย

โดยพื้นฐานของการประกอบธุรกิจ นอกจากความมุ่งหวังในด้าน "รายได้" ที่จะเข้ามาแล้ว ในทางกลับกันทำธุรกิจก็จะต้องมี "รายจ่าย" ควบคู่กันไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าวัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบในการนำมาประกอบธุรกิจ ค่าใช้จ่ายจากการจ้างแรงงาน สวัสดิการต่างๆ ที่ต้องจ่ายให้กับพนักงานของตนเอง

และรายจ่ายเหล่านี้ก็มีความเชื่อมโยงกับ "ภาษี" ที่กิจการต้องเสียตามกฎหมายกำหนดด้วย ซึ่งหากพิจารณารายจ่ายของกิจการให้ดี จะพบว่า รายจ่ายบางประเภทสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ เพื่อช่วยให้เสียภาษีน้อยลงได้

ทั้งนี้สามารถรวบรวมรายจ่ายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้ ดังนี้

  • 10 รายจ่ายของกิจการที่นำมาหักเป็น "ค่าใช้จ่าย" ลดภาระทางภาษีได้

เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่กิจการได้จ่ายไปกับการซื้อสินค้าและบริการ หากเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรง กิจการสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายเพื่อลดภาษีที่ต้องจ่ายได้

สามารถรวบรวมได้ดังนี้

1.ค่าน้ำมันรถยนต์ไม่เกิน 10 ที่นั่ง ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้

2.ค่าน้ำมันรถตู้เกิน 10 ที่นั่ง ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ และสามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการอีกได้

3.รายจ่ายที่ไม่มีบิล ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้

4.บิลเงินสด ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้  

5.สลิปการโอนจ่ายค่าของ ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้

6.ใบเสร็จอย่างย่อ ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้

7.ใบกับภาษีเต็มรูปแบบค่าสินค้า ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ และสามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการอีกได้

8.ค่าอาหาร เครื่องดื่ม ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้

9.ค่าทางด่วน ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้  

10.ค่าวินมอเตอร์ไซค์ ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่ไม่สามารถใช้เป็นภาษีซื้อของกิจการได้

  • 12 รายจ่ายสวัสดิการพนักงานที่นำมาหักเป็นค่าใช้จ่าย ลดภาระทางภาษีได้

สวัสดิการต่างๆ ที่กิจการมอบให้กับพนักงาน และจะสามารถนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้นั้น ต้องเป็นสวัสดิการที่กรมสรรพากรกำหนดให้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ คือจะต้องมีการระบุไว้ชัดเจนในคู่มือพนักงาน และการให้สวัสดิการจะต้องให้กับพนักงานทุกคนโดยได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน

อย่างเช่นกรณีนายจ้างเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีสิทธิที่จะนำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสวัสดิการลูกจ้างหรือพนักงานมาถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ โดยต้องเป็นการให้โดยทั่วไปและเป็นการจ่ายตามระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่มีการกำหนดไว้ จึงจะสามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

และถ้าหากเป็นนายจ้างผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิที่จะนำรายจ่ายสวัสดิการลูกจ้างหรือพนักงานมาเป็นรายจ่ายได้ โดยการให้สวัสดิการลูกจ้างหรือพนักงานต้องเป็นการให้โดยทั่วไป และเป็นการจ่ายตามระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่มีการกำหนดไว้แล้ว จึงสามารถนำรายจ่ายดังกล่าวมาเป็นรายจ่ายเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ และต้องมีหลักฐานการจ่ายจริงประกอบการยื่นภาษีด้วย

ทั้งนี้ สามารถรวบรวมรายจ่ายสวัสดิการของพนักงานที่สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ดังนี้

1.สวัสดิการมอบรางวัลเป็นทองเนื่องจากทำงานมานาน ในกรณีนี้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท และเป็นเงินได้ของพนักงาน

2.สวัสดิการงานศพและงานแต่งงาน ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท

3.สวัสดิการสมาชิกฟิตเนส กอล์ฟ สปอร์ตคลับ ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท และเป็นเงินได้ของพนักงาน

4.สวัสดิการปีใหม่ กีฬาสี ถือเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท

5.สวัสดิการค่าน้ำมันรถพนักงานขับมาเอง ถือเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท และเป็นเงินได้ของพนักงาน

6.สวัสดิการเบี้ยเลี้ยงที่ให้เป็นประจำ ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท และเป็นเงินได้ของพนักงาน

7.สวัสดิการเบี้ยเลี้ยงที่ให้เป็นครั้งคราว ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท

8.สวัสดิการประกันภัยแบบกลุ่มให้พนักงาน ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท

9.สวัสดิการเงินช่วยเหลือบุตร ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท และเป็นเงินได้ของพนักงาน

10.สวัสดิการทำประกันชีวิตให้กรรมการ ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท และเป็นเงินได้ของพนักงาน

11.สวัสดิการรถประจำตำแหน่งและค่าน้ำมัน ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท และเป็นเงินได้ของพนักงาน

12.สวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท

สรุป ดังนั้น รายจ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร เครื่องดื่ม รวมถึงสวัสดิการให้มีให้กับพนักงาน เช่น เงินช่วยงานแต่ง งานศพ ค่าน้ำมัน และอื่นๆ อีกเพียบ หากมีหลักฐานชัดเจนว่าเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการจริง ก็สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท ช่วยประหยัดเงินในกระป๋าในการจ่ายภาษีไปได้ไม่มากก็น้อย  ​

และสวัสดิการที่ให้กับพนักงานเหล่านี้ ก็ยังช่วยสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับพนักงานในองค์กรของคุณอีกด้วย
   
อ่านบทความน่ารู้เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม คลิกที่นี่
Source : Inflow Accounting