‘เงินบาท’ พลิกกลับมาแข็งค่าสุด ในรอบ 2 สัปดาห์ ก่อนรายงานเงินเฟ้อสหรัฐ

‘เงินบาท’ พลิกกลับมาแข็งค่าสุด  ในรอบ 2 สัปดาห์ ก่อนรายงานเงินเฟ้อสหรัฐ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ที่ 36.09 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะกลับมาปิดตลาดที่ระดับ 36.17 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนการรายงานตัวเลข CPI ของสหรัฐฯ จับตาถ้อยแถลงเฟดสัปดาห์นี้

นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้บริหารงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ที่ 36.09 บาทต่อดอลลาร์ฯ ก่อนจะกลับมาปิดตลาดที่ระดับ 36.17 บาทต่อดอลลาร์ฯ เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 36.42 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในเอเชีย ท่ามกลางแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ก่อนการรายงานตัวเลข CPI ของสหรัฐฯ ขณะที่ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดที่ออกมาในสัปดาห์นี้ กระตุ้นให้ตลาดกลับมาประเมินโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ อาจจบรอบการปรับขึ้นไปแล้ว นอกจากนี้การแข็งค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำในตลาดโลกด้วยเช่นกัน สำหรับทิศทางทิศทางฟันด์โฟลว์ในวันนี้ นักลงทุนต่างชาติกลับมาขายสุทธิหุ้นไทย 1,759.75 ล้านบาท แต่ยังคงมีสถานะเป็น Net Inflows เข้าตลาดพันธบัตรไทยต่อเนื่องอีก 1,869 ล้านบาท 

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาห์หน้า คาดไว้ที่ 35.70-36.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สัญญาณเงินทุนต่างชาติ ทิศทางสกุลเงินเอเชีย สถานการณ์ในอิสราเอล และถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์กและเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียเดือนต.ค. ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน ยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ย. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามอัตราเงินเฟ้อเดือนก.ย. ของยูโรโซน การประกาศอัตราดอกเบี้ย LPR ของธนาคารกลางจีน ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3/66 และตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ เดือนก.ย. ของจีน ด้วยเช่นกัน

ขณะเดียวกันในช่วงที่เหลือของปีนี้ บริษัทมีแผนออกกองทุน RMF และกองทุนประเภทเทอมฟันด์มากกว่า ซึ่งมองว่า เศรษฐกิจผันผวนมีความไม่แน่นอนนักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยง และต้องการนำเงินมาพักกองทุนเทอมฟันด์จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในช่วงขาลง

"ส่วนที่เหลือของปีนี้กองทุนประหยัดภาษีจะออกกองทุน RMF บีพรีเมียมอาร์เอ็มเอฟ และกองทุนเทอมฟันด์ ในไตรมาส 4 ที่เหลือของปี เพราะช่วงปลายปีสิ่งที่นักลงทุนจะหาเข้ามาลงทุนคือ กองทุนที่นำมาลดหย่อนภาษีได้ และกองทุนเทอมฟันด์เป็นตัวโรลโอเวอร์ที่ครบกำหนด และเมื่อนำมาโรลโอเวอร์ใหม่นักลงทุนมักจะชอบ เพราะได้อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น เพราะเป็นวงจรดอกเบี้ยขาขึ้น"