เตือน e-Payment ภัยเงียบเงินหายไม่รู้ตัว

เตือน e-Payment ภัยเงียบเงินหายไม่รู้ตัว

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตือนภัย e-Payment ชี้ ภัยเงียบเงินหายไม่รู้ตัว เช็กปัญหาที่พบ พร้อมวิธีรับมือเงินหายจากบัญชีไม่ทราบสาเหตุ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตือนภัย e-Payment ชี้ ภัยเงียบเงินหายไม่รู้ตัว เช็กปัญหาที่พบ พร้อมวิธีรับมือเงินหายจากบัญชีไม่ทราบสาเหตุ หากเกิดขึ้นกับตัวเอง

e-Payment ภัยเงียบเงินหายไม่รู้ตัว

ปัญหาที่พบ

1. ประชาชนผู้ถือบัตรเครดิต และบัตรเดบิตจำนวนมากประสบปัญหาทำรายการชำระเงิน โดยที่ไม่ได้ทำธุรกรรมด้วยตนเองหรือถูกหักเงินจากบัญชีธนาคารโดยไม่ทราบสาเหตุ

2. กลุ่มที่ค่อนข้างมีเอกลักษณ์เป็นพิเศษ คือกลุ่มที่เงินถูกหักออกจากบัญชีในจำนวนไม่มากทีละหลักสิบบาท แต่โดนไปหลายร้อยครั้งในคนเดียว เมื่ออายัดบัตรและเช็กข้อมูลพบว่าเป็นการซื้อของในเกมออนไลน์

3. มีผู้เสียหายหลายรายถูกมิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวบัญชีธนาคาร/บัตรเดบิต โดยมิจฉาชีพจะทำการหักเงินออกจากบัตรเดบิตผ่านเครื่อง EDC หรือเครื่องรูดบัตร แต่ไม่มี SMS แจ้งเตือนไปยังเจ้าของบัตร เนื่องจากในการถอนเงินออกในทุกครั้งเป็นการถอนเงินออกจำนวนไม่มาก เช่น 34 บาท แต่ทำหลายครั้ง

รับมือเงินหายจากบัญชีไม่ทราบสาเหตุ

1. แจ้งอายัดบัตรเดบิต/เครดิตทันที เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำเลขหน้าบัตร รวมถึงรหัส CVV ไปใช้

2. ติดต่อ Call Center ของธนาคารต้นเรื่อง และดำเนินการตามขั้นตอนธนาคารเพื่อปฏิเสธการจ่ายรายการหรือธุรกรรมต่าง ๆ ที่ผิดปกติ

3. เก็บหลักฐานทั้งหมดที่ได้รับ เช่น SMS หน้าจอ วงเงิน Statement ไปลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ

 

เตือน e-Payment ภัยเงียบเงินหายไม่รู้ตัว

 

e-payment คืออะไร

e-payment คือ ระบบที่สามารถโอนเงิน ชำระเงินผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สมาร์ทโฟน สร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนในยุคปัจจุบัน และยังสามารถทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบัตรเครดิตได้ด้วย

e-payment อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ก่อนเปิดใช้งานระบบ e-payment ต้องมีการขออนุญาตก่อน

e-payment อยู่ภายใต้การทำงานของ ธปท. 8 ประเภท คือ

  1. ระบบการเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money)
  2. บริการเครือข่ายบัตรเครดิต
  3. บริการเครือข่าย EDC Network
  4. บริการสวิตชิ่งในการชำระเงิน
  5. บริการหักบัญชี (Clearing)
  6. บริการชำระดุล (Settlement)
  7. บริการชำระเงินแทน
  8. บริการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์

 

ข้อมูลจาก 

ธนาคารแห่งประเทศไทย

Anti-Fake News Center Thailand