“กสิกรไพรเวทแบงก์-บีคอน วีซี” เปิดกลยุทธ์ลงทุน ท่ามกลางตลาดผันผวน

“กสิกรไพรเวทแบงก์-บีคอน วีซี” เปิดกลยุทธ์ลงทุน ท่ามกลางตลาดผันผวน

กรุงเทพธุรกิจ – ฐานเศรษฐกิจ เปิดหลักสูตร WOW : Wealth of Wisdom เปิดขุมทรัพย์แห่งความมั่งคั่ง ดึง “กสิกรไพรเวท แบงกิ้ง”แนะนำจัดพอร์ตลงทุน ชู 5 ธีมลงทุน “นอกตลาด” รับมือตลาดผันผวน พร้อมฉายภาพทิศทางการลงทุนของ “เวนเจอร์แคปิทัล” ผ่าน บีคอน วีซี

“กสิกรไพรเวทแบงก์-บีคอน วีซี” เปิดกลยุทธ์ลงทุน ท่ามกลางตลาดผันผวน       เมื่อวันที่ 15 ก.ย.2565 ที่ผ่านมา ภายใต้หลักสูตร WOW: Wealth Of Wisdom ที่จัดขึ้นโดย หนังสือพิมพ์กรุงเทพ และฐานเศรษฐกิจ นำนักศึกษาที่เป็นนักธุรกิจแถวหน้าร่วมลุยกับ K+ เปิดขุมทรัพย์แห่งความมั่งคั่ง  “KBANK Private Banking -Beacon VC 

     “กสิกรไพรเวทแบงก์-บีคอน วีซี” เปิดกลยุทธ์ลงทุน ท่ามกลางตลาดผันผวน

โดยได้รับเกียรติจาก “จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์” ไพรเวท แบงกิ้ง กรุ๊ป เฮด (Private Banking Group Head) ธนาคารกสิกรไทย และ “ธนพงษ์ ณ ระนอง” กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด(BCON-VC) ให้เกียรติมาร่วมเปิดขุมทรัพย์แห่งความมั่งคั่ง 

“กสิกรไพรเวทแบงก์-บีคอน วีซี” เปิดกลยุทธ์ลงทุน ท่ามกลางตลาดผันผวน       “จิรวัฒน์” กล่าวว่า การลงทุนในปัจจุบันอยู่ท่ามกลางความ “ผันผวน” ค่อนข้างมาก จากปัจจัยเศรษฐกิจโลก จากการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศหลักๆ และผลกระทบจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ที่ส่งผลให้ตลาดมีความผันผวนตลอดทั้งไตรมาส 3 นี้ จนกว่าจะเริ่มเห็นทิศทางที่ชัดเจน จากการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ซึ่งคาดว่าจะเกิดได้ในไตรมาส 4 ที่การลงทุนเริ่มมีแสงสว่าง
       แต่แม้จะมีแสงสว่างในการลงทุน แต่ยังมองว่า ความ “ผันผวน” ยังอยู่กับเรา กับนักลงทุนต่อไปเรื่อยๆ เพราะมองว่า “สงคราม” ระหว่างประเทศ ทั้งรัสเซีย ยูเครน ยักษ์ใหญ่อย่างจีน สหรัฐ หรือประเทศอื่นๆ ไม่มีทางจบง่ายๆ ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดจะเกิดการผันผวนต่อเนื่อง 
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนที่จะตอบโจทย์ และเหมาะกับตลาดในช่วง Side way ที่มองว่าพอมีจังหวะทำกำไรได้ คือ การลงทุน “นอกตลาด” คือ สิ่งที่ตอบโจทย์ที่สุด

      สอดคล้องกับที่ Private banking ทั่วโลกเริ่มปรับทิศทางการลงทุนไปสู่  Go Private Asset คือ การลงทุนในสินทรัพย์นอกตลาด ที่ไม่มีการซื้อขายกับบุคคลภายนอก จึงไม่มีราคาซื้อขายในตลาดรอง จึงช่วยลดความผันผวนจากราคาตลาดได้

     เช่นหุ้นนอกตลาด สินทรัพย์นอกตลาด ฯลฯ เพราะแม้จะเกิดอะไรในตลาด การลงทุนในสิ่งเหล่านี้ก็ไม่กระทบ 
     “วันนี้คนเบื่อการลงทุนในตลาด เพราะตลาดผันผวนแรง ดังนั้นเทรนด์ใหม่ของการลงทุน คือคนจะไป Go Private Asset เพื่อรับมือกับความผันผวนมากขึ้น แต่การลงทุนในตลาดก็มีเงื่อนไข มีข้อจำกัดที่ผู้ลงทุนต้องรับให้ได้ เช่น ไม่สามารถซื้อขายได้ทันที การลงทุนต้องใช้เงินเย็น ลงทุนมีกำหนดระยะเวลา ไม่เหมือนการซื้อขายในตลาดที่มีสภาพคล่องสุง มีคนรองรับทุกเมื่อ”

     ซึ่งการลงทุน “นอกตลาด” ที่มองว่าเป็น Highlight สำคัญ มี 5 ธีมด้วยกัน

    1.    การลงทุนในกองทุนที่มีกลยุทธ์ทำกำไรในช่วงที่ตลาดขาขึ้นและตลาดขาลงได้ “เฮดจ์ฟันด์ หรือ Hedge Fund (ASP-LAGACY-UI) ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยตลอด 17 ปี อยู่ที่ 8.75% ต่อปี ที่สำคัญมีความเสี่ยงที่วัดจากค่าความผันผวนเพียง 11% แต่ข้อเสียหลังจากขายออกแล้วกว่าจะได้รับเงินต้องใช้เวลาราว 3 เดือน
      2.    หุ้นนอกตลาด (Private Equity) (K-GPE22B-UI) เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อลงทุนในบริษัทนอกตลาดทั่วโลก กำหนดลงทุนขั้นต่ำเพียง 1 ล้านบาท กำลังจะเสนอขายวินเทจที่ 3 โดยครอบคลุมกลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลายในแต่ละช่วงการเติบโตของบริษัท และกระจายลงทุนกว่า 60 ธุรกิจ โดยตามปกติกองทุนลักษณะนี้ต้องถือยาว 12 ปี เพื่อผลตอบแทนประมาณ 20% แต่กองทุน K-GPE22B-UI ถือครองเพียง 7 ปี เพื่อผลตอบแทน 13-15% 
     3.    Global Private Real Estate (UGREF-UI) กับโอกาสรับผลตอบแทนจากตึกนอกตลาดกว่า 9000 แห่งทั่วโลก กระจายอยู่ในสหรัฐฯ 45% ยุโรป ญี่ปุ่น แคนาดา เนเธอร์แลนด์ เอเชีย-แปซิฟิก โดยตลอด 15 ปีตั้งแต่จัดตั้งกองทุน มีเพียงปีเดียวที่กองทุนติดลบโดยมีสาเหตุมาจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์

      4. Thai Private Real Estate (ALLYKEX  Private Equity Trust)โดยเริ่มต้นกองแรกมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 48 ตึก ซึ่งเจ้าของขาดสภาพคล่องบางส่วน จึงเป็นโอกาสลงทุนในช่วงโควิดระยะเวลาลงทุน 3-5 ปี อัตราผลตอบแทน จึงเป็นโอกาสลงทุนในช่วงโควิดระยะเวลาลงทุน 3-5 ปี อัตราผลตอบแทนภายใน( IRR) เฉลี่ย  11-14%  
      และ 5.หุ้นกู้อนุพันธ์ หรือ Structured Note  (KIKO) โดยมีผลตอบแทน 14-15%ต่อปี บนเงื่อนไขว่าจะลิงก์กับหุ้นบางตัว  เหล่านี้สะท้อนพัฒนาทางเลือกการลงทุน 
      “วันนี้เราต้องเปลี่ยนเกมการลงทุน เมื่อก่อนเรามีทางเลือกในการลงทุนหุ้นในตลาด แต่วันนี้ตลาดผันผวนมาก ดังนั้นเราจึงต้องปรับพอร์ตไปสู่ หุ้นนอกตลาดในสัดส่วนที่มากขึ้น ซึ่งรวมๆ แล้ว ขยับพอร์ตไปสู่หุ้นนอกตลาดคิดเป็นราว 10% ได้ ซึ่งถือว่าใหญ่มาก และคิดว่าระยะข้างหน้าสัดส่วนจะค่อยๆ ใหญ่ขึ้นอีก 
     “กสิกรไพรเวทแบงก์-บีคอน วีซี” เปิดกลยุทธ์ลงทุน ท่ามกลางตลาดผันผวน  ด้าน “ธนพงษ์ ณ ระนอง” บีคอน วีซี กล่าวว่า  การลงทุนในไพรเวทมาร์เก็ตส่วนใหญ่เป็นเรียลเอสเตทที่เข้าถึงง่าย แต่ปัจจุบัน Private Equity เป็นที่นิยมมากขึ้น ซึ่งเวนเจอร์แคปิทัลก็เป็นส่วนหนึ่งของไพรเวทอีควิตี้
     แต่ Private Market เติบโตมาตลอด หลังจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ เห็นได้จากอัตราการเติบโต 26% โดยเฉพาะปี 2564 ที่เติบโตอย่างมาก เพราะฟันด์โฟลว์ และสภาพคล่องวิ่งเข้ามาไพรเวทมาร์เก็ต ที่อื่นๆ หันมาลงทุนในสตาร์ตอัปมากขึ้น ทำให้ปี 2564 ที่ผ่านมา มีเม็ดเงินการลงทุนในสตาร์ตอัป และเวนเจอร์แค็ป ที่มียอดการลงทุนสูงขึ้นต่อเนื่อง 
     “แม้ ในปี 2565 การลงทุนจะมียอดลดลง หากเทียบกับปี 2564 แต่ยังสูงกว่าปีอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ และปกติไซเคิลของการลงทุน มักจะเกิดขึ้นในไตรมาส 3 และไตรมาส 4 มากกว่าครึ่งปีแรก เช่นเดียวกับ บีคอน วีซี ที่มักมีดีลเกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังมากกว่า เพราะแต่ละดีลใช้เวลาทำดีล 4-6 เดือน” 
      “กสิกรไพรเวทแบงก์-บีคอน วีซี” เปิดกลยุทธ์ลงทุน ท่ามกลางตลาดผันผวน

ทั้งนี้ การลงทุนในเวนเจอร์แค็ป ยังเป็นเทรนด์ที่ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง แม้ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ตลาดขาลง
      แต่อาจเป็น “จังหวะ”ที่ดี สำหรับเวนเจอร์แค็ป หรือ บีคอน วีซี ที่สามารถ “ช้อป” ของดี ในบริษัทสตาร์ตอัปดีๆ ได้มากขึ้น  เพราะช่วงปกติ สตาร์ตอัปมักมีดีมานด์สูงทำให้สามารถตั้งราคาได้มาก แต่ในช่วงที่ หลายคนอาจชะลอการซื้อชะลอการลงทุน การต่อรองราคาต่างๆ ทำได้ดีขึ้น 
      โดยเฉพาะการลงทุนใน เซาท์อีสเอเชีย ที่ถือเป็นการลงทุนในเวนเจอร์แคปเหมาะสมที่สุด เพราะจะมีบริษัทที่จะเติบโตใน Emerging Market เพราะมีตลาดใหญ่อย่างอินโดนีเซีย ที่มีเม็ดเงินเข้าไปลงทุนค่อนข้างมาก

     อย่างปี 2564 ที่ผ่านมา มีเม็ดเงินเข้าไปลงทุนในสตาร์ตอัปสูงถึง 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โตขึ้น 2.7 เท่า และปีเดียวมี Unicorn เกิดขึ้นปีเดียวถึง 25 บริษัท สูงกว่าทุกปี ทำให้การเข้าไปลงทุนได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นหลายเท่า 
      ทั้งนี้หากดู Unicorn ทั่วโลก ปัจจุบันมีกว่า 1,000 บริษัท ดังนั้นใน เซาท์อีสเอเซีย มีโอกาส และมีช่องในการเติบโตได้อีกมาก โดยเฉพาะในช่วงโควิด ที่หลายบริษัทสตาร์ตอัปที่มีการเติบโตได้ดี จากการนำดิจิทัลมาใช้ ส่งผลให้การเติบโตรวดเร็วขึ้น ซึ่งต่างจากบริษัทใหญ่ๆ ที่ปรับตัวไม่ทัน     
      ดังนั้นมองว่า เซาท์อีสเอเซีย ถือเป็น area ที่น่าสนใจลงทุน แต่ก็ต้องอาศัยกลยุทธ์การลงทุนที่ดี และเลือกการลงทุนที่เหมาะสม 
     เช่น กลยุทธ์การลงทุนของ บีคอน วีซี ที่ผ่านมา เลือกเข้าไปลงทุน เฉพาะ บริษัทที่มีรายได้ สร้างรายได้เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น และเป็นเซกเตอร์ที่เติบโตดีได้ และต้องเข้ามาช่วยซัพพอร์ตอีโคซิสเต็มสตาร์ตอัปโดยรวมให้เติบโตมากขึ้น 

     อย่างที่ บีคอน วีซี ปัจจุบันได้รับเงินลงทุนจาก กสิกรไทย 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีดีลที่คุยไปแล้วและระหว่างพูดคุยมากกว่า 1,000 ดีล มีการเข้าไปลงทุนใน 18 การลงทุน และมีการเข้าไปลงทุนใน 4 Fund of Fund หรือการเข้าไปลงทุนในวีซีอื่นๆ ในต่างประเทศ 
     ที่สำคัญ การลงทุนของ บีคอน วีซี ที่ผ่านมา สามารถ “Exit” หรือขายพอร์ตการลงทุน ที่เคยเข้าไปลงทุน ได้ถึง 4 ดีล ซึ่งไม่มีวีซีที่สามารถออกได้มากเท่านี้ โดยเฉพาะการเข้าไปลงทุนใน 3 บริษัท FlowAccount, Nium และ Aspire ที่ เบื้องต้น มูลค่าลงทุนจะเพิ่มขึ้นราว 6 เท่า จากที่ลงทุนไว้ ส่งผลให้ทั้งพอร์ต การลงทุนเติบโตขึ้น 37% 
      “การลงทุนของบีคอน วีซีที่ผ่านมา กองแรกๆ ที่เราเข้าไปลงทุน ได้ผลตอบแทนสูงถึง 47%  กองที่สอง 29%  และคาดว่า เฉลี่ยแล้วจะเห็นรีเทรนด์ เกิน 30% ได้ภายใน 10 ปี ซึ่งหากเทียบการสร้างรีเทิร์นระดับโลก บีคอนวีซี ถือว่าติดอยู่ใน 10 ที่สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนได้สูง เพราะเราอยู่มานาน มีดีลเข้ามาหาเราเรื่อยๆ และเรามักได้ลงทุนซีรีส์แรกๆ ในซีรีส์ A และ B ทำให้รีเทิร์นค่อนข้างดี”  “กสิกรไพรเวทแบงก์-บีคอน วีซี” เปิดกลยุทธ์ลงทุน ท่ามกลางตลาดผันผวน “กสิกรไพรเวทแบงก์-บีคอน วีซี” เปิดกลยุทธ์ลงทุน ท่ามกลางตลาดผันผวน