วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ติดตามนโยบายของรัฐบาลใหม่

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.ยูโอบี เคย์ เฮียนฯ ติดตามนโยบายของรัฐบาลใหม่

ติดตามการแถลงนโยบายของรัฐบาลที่น่าจะเป็นปัจจัยหนุนกลุ่มบริโภคในประเทศ การแถลงนโยบายของรัฐบาลวันนี้มีหลายนโยบายซึ่งจะสนับสนุนกำลังซื้อในประเทศ

โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วนในการลดค่าครองชีพ รวมไปถึงการพักชำระหนี้เกษตรกร และลูกหนี้ที่มีปัญหาจากสถานการณ์โควิด โดยรวมน่าจะหนุนจิตวิทยาหุ้นที่เน้นการบริโภคในประเทศ (Domestic play) แต่คาดหุ้นค้าปลีก ไฟแนนซ์ ฟื้นแบบ selective buy 

 

FTSE ประกาศทบทวนดัชนีรายไตรมาส มีผลบังคับใช้ ณ.ราคาปิด 15 ก.ย. โดยมีการปรับหุ้นเข้าออกดังนี้ 1) ดัชนีหุ้นใหญ่ (Large Cap) หุ้นเข้า – TRUE / หุ้นออก - GPSC, AWC 2) หุ้นขนาดกลาง หุ้นเข้า - AWC, GPSC / หุ้นออก - STGT, TRUE 3) หุ้นเล็ก หุ้นเข้า - STGT / หุ้นออก – VIBHA // ทั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการตกชั้นของหุ้นที่หล่นลงมายังดัชนีที่เล็กลง มีเพียง TRUE ที่ถูกปรับขึ้นไปยังดัชนีที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งเรามองเป็นบวกกับแรงซื้อและการเพิ่มน้ำหนักหุ้นที่จะเกิดขึ้นจากการเข้าคำนวณในดัชนี
 

 

ติดตามเงินเฟ้อสหรัฐฯ 13 ก.ย. ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับความผันผวนของหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยง ติดตามการรายงานเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในวันที่ 13 ก.ย. ซึ่ง Bloomberg concensus คาดเงินเฟ้อ ส.ค. ที่ +0.6% MoM และ +3.6% YoY จากตัวเลข ก.ค.ที่ +0.2% และ +3.2% ทั้งนี้ตลาดคาดโอกาสตรึงดอกเบี้ยในการประชุม 20 ก.ย. อยู่สูงถึง 93% แต่โอกาสขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบ พ.ย.-ธ.ค. ยังอยู่ในระดับ 40-50% ซึ่งหากตัวเลขเงินเฟ้อและตัวเลขเศรษฐกิจอื่นไม่ร้อนแรงเกินไป จะเป็นปัจจัยบวกกับบรรยากาศลงทุน

ภาพรวมกลยุทธ์: ตลาดปรับฐานสู่แนวรับ 1,540-1,550 จุด ซึ่งเป็นระดับที่มีโอกาสลุ้นฟื้นตัว กลุ่มที่น่าสนใจช่วงนี้คือ 1) หุ้นขนาดกลางขนาดเล็กที่มีการถือครองต่ำ 2) กลุ่มที่ผลประกอบการครึ่งปีหลังจะออกมาดีหรือดีต่อเนื่อง ได้แก่ พลังงาน ท่องเที่ยว อสังหาริมทรัพย์ 3) หุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว // หุ้นเด่นที่เราชอบในช่วง ก.ย.-ธ.ค. ได้แก่ PTTEP, TOP, PTG, OR / CPAXT, TIDLOR / AOT, AWC, SPA / CPN, AP

หุ้นแนะนำ: TRUE*, CRC*, ZEN*, SORKON*

แนวรับ: 1,540 / แนวต้าน : 1,560 จุด 

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
 

 

ประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจ

ซิตี้กรุ๊ปหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจยูโรโซน - โดยขยายตัวเหลือเพียง 0.4% ในปี 2023 จากที่คาดการณ์ไว้ 0.8% ขณะเดียวกัน คาดว่าจะหดตัว 0.1% ในปี 2024 จากที่เคยคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัว 0.8% ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและการขาดแคลนแรงงาน ตลอดจนเศรษฐกิจที่อ่อนแอของจีน การเปลี่ยนแปลงนโยบายการคลัง และมาตรการทางการเงินที่เข้มงวด บั่นทอนรายได้ที่แท้จริงของภาคครัวเรือน 

รัฐบาลเศรษฐาลจัดงบแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท – โดยเพิ่มงบปี 67 กว่า 1 แสนล้านบาท ยอดรวมทะลุ 3.4 ล้านล้านบาท ตั้งเป้ากู้เงินชดเชยขาดดุล 7 แสนล้านบาท พร้อมขยายเพดานก่อหนี้ เปิดช่องกู้แบงก์รัฐเพิ่มอีก 2 แสนล้าน คาดดัน GDP ปีหน้าทะลุ 19 ล้านล้าน ขณะที่หนี้สาธารณะ ทะลุ 12 ล้านล้าน พร้อมเปิดช่องให้ร้านค้า คนรับเงินมือที่ 2 ใช้เงินได้ไม่จำกัดเวลา

ท็อปนิวส์ ซื้อช่อง JKN –  ด้วยมูลค่า 500 ล้านบาท จับตาแถลงข่าวความชัดเจน (11 ก.ย.) คาด JKN เตรียมเร่งนำเงินจ่ายคืนหุ้นกู้ชุดแรกที่ค้างอยู่กว่า 443 ล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า หวั่นรุ่นอื่นที่เหลือถูก Call Default ก่อนประชุมเจ้าหนี้หุ้นกู้ 27 ก.ย.นี้ 

BA เตรียมล้างขาดทุน - ชี้อุตสาหกรรมการบินในครึ่งปีหลังโดดเด่น อัพเป้าใหม่ปี 66 รายได้รวม แตะ 1.6 หมื่นล้านบาท ยอดรวมผู้โดยสารไม่น้อยกว่า 4.4 ล้านคน อัตราส่วนการขนส่งผู้โดยสารเป็น 76% อัตราเฉลี่ยค่าบัตรโดยสารเป็น 3.7 พันบาทต่อที่นั่ง กางแผนเตรียมล้างขาดทุนสะสม

 

ประเด็นติดตาม: 11 ก.ย. แถลงนโยบายต่อรัฐสภา / 12 ก.ย. ประชุมครม.นัดแรก / 13 ก.ย.– US CPI/ 14 ก.ย.- ECB Interest Rate Decision, US PPI, Retail Sales/ 15 ก.ย. - CH Industrial Production / 18-24 ก.ย. BOI โรดโชว์พบนักลงทุนสหรัฐฯ /27 ก.ย. ประชุม กนง. ซึ่งธปท.จะมีการปรับลดคาดการณ์ GDP ลง

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)