เช็ก 25 มหาลัยเข้าร่วม ธนาคารหน่วยกิต เรียนได้ไม่จำกัดอายุ ใช้รับรองวิชาชีพ

เช็ก 25 มหาลัยเข้าร่วม ธนาคารหน่วยกิต เรียนได้ไม่จำกัดอายุ ใช้รับรองวิชาชีพ

กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศแนวทางการดำเนินงาน “ธนาคารหน่วยกิต” ล่าสุด เน้นผลักดันให้ประชาชนได้เรียนรู้ตลอดชีวิต แบบไม่จำกัดอายุและคุณวุฒิ สามารถใช้รับรองวิชาชีพได้ เช็กรายละเอียด 25 มหาลัยเข้าร่วมที่นี่

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่  ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการดำเนินงานธนาคารหน่วยกิต ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2567

ประกาศฉบับนี้ มีสาระสำคัญ คือ “ธนาคารหน่วยกิต” จะส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่จำกัดอายุและคุณวุฒิ โดยเชื่อมโยงการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ซึ่งผู้เรียนสามารถลงทะเบียนสะสมหน่วยกิตในธนาคารหน่วยกิตสถานศึกษาที่ขึ้นทะเบียนมากกว่าหนึ่งแห่ง

สามารถนำผลการการเรียนรู้จากการศึกษา การฝึกอบรม การรับรองมาตรฐานอาชีพ และประสบการณ์จากการเรียนรู้ที่ทำงานจริง ระหว่างการศึกษามาเทียบโอนหน่วยกิต และสะสมในธนาคารหน่วยกิตได้ตลอดชีวิต เป็นสิทธิของผู้เรียนและได้รับการคุ้มครองตามที่กฎหมายกำหนด

เช็ก 25 มหาลัยเข้าร่วม ธนาคารหน่วยกิต เรียนได้ไม่จำกัดอายุ ใช้รับรองวิชาชีพ

เช็ก 25 มหาลัยเข้าร่วม ธนาคารหน่วยกิต เรียนได้ไม่จำกัดอายุ ใช้รับรองวิชาชีพ

เช็ก 25 มหาลัยเข้าร่วม ธนาคารหน่วยกิต เรียนได้ไม่จำกัดอายุ ใช้รับรองวิชาชีพ

เช็ก 25 มหาลัยเข้าร่วม ธนาคารหน่วยกิต เรียนได้ไม่จำกัดอายุ ใช้รับรองวิชาชีพ

เช็ก 25 มหาลัยเข้าร่วม ธนาคารหน่วยกิต เรียนได้ไม่จำกัดอายุ ใช้รับรองวิชาชีพ

ระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ (National Credit Bank) คืออะไร?

คือการมีระบบทะเบียนสะสมหน่วยกิตและกลไกในการเทียบโอนความรู้หรือสมรรถนะที่ได้จากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และจากประสบการณ์บุคคล สำหรับเก็บสะสมไว้ในธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ ซึ่งเชื่อมโยงกับธนาคารหน่วยกิตของสถาบันอุดมศึกษา ผู้เรียนสามารถลงทะเบียนเรียนและสะสมหน่วยกิตได้ตลอดชีวิต โดยไม่มีเงื่อนไขของระยะเวลาในการสะสมและระยะเวลาในการศึกษา และสามารถเทียบโอนหน่วยกิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาได้

ธนาคารหน่วยกิต มี 5 รูปแบบ

  • Credit from Standardize (CS) แบบมีใบรับรองที่องค์กรมาตรฐานวิชาชีพ หรือวิชาการเป็นผู้มอบให้ คือ การเทียบโอนหน่วยกิตจากใบรับรองที่ได้จากการฝึกอบรม การเรียน และอื่น ๆ ที่องค์กรมาตรฐานวิชาชีพหรือวิชาการเป็นผู้มอบให้ โดยหลักสูตรหรือหน่วยงานนั้นเป็นที่ยอมรับ หรือได้รับการรับรอง หรือเป็นองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการให้มาตรฐาน

 

  • Credit from Nondegree (CN) แบบไม่มีการให้ปริญญา แต่ใบรับรองจากสถานศึกษามีการสอบ หรือการวัดองค์ความรู้ คือ การเทียบโอนหน่วยกิตจากใบรับรองที่ได้จากการฝึกอบรม การเรียน และอื่น ๆ ที่ไม่มีการให้ปริญญา อาจมีใบรับรองก็ได้ แต่สถานศึกษา/ผู้รับผิดชอบหลักสูตรสามารถที่จะวัดองค์ความรู้ หรือสมรรถนะ หรือทดสอบใด ๆ เพื่อยืนยันว่า ผู้เรียนสามารถเทียบโอน Nondegree นั้นกับรายวิชาได้

 

  • Credit from Training (CT) แบบได้ใบรับรองจากการฝึกอบรมหรือฝึกปฏิบัติ คือ การเทียบโอนหน่วยกิตจากใบรับรองที่ได้จากการฝึกอบรมหรือฝึกปฏิบัติ โดยผู้รับผิดชอบหลักสูตรสามารถที่จะวัดทดสอบใด ๆ เพื่อยืนยันองค์ความรู้ของผู้เรียนซึ่งอาจจะเทียบโอนได้บางส่วน

 

  • Credit from Portfolio (CP) คือ การเทียบโอนหน่วยกิตจากประสบการณ์ ซึ่งหลักสูตรต้องสร้างเกณฑ์ประเมินเพื่อวัดสมรรถนะหรือแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลงานตาม Port Folio ว่าจะสามารถเทียบโอนกับรายวิชาได้อย่างไร

 

  • Credit from Examination (CE) คือ การเทียบโอนหน่วยกิตจากการสอบ โดยหลักสูตรจะสร้างแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ หรือสมรรถนะ แล้วจึงพิจารณาเทียบโอนกับรายวิชา

25 สถาบันเข้าร่วมธนาคารหน่วยกิต

 

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • มหาวิทยาลัยบูรพา
  • มหาวิทยาลัยพะเยา
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ