ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นตัวกำหนดภาพรวมบรรยากาศลงทุนสัปดาห์นี้

ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นตัวกำหนดภาพรวมบรรยากาศลงทุนสัปดาห์นี้

ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่จะส่งผลต่อมุมมองการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด แม้ตลาดจะคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC)  จะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุม 3 พ.ค. ค่อนข้างแน่ (FedWatch tool ระบุด้วยความน่าจะเป็น 89.1%)

แต่สิ่งสำคัญคือจะเริ่มเห็นการหยุดขึ้นดอกเบี้ย หรือยังมีโอกาสเดินหน้าขึ้นต่อ โดยนักลงทุนจะอาศัยตัวเลขเศรษฐกิจที่จะประกาศในสัปดาห์นี้เพื่อประเมินความน่าจะเป็นดังกล่าว ได้แก่ 1) ยอดขายบ้านใหม่ มี.ค. คาด 630,000 หลัง (25 เม.ย.) 2) ความเชื่อมั่นผู้บริโภค เม.ย. คาด 104 (25 เม.ย.) 3) ยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก สัปดาห์ก่อน คาด 250,000 ราย (27 เม.ย.) 4) GDP สหรัฐฯ ไตรมาส 1/66 คาด 2.0% (27 เม.ย.) // ซึ่งหากตัวเลขออกมาแข็งแกร่งเกินไป อาจเป็นปัจจัยลบกับบรรยากาศลงทุนระยะสั้นได้

ความกังวลกลุ่มธนาคารผ่อนคลายลง ขณะที่ตลาดรอติดตามการรายงานงบหุ้นขนาดใหญ่อื่นที่จะเริ่มประกาศ แม้เราประเมินกลุ่มธนาคารมีความเสี่ยงถูกปรับลดน้ำหนักการลงทุนลงจากมุมมองดอกเบี้ยที่เริ่มเปลี่ยนแปลง (จากดอกเบี้ยขาขึ้นเป็นดอกเบี้ยถึงจุดสูงสุด) อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นกลุ่มธนาคารมีโอกาสฟื้นหลังหุ้นที่ปรับลดลงอย่าง KBANK มีการตั้งสำรองหนี้ STARK ไปแล้ว 80-90% ขณะที่ผลประกอบการหุ้นอื่นโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่ภาพรวมในประเทศสัปดาห์นี้ จะเป็นการติดตามการรายงานผลประกอบการของ SCGP, HMPRO, DELTA, SCC, BH และ PTTEP และการติดตามการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ของ STARK ในวันที่ 28 เม.ย. ซึ่งหากไม่มีการอนุมัติยกเว้นเหตุผิดนัดชำระจากการส่งงบล่าช้า อาจทำให้อันดับเครดิตลดลงในระดับผิดนัดชำระได้ 
 

ประเมินมุมมองการลงทุนช่วง 3 เดือนข้างหน้ามีโอกาสเกิด relief rally จาก 1) Honeymoon period rally หลังการเลือกตั้ง จากความคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 2) การหยุดขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ คาดทำให้เกิดบรรยากาศลงทุนที่ผ่อนคลายต่อสินทรัพย์เสี่ยง คล้ายปี 2008 และ 2019 และ 3) ภาพรวมเศรษฐกิจเอเชียที่เติบโตกว่าสหรัฐฯ และยุโรป ทำให้เอเชียยังน่าสนใจและมีสถานะ safe haven โดยประเมิน downside หุ้นไทยในระดับ 1,540 จุด หรือจ่ำกว่ามีความน่าสนใจ

ภาพรวมกลยุทธ์: คาดผลประกอบการหุ้นธนาคารที่ดีและหุ้นไฟฟ้าที่น่าจะฟื้นหลังตลาดรับข่าวปรับลด Ft ไปแล้วจะส่งผลบวกต่อการฟื้นตัวระยะสั้น ขณะที่การลงทุนเน้น selective buy กลุ่มที่น่าจะเห็นการฟื้นตัวได้ชัดเจนในปี 2566 และยังมีการถือครองที่ต่ำ (Underowned) โดยเฉพาะสาธารณูปโภคและค้าปลีก

หุ้นแนะนำ: KKP*, BGRIM*, WHAUP*, ROJNA*

แนวรับ: 1,550 / แนวต้าน : 1,565-1,573 จุด 

สัดส่วนลงทุน: เงินสด 40% vs พอร์ตหุ้น 60%
 

ประเด็นการลงทุนที่น่าสนใจ

ดัชนี PMI รวมภาคผลิต-บริการสหรัฐดีดตัวสูงสุดรอบ 11 เดือน –  ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 53.5 ในเดือนเม.ย. สูงสุดในรอบ 11 เดือน จากระดับ 52.3 ในเดือนมี.ค. ดัชนี PMI ได้รับแรงหนุนจากการดีดตัวของการจ้างงานและคำสั่งซื้อใหม่ ขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ

PTT ร่วมทุน ONEO ลุยธุรกิจอสังหาฯ –PTT มีมติอนุมัติให้ EnCo (ถือหุ้น 50%) ร่วมลงทุน ONEO ด้วยมูลค่า 46 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาธุรกิจโรงแรม และร้านค้าภายในโครงการออริจิ้น สมาร์ท ซิตี้ระยอง เพื่อรองรับการขยายตัว EEC และท่องเที่ยว

DELTA – หุ้นจะพ้นจากมาตรการกำกับการซื้อขาย (T1) ในวันที่ 24 เม.ย.66 แต่ทางตลท.มีหนังสือเตือนขอให้ผู้ลงทุนพิจารณาอย่างรอบคอบในการลงทุน DELTA ซึ่งปัจจุบันมี P/E และ P/BV อยู่ที่ 72.35 เท่า และ 20.30 เท่าตามลำดับ ซึ่งหากพบสภาพการซื้อขายิดปกติโดยไม่มีปัจจัยพื้นฐานสนับสนุน อาจถูกยกระดับขึ้นสู่มาตรการระดับ 2 และ 3

ทริสลดอันดับเครดิต STARK - ลงสู่ระดับ BB- จาก BBB+ ในขณะที่ยังคงเครดิตพินิจแนวโน้ม Negative เช่นเดิม อย่างไรก็ตามอันดับเครดิตขึ้นกับผลการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ 28 เม.ย.66 เพื่อยกเว้นเหตุผิดนัดชำระที่เกิดจากการส่งงบล่าช้า แต่หากมติออกมาเป็น “ไม่ยกเว้น” จะเป็นเหตุให้ผิดนัดชำระ และสามารถเรียกร้องให้ชำระหนี้ทันที ซึ่งทริสอาจปรับลดเครดิตลงสู่ C หรือ D

 

ประเด็นติดตาม: 25 เม.ย. – US New Home Sales/ 26 เม.ย. – Core Durable Goods Orders / 27 เม.ย. – US GDP, Pending Home Sales / 28 เม.ย. – US Core PCE 

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)