Bank Sector ประมาณกำไรไตรมาส 1/66 : ส่วนต่างดอกเบี้ยยังช่วยการฟื้นตัวกำไร

Bank Sector ประมาณกำไรไตรมาส 1/66 : ส่วนต่างดอกเบี้ยยังช่วยการฟื้นตัวกำไร

คาดว่ากำไรใน 1Q66F จะเพิ่มขึ้น 34% QoQ และ 6% YoY

กำไรที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง QoQ สะท้อนถึงฐานกำไรที่ต่ำใน 4Q65 ของ KBANK (เนื่องจากมีการกำหนด credit cost ก้อนใหญ่) และ SCB (เพราะมีค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานก้อนใหญ่) ในขณะที่กำไรที่เพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง YoY สะท้อนถึงสมมติฐานกำไรจาก FVTPL ที่ลดลง และรายได้ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกและตลาดทุนที่ลดลง นอกจากนี้ ประมาณการกำไร 1Q66F ของเรายังใช้สมมติฐานอัตราการขยายตัวของสินเชื่อที่ 1% QoQ และ 4% YoY, NIM ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอีก 5bps QoQ และ +50bps YoY รวมถึง credit cost ที่ลดลง QoQ แต่ทรงตัว YoY

 

กำไรจากธุรกิจหลักเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

หากไม่รวมรายการทางบัญชีที่ผันผวนในส่วนของคชจ.สำรองฯ (credit cost) และกำไร/ขาดทุนจากเงินลงทุน (FVTPL) เราคาดว่ากำไรจากธุรกิจหลัก (PPOP-ex FVTPL) จะเพิ่มขึ้น 7% QoQ โดยกำไรของ SCB จะเติบโตในอัตราสูงเพราะฐานกำไรที่ต่ำใน 4Q65 เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก้อนใหญ่ สำหรับการปรับโครงสร้างองค์กร รองลงมาคือ KBANK เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสูงตามฤดูกาลในไตรมาสสุดท้ายของปี ในขณะเดียวกัน กำไรจากธุรกิจหลักยังคงเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งที่ 17% YoY เนื่องจาก NIM ดีขึ้น โดยกำไรของ BBL เพิ่มขึ้นมากที่สุด

 

 

NIM ดีขึ้น

ธนาคารต่าง ๆ เร่งขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้มาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 โดยปรับ MLR +85bps และ MRR +63bps ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำเพิ่มขึ้นเพียง 35bps (ส่วนดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ หรือ CASA ยังเท่าเดิม) ทั้งนี้ เมื่อรวม DPA ที่เพิ่มขึ้น 23bps เราคิดว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้นเกินพอที่จะชดเชยต้นทุนทางการเงินทที่เพิ่มขึ้นได้ประมาณ 5bps QoQ และ 50bpd YoY ภายใต้สมมติฐาน สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยลอยตัวมีสัดส่วน 60% และ CASA มีสัดส่วน 80% อย่างไรก็ตามคาดว่า NIM ของ KKP และ TISCO จะลดลงเพราะ TISCO มีสัดส่วนของสินเชื่อดอกเบี้ยคงที่สูงถึง 70% ในขณะที่ของ KKP อยู่ที่ 65%

 

คุณภาพสินทรัพย์ – ความกดดันน้อยลง

การจัดการหนี้เสียจำนวนมากด้วยการตัดหนี้สูญ (write-off) ขาย NPL ออกไปใน 4Q65 ในขณะที่รวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2566 จะช่วงคลายกระแส NPL เกิดใหม่ และค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองฯ (credit cost) ที่จะบันทึกใน 1Q66F ลง ดังนั้น เราจึงใช้สมมติฐาน credit cost ที่ลดลง QoQ แต่ยังคงสูง YoY ในกรณีของ KBANK, ทรงตัวในกรณีของ BBL และ TTB, และลดลงในกรณีของ KTB, แต่สูงขึ้นในกรณีของ SCB เพราะฐานต่ำใน 2H65 เพื่อการบริหารค่าใช้จ่ายดำเนินงานใน 2H65

 

Risks

NPLs เพิ่มขึ้น และกันสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ผลขาดทุน FVTPL จากการลงทุน.