‘เครดิตบูโร’เปิด ไตรมาสแรก หนี้เสียทะลัก 1.09ล้านล. ‘รถยนต์-บ้าน’ หนี้พุ่ง

‘เครดิตบูโร’เปิด ไตรมาสแรก หนี้เสียทะลัก 1.09ล้านล. ‘รถยนต์-บ้าน’ หนี้พุ่ง

‘เครดิตบูโร’ เปิดสถานการณ์หนี้ไตรมาสแรก พบหนี้เสียทะลัก 1.09 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเฉียด 15% หนี้รถยนต์-บ้านเป็นพระเอก รถยนต์หนี้เสียโต 32% บ้านอีก 18% พ่วงยอดค้างชำระ ‘รถ-บ้าน-บัตรเครดิต-สินเชื่อบุคคล’ อีกเพียบ

นายสุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) โพสต์เฟซบุ๊กถึง สถานการณ์หนี้ครัวเรือนไทย โดยระบุว่า ไตรมาสที่ 1/2567 ขอรายงานข้อมูล ตามที่ได้แจ้งไปวันก่อนดังนี้

1.ภาพหนี้ครัวเรือนไทยเทียบกับ GDP จะพบว่าปัจจุบันอยู่ที่ 91.3% ไม่ต้องบอกนะครับว่ามันอันตรายต่อระบบเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตผู้คนที่เป็นหนี้ขนาดไหน ลองไปเดินถนนถามคนก็จะรู้ อย่าเอาแต่ถามกันเอง ผลจาก income shock ในช่วงโควิดที่มีการประเมินว่าหายไปถึง 2.6ล้านล้านบาท และอัตราส่วนนี้มันเลยธง 80% ที่มาตรฐานสากลเขาบอกว่าควรต้องกำหนดมาตรการดึงลงมา แต่โชคร้ายคือขณะที่พยายามจะดึงมันลงมา โรคระบาดก็มาคั่นกลางพอดี พอตื่นจากฝันร้ายก็มาเจอเศรษฐกิจโตต่ำ ค่าพลังงานแพงเพราะรบกัน

ข้อมูลหลายสำนักบอกว่ารายได้ของธุรกิจเคขาลงมัยยังไม่ฟื้นตัว รายได้ผู้คนก็น้อยลง ไม่แน่นอน ข้าวของค่อยๆมีราคาเพิ่ม การดำเนินชีวิตยากลำบากขึ้น ขอบคุณธปท.ที่ทำภาพนี้มาให้เห็นชัดเจนว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ‘เครดิตบูโร’เปิด ไตรมาสแรก หนี้เสียทะลัก 1.09ล้านล. ‘รถยนต์-บ้าน’ หนี้พุ่ง

‘เครดิตบูโร’เปิด ไตรมาสแรก หนี้เสียทะลัก 1.09ล้านล. ‘รถยนต์-บ้าน’ หนี้พุ่ง 2.ภาพต่อมาคือเจาะลงดูในรายละเอียดจะเห็นว่าเจ้าหนี้แต่ละประเภทนั้นให้กู้กับผู้มีถิ่นฐานในไทยกันคนละเท่าไหร่ จุดที่น่าสนใจมากๆคือ หนี้ที่ปล่อยกู้โดยสหกรณ์ออมทรัพย์ให้กับสมาชิกโตถึง 2.3ล้านล้านบาท คือว่าในจำนวนนี้ 8แสนล้านบาทเป็นการให้กู้กับกลุ่มอาชีพคุณครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งเป็นเป้าหมายใหญ่ที่ทางการได้เข้ามาเร่งแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะประเด็นการหักเงินหน้าซองเงินเดือนส่งให้เจ้าหนี้จนเหลือไม่ถึง 30%ของรายได้ แถมมีการไปหักหลังซองเพิ่มต่ออีกจนแทบจะดำเนินชีวิตต่อไปไม่ได้ เรื่องนี้บทบาทของนายจ้างจะมีส่วนสำคัญในการต่อรองกับเจ้าหนี้

อีกส่วนหนึ่งของข้อมูลที่แสดงคือ 28%ของหนี้ครัวเรือนไทยที่ 16.3ล้านล้านบาท เป็นการกู้ไปกินไปใช้ที่เรียกว่าบริโภค ซึ่งมันต้องเอารายได้ในอนาคตมาผ่อนจ่าย คำถามคือถ้ารายได้ไม่มาตามนัด เพราะมีโรคระบาดคั่น ไอ้สิ่งที่คิดว่าจะจ่ายได้แน่ มันก็ไม่แน่ แถมดอกเบี้ยก็ทับถม และแพงพอควร มันจึงเป็นปัญหามีหนี้สะสมเกินศักยภาพในวันนี้ เพราะวันนั้นคิดว่ามันอยู่ในศักยภาพ ตรงนี้เรียกว่าติดกับดักการเป็นหนี้ชัดเจน

 

‘เครดิตบูโร’เปิด ไตรมาสแรก หนี้เสียทะลัก 1.09ล้านล. ‘รถยนต์-บ้าน’ หนี้พุ่ง 3.ภาพที่สามคือ ตัวเลขหนี้สินภาคครัวเรือนที่อยู่ในระบบของเครดิตบูโร ตัวเลขมันเท่ากับ 13.6ล้านล้านบาท ที่ไม่ได้นำมารวมชัดๆคือหนี้ที่ให้กู้โดยสหกรณ์ออมทรัพย์และหนี้ของกยศ. จะเห็นได้ว่า
หนี้บ้านเติบโตในไตรมาส 1/2567 เท่ากับ 3.8%yoy  หนี้รถยนต์ เท่ากับ -1.5%yoy

‘เครดิตบูโร’เปิด ไตรมาสแรก หนี้เสียทะลัก 1.09ล้านล. ‘รถยนต์-บ้าน’ หนี้พุ่ง

ที่น่ากังวลคือหนี้เอาไปทำธุรกิจกับหนี้ OD มันติดลบ 5.7%และ5%yoy ตามลำดับ สินเชื่ออื่นๆที่เติบโตมาจากการส่งข้อมูลบัญชีดอกเบี้ยที่แขวนไว้จากการปรับโครงสร้างหนี้เป็นสำคัญ ที่สำคัญยอดหนี้ในภาพรวมเติบโต 2.9%yoy

เรามาดูกันต่อว่า GDP ไตรมาสหนึ่งที่จะรายงานนี้มันจะโตน้อยกว่าหรือมากกว่า เพราะมันจะส่งผลต่อ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนไทยต่อGDP ที่เรามีฝันว่าเป้าหมายไกลๆเราจะไปอยู่ที่ 80%

4.ถ้ามาดูในประเด็นจำนวนบัญชีบ้าง 84.4ล้านบัญชีของ 13.6ล้านล้านบาทในระบบของเครดิตบูโรนั้น ส่วนใหญ่ติดลบหมด ยกเว้นบัตรเครดิตเติบโต 1.5%yoy และหนี้อื่นๆก็อย่างที่เล่าในข้อ 3ข้างต้น

“การหดตัวในทุกประเภทสินเชื่อ จึงไม่แปลกใจที่มีเสียงบ่นกันถึงความเข้มงวดในการให้กู้เวลานี้ กติกาคือต้องมีศักยภาพ และศักยภาพคือมีรายได้ แน่นอน มั่นคง เพียงพอ สม่ำเสมอ คำถามคือโลกหลังโควิด มีลูกค้าแบบนี้น้อยลงหรือมากขึ้น ข้อมูลจากการสอบถามกันเวลานี้คือรายได้ 5หมื่นต่อเดือนและมีหนี้ไม่มาก ถึงจะเติมหนี้ได้ไม่เชื่อท่านไปถามคนปล่อยกู้สิ่ครับว่าทำไมมีความเข้มในการประเมินรายได้ของลูกค้าคนขอกู้ดุเดือดเลือดพล่านขนาดนั้น”

หนี้เสียทะลัก1.09ล้านล้าน รถยนต์แชมป์หนี้เน่าพุ่ง32% 

5.Key point ของหน้านี้คือจากตัวเลขหนี้รวม 13.64ล้านล้านบาท มีตัวเลขหนี้เสีย, หนี้ NPLs แล้วเป็นยอดสะสม 1.09ล้านล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 8% ไอ้ที่รายงานกันคือเฉพาะธนาคารพาณิชย์นะครับ และคำนิยามมันอาจจะอ่อนกว่าที่แสดงในภาพ

‘เครดิตบูโร’เปิด ไตรมาสแรก หนี้เสียทะลัก 1.09ล้านล. ‘รถยนต์-บ้าน’ หนี้พุ่ง

สิ่งที่แสดงคือบัญชีสินเชื่อใดก็ตามค้างเกิน 90วันก็หยิบมานับ ไม่สนใจเรื่องสำรองหรือหักหลักประกันออก นิยามนี้ IMF.แนะนำผมให้ใช้ เพราะมันบอกถึงความจริงและสะท้อนความเป็นจริงได้ดี(ผมไม่ได้บอกว่าดีกว่า หรือการรายงานแบบคำนิยามอื่นมันด้อยกว่านะครับ)

ส่วนเส้นสีดำที่แสดงคือ ยอดหนี้สะสมที่เสียไปแล้วจากนั้นนำมาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหาหรือทำ TDR ปัจจุบันไตรมาสหนึ่งมาอยู่ที่ 1.07ล้านล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 7.9%

หนี้ค้างชำระพุ่ง 6.4แสนล้าน 

เส้นสีเหลืองคือหนี้กำลังจะเสีย หนี้ค้างชำระแต่ยังไม่เกิน 90วัน หนี้ SM ตอนนี้มาอยู่ที่ 6.4แสนล้านแล้วนะครับ ถ้ายอดหนี้ SM มันไหลมาเพิ่มเร็วและแรง มันจะทำให้เกิดโอกาสเป็นหนี้ NPLsเพิ่มสูงในอนาคตได้

6.Key points อีกอันหนึ่งที่ชัดเจนมากๆในไตรมาส 1/2567 ก็คือ หนี้เสีย 1.09ล้านล้านบาทนั้นมันเติบโต 14.9%yoy  มีพระเอกคือหนี้รถยนต์ 2.4แสนล้านเติบโต 32%yoy

มาตรการแก้ไขคือ.... หนี้บ้าน 1.99แสนล้านบาทเติบโต 18%yoy มาตรการแก้ไขคือมีการเร่งปรับโครงสร้างหนี้มากเช่น การไปยืดหนี้ออกให้ยอดผ่อนสอดคล้องกับรายรับ ตามมาด้วย PLoan 2.6แสนล้านบาทเติบโต 12%yoy

ขณะที่หนี้บัตรเครดิตเติบโต 14.6%yoy อย่างที่เล่าไปวันก่อน 
ในส่วนของหนี้กำลังจะเสีย, หนี้ SM ในไตรมาสที่ 1/2567 หนี้บ้านเป็นพระเอกครับ 1.86แสนล้านบาทเติบโต 15%yoyหนี้รถยนต์ 2.04แสนล้านบาทเติบโตแผ่วลงไปที่ 7%yoy

แต่ที่กำลังมาแรงคือหนี้บัตรเครดิต เพราะมีการเติบโต 32.4%yoy พร้อมกับมาตรการเพิ่ม %การชำระหนี้ขั้นต่ำจาก 5%มาเป็น 8% อย่างที่สื่อนำไปวิพากษ์วิจารณ์กัน(ผมไม่ได้บอกว่าดีไม่ดีนะครับ หรือมีสาเหตุมาจากมาตรการนี้นะครับอย่ามาหาเรื่อง ไปเคลียร์กับสื่อที่เขาวิเคราะห์นะครับว่าเพราะอะไร ไม่ต้องไปบอกใครคนนั้นให้มาบอกผมว่าไม่สบายใจในการให้ข้อมูลของผมนะครับ มันคนละเรื่อง)

‘เครดิตบูโร’เปิด ไตรมาสแรก หนี้เสียทะลัก 1.09ล้านล. ‘รถยนต์-บ้าน’ หนี้พุ่ง

ในภาพรวมการเติบโตของ SM ก็คือ 7.3% yoy ถือว่าไม่แรงมากแบบเทกระจาดหรือเขื่อนแตก 
  

 7.เป็นต้นไปถึง 10.ก็เป็นสิ่งที่วิทยากรจากธปท.นำเสนอในงานบรรยายของสมาคมนักวางแผนทางการเงินไทย ที่อนุญาตในห้องประชุมให้นำมาเผยแพร่ได้ ผมเห็นว่าดีและน่าสนใจครับว่า ในเชิงนโยบายของผู้กำกับดูแลสถาบันการเงินในระบบส่วนใหญ่กำลังคิดอยู กำลังทำอยู่ และกำลังทำต่อ ท่านได้นำเสนออะไร ท่านมีคำแนะนำต่อลูกหนี้ที่กำลังประสบปัญหาอย่างไร ท่านกำลังทำอะไร แค่ไหนกับเจ้าหนี้ ช่องทางที่ควรจะไปของลูกหนี้คือตรงไหน    

ในโอกาสหน้าท่านคงจะมีโอกาสมาให้ข้อมูลว่า ผลลัพธ์, ผลผลิต ของนโยบาย มาตรการนั้น ได้ก่อดอกออกผลมาเป็นไปตามเป้าประสงค์หรือไม่

เช่น หนี้เสียบัตรเครดิตยอดณ มีนาคม 2567 จำนวน 1.029ล้านสัญญานั้น ชวนเข้าคลีนิคแก้หนี้ได้กี่สัญญา หนี้เสีย PLoan จำนวน 5ล้านสัญญา สามารถเข้าคลีนิคแก้หนี้ได้จริงๆกี่สัญญา ทำตารางง่ายๆก็ได้ครับ เป้าหมายกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็พอ ชาวบ้านน่าจะอ่านเป็น อย่าเสียเวลาทำกราฟิกสวยๆเลย

ข้อมูลไตรมาส 1/2567 ในภาพใหญ่ ก็เป็นไปตามข้างต้นครับ ผมไม่ได้รู้สึกดีใจที่มาแจ้งข่าวร้ายหรือแจ้งปัญหานะครับ แต่นี่คือข้อมูล ข้อมูลไม่เคยหลอกใคร ยกเว้นเราหลอกตัวเองด้วยการอ่านข้อมูลแบบอยากให้เป็นอย่างใจเราคิด ที่นำเสนอก็เพื่อให้นำไปคิดให้เกิดผลเพราะเราๆท่านๆล้วนกินเงินเดือนมาแก้ไขปัญหาอ่ะครับ ต่างคนต่างมีหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย