3 ปัจจัยที่เราจับตาในไตรมาส 4/65 น่าจะค่อยๆ ยืนยันมุมมองบวกช่วงต่อไป

3 ปัจจัยที่เราจับตาในไตรมาส 4/65 น่าจะค่อยๆ ยืนยันมุมมองบวกช่วงต่อไป

การใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวจะเริ่มชะลอ และธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจเริ่มตรึงดอกเบี้ย ธนาคารกลางแคนาดาขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% (น้อยกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ 0.75%) ถือเป็นธนาคารกลางแห่งที่ 2 ถัดจากออสเตรเลียที่เริ่มขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ชะลอตัวลง

ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะประชุมวันนี้ ซึ่งเมื่อเราประเมินแนวโน้มการดำเนินงานของธนาคารกลางต่างๆที่น่าจะเริ่มลดระดับการขึ้นดอกเบี้ย ร่วมกับความเสี่ยงของระบบการเงินโลกที่มีความเปราะบางในตลาดพันธบัตรและกองทุนบำเหน็จบำนาญ เราประเมินธนาคารกลางสหรัฐฯ มีโอกาสตรึงดอกเบี้ย (pause rate) หลังการประชุม 1-2 ครั้งหน้า

 

การเกิดเศรษฐกิจถดถอย (recession) ไม่เท่ากับวิกฤติ (crisis) ไม่ใช่การเกิดเศรษฐกิจถดถอยทุกครั้งจะเกิดวิกฤติเสมอไป การเกิดเศรษฐกิจถดถอยคือการเติบโตรายปีที่ติดลบ หรือติดลบ 2 ไตรมาสต่อเนื่อง การเกิดเศรษฐกิจถดถอยในรอบนี้ อาจเกิดหนักในยุโรป จากผลของราคาพลังงานและจุดยืนยุโรปที่ต้องการพิสูจน์ความสามารถในการผ่านหน้าหนาวเพื่อพ้นจากการข่มขู่ของรัสเซีย ขณะที่สหรัฐฯ การเติบโตทางเศรษฐกิจอาจได้รับผลจากการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอเงินเฟ้อ ซึ่งการถดถอยในรอบนี้เป็นสิ่งที่นักลงทุนสามารถประเมินได้ และสามารถลดความเสี่ยงของเงินลงทุนได้ ไม่ได้มีสถานการณ์ของการขาดแคลนสภาพคล่อง (liquidity crunch) ที่อาจนำไปสู่การเกิดวิกฤติ เช่นที่เกิดวิกฤติซับไพรม์ในปี ค.ศ. 2007-2009 หรือ วิกฤติโควิด ค.ศ.2020 ดังนั้นภาพของการลงทุนของอาเซียนและไทยที่อยู่นอกขอบเขตผลกระทบทางตรงจึงมีความน่ากังวลน้อยกว่ามาก
 

 

 

ดัชนีค่าเงินสหรัฐฯ เป็นตัวบ่งชี้ภาวะผ่อนคลายต่อความเสี่ยงที่ดีที่สุด เราศึกษาการเกิดเศรษฐกิจถดถอยของสหรัฐฯ ในช่วง ค.ศ. 1990, 2001 และ 2007-2009 พบว่าดัชนีค่าเงินสหรัฐฯ (Dollar Index) เป็นตัวบ่งชี้ภาวะผ่อนคลายต่อการลงทุนที่ดีที่สุด โดยค่าเงินสหรัฐฯ สามารถแข็งค่ามากสุดได้ทั้งก่อนและหลังวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ย หรือแม้แต่กระทั่งแข็งค่าสุดในระหว่างเกิดเศรษฐกิจถดถอย เราจึงแนะนำนักลงทุนติดตามดัชนีค่าเงินสหรัฐฯ และศึกษารูปแบบการเกิดวิกฤติดอทคอมในปี ค.ศ. 2001 ซึ่งเราประเมินว่าตลาดหุ้นไทยรอบนี้จะมีโอกาสเคลื่อนไหวได้ดีกว่าหุ้นสหรัฐฯ คล้ายคลึงกับที่เคยเกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว

ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มท่องเที่ยว AOT, CENTEL, ERW, MINT, BAFS, AAV, SHR, VRANDA, SPA 2) กลุ่มเปิดเมือง CPALL, MAKRO, MAJOR, MBK 3) มาตรการสนับสนุน EV ได้แก่ EA, GPSC, PIMO  4) กลุ่มไฟฟ้าแผน PDP ใหม่ บวกกับ EGCO, RATCH, GULF, GUNKUL, SSP 5) เก็งกำไรทางเทคนิค CRC, RATCH, SC, TH, TLI, BAM, EA, CK, MBK, SAMART, ARIN, MC, TKN, SCGP, KISS, TC, KAMART, FLOYD, PROS, TVDH 

ภาพรวมกลยุทธ์: คาดเห็นการเก็งกำไรรายตัว ขณะที่ภาพรวม SET Index อยู่ระหว่างสร้างฐานเพื่อผ่าน โซนแนวต้าน 1,590-1,620 จุด กลยุทธ์ในภาพใหญ่ไม่เปลี่ยน คือ รอเลือกซื้อกลุ่มหุ้นเปิดเมือง ระยะสั้นกลุ่มที่ลงเยอะ (อาทิ ไฟแนนซ์ อสังหาริมทรัพย์) มีโอกาสเป็นเป้าหมายเก็งกำไร ส่วนกลุ่มพลังงานสามารถเก็ง PTTEP ตามแนวรับ ส่วนหุ้นโรงกลั่นกำไรไตรมาส 3 ชะลอหนัก เก็งกำไรระมัดระวัง (ถ้าจะเลือก ชอบ SPRC) //หุ้นแนะนำ: GUNKUL*, ASW*, VRANDA*. TVDH*

แนวรับ: 1,579-1,592 / แนวต้าน : 1,612 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
 

 

 

ประเด็นการลงทุน

สหรัฐเผยยอดขายบ้านใหม่ลดลง 10.9% – สู่ระดับ 603,000 ยูนิตในเดือนก.ย. จากระดับ 677,000 ยูนิตในเดือนส.ค. นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่ายอดขายบ้านใหม่ดิ่งลง 13.9% ในเดือนก.ย

EIA เผยสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้น - เพิ่มขึ้น 2.6 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าลดลง 800,000 บาร์เรล

ดอกเบี้ยกู้บ้านสหรัฐฯพุ่งทะลุ 7% สูงสุด 21 ปี – อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของสหรัฐพุ่งขึ้นเหนือระดับ 7% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2544

ส่งออก ก.ย.โต 7.8% yoy คาดปีนี้ขยายตัวราว 8% สูงกว่าเป้า – ขณะที่ตลาดคาดว่าจะขยายตัว 4.3.-4.4% ส่งผลให้เดือนก.ย. ขาดดุลการค้า 853.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เทเลนอร์ เรียกร้อง กสทช. ชี้แจงเงื่อนไขควบรวม TRUE-DTAC - บริษัทต้องการได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาผลกระทบที่จะตามมา

JWD อนุมัติควบรวมกิจการ เอสซีจี โลจิสติกส์ - โดยการแลกหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ กับหุ้นสามัญของบริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ แมเนจเม้นท์ จำกัด (SCGL) บริษัทย่อย 98.2% ของบมจ. ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) เข้าด้วยกัน คาดเสร็จภายในไตรมาสที่ 1/66 และบริษัทฯ จะเปลี่ยนชื่อเป็น บมจ. เอสซีจีเจดับเบิ้ลยูดีโลจิสติกส์ (SCGJWD)

JKN เข้าถือครองธุรกิจองค์กรนางงามจักรวาล จากไอเอ็มจี - โดยใช้จุดแข็งของแบรนด์ MISS UNIVERSE ต่อยอดด้วยการเปิดตัว MU Lifestyle ซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจเฉพาะเพื่อการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าลิขสิทธิ์ภายใต้องค์กรนางงามจักรวาล

KLINIQ เคาะราคา IPO ที่ 24.50 บ./หุ้น - เปิดจอง 28 ต.ค. โดย บมจ.เดอะคลีนิกค์ คลินิกเวชกรรม (KLINIQ) เป็นผู้ให้บริการตรวจรักษาด้านผิวหนัง ความงาม รักษาผิวพรรณ และดูแลเรือนร่าง รวมถึงการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีความเกี่ยวข้อง

 

ประเด็นติดตาม: 27 ต.ค. - ECB Interest Rate Decision, US GDP Q3 / 28 ต.ค. – US Core PCE Price Index, US Pending Home Sales / 31 ต.ค. – EU CPI / 1 พ.ย. – US ISM Manufacturing PMI, US JOLTs Job Openings / 2 พ.ย. - Fed Interest Rate Decision / 3 พ.ย. – US ISM Non-Manufacturing PMI

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)