วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (3 ก.พ. 66)

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (3 ก.พ. 66)

ราคาน้ำมันดิบปรับลด หลังตัวเลขภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ ปรับลด ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับราคา

- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสและเบรนท์ปรับตัวลดลง หลังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขคำสั่งซื้อเครื่องจักรอุตสาหกรรมในประเทศประจำเดือนธ.ค. ปรับลดลง แสดงถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจจากสภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงสูงสุดในรอบ 40 ปี โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะส่งผลเสียต่อความต้องการใช้เชื้อเพลิง อย่างไรก็ดีตัวเลขคำสั่งซื้อสินค้าใหม่จากโรงงานผลิตในสหรัฐฯ ที่หดตัวลงในเดือนพ.ย. กลับมาเพิ่มสูงขึ้นกว่า 1.9% ในเดือนธ.ค.

- ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือน แม้ว่าในการประชุมเมื่อ 1 ก.พ. ที่ผ่านมาหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) จะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25% ก็ตาม ส่งผลให้สัญญาน้ำมันดิบที่ซื้อขายกันในเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ มีราคาแพงขึ้นสำหรับนักลงทุนที่ถือเงินสกุลอื่น

+ การประชุมในวันพุธที่ 1 ก.พ. ที่ผ่านมา กลุ่ม OPEC+ มีมติให้คงแผนการผลิตเดิมที่ใช้มาตั้งเดือนเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการปรับลดกำลังการผลิตลงกว่า 2 ล้านบาร์เรลต่อวันไปจนถึงสิ้นปี 2566 แม้ว่าจะแนวโน้มอุปสงค์จะเพิ่มขึ้นจากจีนหลังการเปิดประเทศก็ตาม ส่งผลให้อุปทานในตลาดมีแนวโน้มตึงตัว
 

 

 

 

ราคาน้ำมันเบนซิน

ราคาน้ำมันเบนซินปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสิงคโปร์สิ้นสุด ณ วันที่ 1 ก.พ. ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน อย่างไรก็ดีการส่งออกน้ำมันเบนซินจากจีนมีแนวโน้มลดลง จากอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น

 

ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซลปรับลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังสิงคโปร์สิ้นสุด ณ วันที่ 1 ก.พ. ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 1 ปี สู่ระดับ 9.115 ล้านบาร์เรล
 

 

 

วิเคราะห์สถานการณ์ราคาน้ำมัน (3 ก.พ. 66)