Bank Sector ธนาคารแบบไร้สาขา (Virtual bank) ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป

Bank Sector ธนาคารแบบไร้สาขา (Virtual bank) ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดเกณฑ์เบื้องต้นสำหรับการออกใบอนุญาต virtual bank ได้แก่

      i) จะมีการออกใบอนุญาต virtual bank 3 ใบ เพื่อเปิดโอกาสให้ธนาคารแบบดั้งเดิม (traditional) และผู้เชี่ยวชาญด้าน fintech ยื่นยื่นขอใบอนุญาต โดยกำหนดว่าต้องมีเงินทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 5 พันล้านบาท และมีเพดานการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติ (foreign limit) ที่ 25%

      ii) Virtual bank จะเปิดดำเนินการเป็นเฟสระยะเวลา 3-5 ปี โดยที่ยังไม่มีเครือข่าย ATM/CDM ซึ่งการเบินถอนจะทำผ่านตัวแทนธนาคาร หรือ ATM pool แต่หลังจาก 3 ปี แล้ว สามารถยื่นขอดำเนินกิจการธนาคารแบบที่ให้บริการครบ (full-function bank) ได้

     iii) Virtual bank จะถูกกำกับดูแลอย่างเข้มข้นมากกว่าธนาคารรูปแบบเดิมในแง่ของระบบ IT ที่พร้อมใช้งานได้ โดยระยะเวลา downtime ต้องไม่มากกว่า 8 ชั่วโมงต่อปี และระยะเวลา recovery time < ชั่วโมง

     iv) Virtual bank ต้องมีแผนธุรกิจ, ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (cyber security), และมีระบบ IT ที่พร้อมใช้งานได้

 

กิจการสื่อสารขนาดใหญ่เป็นกลุ่มนำในธุรกิจ virtual bank ของสิงคโปร์ และมาเลเซีย

ธปท. เปิดเผยว่าการพัฒนา virtual bank ในประเทศไทยจะดำเนินรอยตามกรอบของ virtual bank ที่ผ่านการอนุมัติโดยธนาคารกลางของมาเลเซีย และสิงคโปร์ โดยในประเทศสิงคโปร์ ธนาคารกลางอนุมัติใบอนุญาต 4 ใบเมื่อปี 2564 โดยมีสองใบที่ดำเนินการแบบ full-function bank แต่อีกสองใบดำเนินการแบบธนาคาร wholesale bank แบบเฉพาะทาง ส่วนในประเทศมาเลเซีย มีการอนุมัติใบอนุญาต virtual bank ไปแล้ว 5 ใบ โดย 3 ใบดำเนินการแบบ full-function และอีก 2 ใบดำเนินการในรูปแบบธนาคารอิสลาม ซึ่งในจำนวนใบอนุญาต virtual bank ที่ผ่านการอนุมัติในสิงคโปร์และมาเลเซียนั้น กิจการ
สื่อสารขนาดใหญ่อย่าง "Singtel และ GRAB" ได้เข้าไปยื่นขอใบอนุญาตทั้งในสิงคโปร์ และมาเลเซีย

 

Virtual bank จะเป็นต้นทุนมากกว่าประโยชน์กับธนาคารแบบดั้งเดิม

เนื่องจาก ธปท. มีเจตนาที่จะเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้าและบริการให้หลากหลายมากขึ้น จึงพอจะอนุมานได้ว่ากิจการที่จะได้ใบอนุญาต virtual bank จะเป็น consortium ของบริษัทสื่อสาร และ ecommerce ที่ได้เปรียบในแง่ของ big data เช่นเดียวกับกิจการที่ได้ใบอนุญาต virtual bank ในมาเลเซีย และสิงคโปร์ ในขณะเดียวกัน เรายังไม่เห็นว่าธนาคารแบบดั้งเดิมจะได้ประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญจากการยื่นขอใบอนุญาต virtual bank

 

AIS & KTB - มีโอกาสจะได้ใบอนุญาต

ในปัจจุบัน GULF, AIS และ KTB สนใจจะยื่นขอใบอนุญาต virtual bank ในขณะที่ TRUE อาจจะเป็นอีกหนึ่งรายที่ยื่นขอใบอนุญาตนี้ด้วย โดย AIS และ KTB ตั้งใจจะตั้ง consortium ร่วมกันเพื่อยื่นขอใบอนุญาตและน่าจะได้ใบอนุญาต เรามองว่า virtual bank จะส่งผลดีต่อ KTB และ AIS ในแง่ของการขยาย และกระจายฐานลูกค้า รวมถึงการแบ่งปัน know how ทางด้าน IT ระหว่าง AIS, KTB และ Accenture (พันธมิตรด้าน IT ของ KTB) ในขณะที่มองว่า virtual bank ไม่น่าจะเป็นประโยชน์กับ KBANK และ SCB เพราะทั้งสองธนาคารมีอัตราการใช้บริการ mobile banking อยู่แล้วถึง >80%

 

 

 

Virtual bank อาจจะไม่ได้ทำให้สภาวะการแข่งขันเปลี่ยนแปลงไปในระยะสั้น

การจะเปิดธุรกิจ virtual bank ตามแบบอย่างในมาเลเซีย และสิงคโปร์ ธปท. จะกำหนดให้ virtual bank มีระยะเวลาทดลองดำเนินการ 3-5 ปี ซึ่งขอบเขตการดำเนินงานในช่วงต้นจะเน้นระบบ IT ที่พร้อมใช้งานได้เป็นหลัก ดังนั้น เราจึงคิดว่า virtual bank ไม่น่าจะทำให้ภูมิทัศน์ทางการแข่งขันของธุรกิจการธนาคารเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญในระยะสั้น นอกจากนี้ จากการศึกษาพัฒนาการของ virtual bank ในประเทศจีน (ผู้นำของโลกในด้านธนาคารดิจิทัล และ e-commerce) พบว่าสามารถจับตลาดสินเชื่อ SME ได้ประมาณ 7% และสินเชื่อผู้บริโภคปลอดหลักประกันได้ 5% ในขณะเดียวดันที่ประเทศเกาหลี สินค้าและบริการแบบ virtual ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการออกสินค้าและบริการใหม่ทางด้าน wealth management ที่ธนาคารแบบดั้งเดิม

 

Risks

NPLs เพิ่มขึ้น และตั้งสำรองเพิ่มขึ้น, อัตราการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมลดลงมาก, ความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ของทางการ