Bank Sector ประมาณการ 3Q65F: โตในแบบทีต่างกันในแต่ละธนาคาร

Bank Sector ประมาณการ 3Q65F: โตในแบบทีต่างกันในแต่ละธนาคาร

คาดว่ากำไรใน 3Q65 จะทรงตัว QoQ แต่เพิ่มขึ้น 25% YoY และเพิ่มขึ้น 19% ในงวด 9M65F

โดยกำไรที่เติบโต YoY เป็นผลมาจากค่าใช้จ่ายหนี้เสียลดลง ในรายธนาคารเราคาดว่ากำไรของ BBL จะโตแรงที่สุด QoQ จากการที่ NII ฟื้นตัวตามยอดสินเชื่อที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และรายได้ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น ถัดมาเป็น KTB เนื่องจากฐานคชจ.สำรองฯหนี้เสีย (credit cost) สูงในปี 2564 และคชจ.ดำเนินงานลด ส่วนกำไรในธนาคารอื่น ๆ ยังเพิ่มขึ้นในระดับเดิม ส่วนงวด 9M65F กำไรของ KTB ยังคงโตแรงสุด รองลงมาคือ KKP

 

ค่าใช้จ่ายหนี้เสีย (Credit cost) จะทรงตัว QoQ แต่ลดลง YoY

ทุกธนาคารลด credit cost ลง โดยเฉพาะ KTB BBL TISCO และ KKP โดย credit cost ที่ลดลงประมาณ 0.23% YoY ทั้งนี้ credit cost ที่ลดลงของ BBL และ KTB สะท้อนถึงคุณภาพสินทรัพย์ที่แข็งแรง และสัดส่วน NPL coverage ที่สูงขึ้นเพราะโครงสร้างสินเชื่อค่อนไปทางสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อภาครัฐ (โดยเฉพาะในส่วนของ KTB) ในขณะเดียวกัน ธนาคารต่าง ๆ ยังทำการ writing-off หนี้เสียอย่างหนักใน 2Q65 (KBANK ประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท และ SCB ประมาณ 3-4 พันล้านบาท) อย่างไรก็ตาม เราใช้สมมติฐานว่า KBANK และ SCB จะชะลอการตัดหนี้สูญ(write-off)และ คง credit cost เอาไว้ที่ระดับเดิมในไตรมาสนี้

 

 

 

แต่ละธนาคารขยับตัวแตกต่างกันไปในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ดอกเบี้ยขาขึ้น

โดยเราเห็นสัญญาการเติบโตสินเชื่อในอัตราเร่งใน BBL (ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อธุรกิจ) ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโตของสินเชื่อที่ประมาณ +4-5% QoQ และ +19% YoY ส่งผลให้ NII เติบโตอย่างแข็งแกร่งใน 3Q65 ส่วน KTB ขยายสินเชื่อธุรกิจเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยชดเชยสินเชื่อภาครัฐที่ลดลง ในขณะที่ KBANK เปลี่ยนท่าทีมาเป็นอนุรักษ์นิยมมากขึ้นด้วยการปล่อยกู้ในตลาดเงินเพิ่มขึ้น ในขณะที่ SCB เพิ่มการลงทุนในตราสารหนี้ขึ้นอย่างมาก ดังนั้น NIM ของ BBL และ KTB จึงสูงขึ้น แต่ของ KBANK SCB และ TTB แทบไม่เปลี่ยนแปลงใน 3Q65F

 

TISCO และ KKP ขยับตัวด้วยระดมเงินฝากก่อนดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้น

ทั้ง KKP และ TISCO เร่งเพิ่มฐานเงินฝากในเดือนสิงหาคม 2565 ซึ่งเป็นขยับตัวก่อนที่จะมีการขึ้นดอกเบี้ยของธปท. เพื่อเป็นการตุนเงินฝากต้นทุนต่ำเข้ามา โดยฐานเงินฝากของ KKP เพิ่มขึ้น 5% MoM ในเดือนสิงหาคม 2565 และ เพิ่มขึ้น 17% YTD ในขณะที่ของ TISCO เพิ่มขึ้น 4.5% MoM และ 6%YTD ทั้งสองธนาคารนำฐานเงินฝากใหม่นี้ไปปล่อยสินเชื่อเพิ่ม แทนที่จะปล่อยกู้ในตลาดเงินซึ่งให้ยีลด์ต่ำเพื่อบริหารจัดการมาร์จิ้น เมื่อพิจารณาเป็นรายธนาคาร TISCO มีสินเชื่อดอกเบี้ยคงที่ในกลุ่ม H/P อยู่ 54% (หรือ 71% ถ้ารวมสินเชื่อจดจำนอง และสินเชื่อจำนำทะเบียนด้วย) ในขณะที่ KKP มี 50% (หรือ
61% ถ้ารวมสินเชื่อจดจำนองด้วย)

 

Risk:

NPL เกิดใหม่เพิ่มขึ้นทำให้ credit cost พิ่มขึ้น