ชู ฟื้นฟูดิน เปิดทางสร้างอาชีพ ในวันทะเลทรายและภัยแล้งโลก 68

ชู ฟื้นฟูดิน เปิดทางสร้างอาชีพ ในวันทะเลทรายและภัยแล้งโลก  68

กรมพัฒนาที่ดิน ผลักดันแนวคิด ฟื้นฟูผืนดิน เปิดโอกาส สร้างอาชีพ ในวันที่ 17 มิ.ย. วันทะเลทรายและภัยแล้งโลก สร้างความตระหนักรู้หวั่นกระทบกับความมั่นทางด้านอาหาร

กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหน่วยงานผู้ประสานงานระดับชาติของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย (UNCCD) เตรียมจัดกิจกรรมเนื่องใน วันทะเลทรายและภัยแล้งโลก ประจำปี 2568(Desertification & Drought Day 2025) ในวันที่ 17 มิถุนายน 2568 ภายใต้แนวคิด “Restore the Land. Unlock the Opportunities.: ฟื้นฟูผืนดิน เปิดโอกาส สร้างอาชีพ”ณ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิช คอนเวนชั่น โฮเทล จังหวัดนนทบุรี 

 เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร เยาวชน และประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับผลกระทบจากความเสื่อมโทรมของที่ดิน ภัยแล้ง และการแปรสภาพของที่ดินเป็นทะเลทราย 

ชู ฟื้นฟูดิน เปิดทางสร้างอาชีพ ในวันทะเลทรายและภัยแล้งโลก  68

ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเชื่อมโยงถึงความมั่นคงด้านอาหาร น้ำ เศรษฐกิจ และ การย้ายถิ่นฐาน โดยในปีนี้ วันทะเลทรายและภัยแล้งโลก (Desertification & Drought Day) มีเป้าหมายหลัก ในการเร่งดำเนินการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมของโลกกว่า 1.5 พันล้านเฮกตาร์ และกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการฟื้นฟูที่ดินมูลค่ากว่าล้านล้านดอลลาร์ กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย ปาฐกถาพิเศษ การบรรยาย และการเสวนาวิชาการในหัวข้อ “ที่ดินเชื่อมโยงกับโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างไร” ซึ่งจะเปิดเวทีแลกเปลี่ยนแนวคิดจากผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูที่ดินและเศรษฐกิจฐานราก 

ด้วยในปัจจุบันความเสื่อมโทรมของที่ดินและภัยแล้งมีผลกระทบเป็นอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจ เสถียรภาพการผลิตอาหาร น้ำ และคุณภาพชีวิต “การฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมของโลก 938 ล้านไร่ สามารถเพิ่มความมั่นคงทางอาหารให้กับประชากรโลกถึง 200 ล้านคน สามารถสร้างงานสร้างอาชีพใหม่ได้ 60 ล้านตำแหน่งทั่วโลกได้ภายในปี 2573 เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรได้มากถึง 25-50 % นอกจากนั้นยังสามารถกักเก็บคาร์บอนได้ 3 พันล้านตันต่อปี

ชู ฟื้นฟูดิน เปิดทางสร้างอาชีพ ในวันทะเลทรายและภัยแล้งโลก  68 ชู ฟื้นฟูดิน เปิดทางสร้างอาชีพ ในวันทะเลทรายและภัยแล้งโลก  68

 

ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่เราจะร่วมมือกันเพื่อพลิกฟื้นแผ่นดินและขจัดความเสื่อมโทรมของที่ดินทั่วโลกให้หมดไป การมีส่วนร่วมของคนรุ่นปัจจุบันและอนาคต จึงเป็นสิ่งสำคัญในการหยุดยั้งและฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของที่ดินที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลก เพื่อตอบสนองตามพันธกรณีของโลก

เนื่องจากในทุกวินาทีบนโลกนี้พื้นที่ขนาด 4 สนามฟุตบอลกำลังเสื่อมโทรมซึ่งมีค่าเท่ากับ 1,500 ล้านเฮกตาร์หรือ 9,375 ล้านไร่ ในทุกปี โดยประเทศไทยมีพื้นที่เสื่อมโทรม จำนวน 67 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 21 จากพื้นที่ของประเทศ 320 ล้านไร่ กรมพัฒนาที่ดินได้บริหารจัดการพื้นที่ตามแนวคิดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (Land Degradation Neutrality: LDN)

โดยมีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานฟื้นฟูผืนดิน ด้วยการจัดทำข้อมูลดิน วางแผนการใช้ที่ดิน การให้บริการวิเคราะห์ดิน ปรับปรุงบำรุงดิน ฟื้นฟูที่ดิน บริหารจัดการดินและที่ดินด้วยระบบอนุรักษ์ดินและน้ำโดยวิธีกลและวิธีพืช การพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของที่ดิน บรรเทาและลดผลกระทบจากภัยแล้งและภัยพิบัติทางการเกษตร

ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ให้กับเกษตรกร หมอดินอาสา และประชาชนทั่วไป เพื่อช่วยพัฒนาที่ดิน รักษาทรัพยากรดินให้เกิดความยั่งยืน สร้างโอกาสให้เกษตรกรสามารถใช้ที่ดินได้อย่างเหมาะสม ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพให้กับชุมชน ท้องถิ่น มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ

ชู ฟื้นฟูดิน เปิดทางสร้างอาชีพ ในวันทะเลทรายและภัยแล้งโลก  68

อีกทั้งสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการแปรสภาพเป็นทะเลทราย เพื่อลดความเสื่อมโทรมของที่ดิน รักษาสมดุลของทรัพยากรที่ดินและระบบนิเวศ สนับสนุนการขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ในเป้าหมาย SDG ที่ 15 ภายในปี 2573

กรมพัฒนาที่ดิน มุ่งหวังให้กิจกรรมนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเสริมสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อร่วมสร้างความตระหนัก ถึงการฟื้นฟูที่ดินและรักษาทรัพยากรดิน การสร้างโอกาสให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการดูแลรักษาที่ดินอย่างยั่งยืน ต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย สร้างโอกาสในการใช้ประโยชน์ที่ดินสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เสริมสร้างและพัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนต่อไป