‘เสียง’ ในระบบนิเวศกำลังหายไป โลกสูญเสีย 'ความหลากหลายทางชีวภาพ'

‘เสียง’ ในระบบนิเวศกำลังหายไป โลกสูญเสีย 'ความหลากหลายทางชีวภาพ'

นักนิเวศวิทยา กล่าวว่า “เสียง” ในระบบนิเวศกำลังหายไป และเงียบสงัดลงอย่างรวดเร็ว สะท้อนให้เห็นว่าโลกของเรากำลังสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ กำลังจะเข้าสู่ยุค “ฟอสซิลทางเสียง”

ระบบนิเวศ” ต่างมี “เสียง” ที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไป ทั้งในป่า ดิน และมหาสมุทร โดยนักวิทยาศาสตร์สามารถใช้ เสียงในธรรมชาติวัดสุขภาพ และความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศได้ ยิ่งมีเสียงปริมาณมากเท่าไร แสดงว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความหลากหลายมากเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน “ความเงียบ” กำลังเข้าปกคลุมหลายพื้นที่ทั่วโลก 

ความหนาแน่น และความหลากหลายของเสียงที่คุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นเสียงนกร้องยามเช้า เสียงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเดินผ่านพงหญ้า และเสียงร้องระงมของแมลงในฤดูร้อน กำลังจางหายไปจากธรรมชาติ

 

 “เสียง” ในระบบนิเวศกำลังหายไป

ทุกชีวิตในธรรมชาติกำลังปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของโลก แต่อย่างก็ปรับตัวไม่ได้พ่ายแพ้ให้กับการเปลี่ยนแปลง จนเกิด “ความเงียบที่อันตราย” ศาสตราจารย์สตีฟ ซิมป์สัน จากมหาวิทยาลัยบริสตอล กล่าวว่า “นี่เป็นการแข่งขันกับเวลา ในขณะที่เราเพิ่งค้นพบว่ามันมีเสียงอย่างไร เสียงเหล่านั้นก็กำลังหายไปเช่นกัน”

ขณะที่ บอร์นี เคราส์ นักบันทึกทัศนียภาพของเสียง ผู้เดินทางบันทึกเสียงมากกว่า 5,000 ชั่วโมงจาก 7 ทวีป เขาประเมินว่า แหล่งกำเนิดเสียงราว 70% ที่เขาเคยบันทึกได้ตลอด 55 ปีที่ผ่านมา ได้หายไปแล้วในปัจจุบัน พวกมันกลายเป็น “ฟอสซิลทางเสียง”

“การเปลี่ยนแปลงนั้นลึกซึ้งมาก และมันเกิดขึ้นทุกที่ เสียงที่ถูกบันทึกไว้ในอดีตถือเป็นตัวแทนเสียงของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อาจไม่ได้อยู่ที่นี่อีกต่อไป และสถานที่หลายแหล่งที่เราไปบันทึกเสียงมาก็ไม่มีอยู่แล้ว โดยที่เราไม่ทันรู้ด้วยซ้ำว่ามันเป็นเสียงของอะไร เรามีหลักฐานอยู่เพียงเท่านี้ เสียงเหล่านี้จึงเป็นเหมือนกับฟอสซิลทางเสียง ที่หาไม่ได้อีกแล้ว” เคราส์  กล่าว

ปัจจุบันมีการศึกษาจำนวนมากพบว่าทัศนียภาพของเสียง” ในธรรมชาติถูกรบกวน เกิดเปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนหายไป การศึกษาในปี 2021 ในวารสาร Nature ที่ทำการศึกษาเสียงในพื้นที่ 200,000 แห่งทั่วอเมริกาเหนือ และยุโรป พบว่าในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา ทั้งสองทวีปได้สูญเสียความหลากหลายทางเสียง และความเข้มของภาพเสียง ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิต ทั้งในแง่จำนวนสายพันธุ์ และจำนวนสิ่งมีชีวิต

“แม้ว่ามนุษย์จะสร้างเสียงดังแค่ไหน ก็ไม่สามารถกลบความเงียบงันของธรรมชาติที่กำลังแผ่ขยายไปทั่วโลกได้”
เคราส์เขียนบรรยายเอาไว้ในหนังสือ The Great Animal Orchestra

วิกฤติสภาพภูมิอากาศ” อาจเป็นตัวการที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างเสียงธรรมชาติในโลก เคราส์เปรียบโลกเป็นคอนเสิร์ตฮอลล์ ซึ่งถ้าระดับความร้อน และความชื้นในฮอลล์เปลี่ยนไป ความสามารถในการแสดงดนตรีของสิ่งต่างๆ ในโลกก็จะเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน

“สิ่งเดียวกันนี้เกิดขึ้นกับวงออร์เคสตราของโลก สภาพบรรยากาศใหม่กำลังขัดขวางเสียงธรรมชาติ เราจำเป็นต้องช่วยกันลดภาวะโลกร้อน ถึงจะช่วยรักษาท่วงทำนองแห่งธรรมชาติไว้ได้” เคราส์ อธิบาย

 

 

“ความเงียบ” สัญญาณเตือนที่ดังที่สุด

ในหนังสือ “Silent Spring” ของ เรเชล คาร์สัน นักชีววิทยาทางทะเลและนักอนุรักษ์ ที่ได้ยกย่องว่า เป็นหนังสือด้านสิ่งแวดล้อมที่สำมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง และความเงียบก็จะเริ่มปกคลุมโลกธรรมชาติ 

แน่นอนว่าสิ่งที่ที่คาร์สันได้เตือนไว้ในหนังสือกำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน เห็นได้จากเสียงบันทึกไฟล์เสียงของเคราส์ที่บันทึกเสียงในสวนสาธารณะชูการ์โลฟริดจ์ ที่ออสเตรเลีย ในปี 2003 กับ 2023 แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยในปี 2003 มีเสียงนกนานาชนิดแข่งกันร้องเซ็งแซ่ พร้อมด้วยเสียงน้ำในลำธารไหล แต่ไฟล์เสียงปี 2023 แทบจะไม่มีเสียงอะไรเลย ไม่มีเสียงนกร้อง ไม่มีเสียงน้ำไหล มีเพียงเสียงนกพิราบร้องอยู่ไกลๆ เท่านั้น 

นกหลายตัวที่เคราส์บันทึกได้ในปี 2003 ส่วนใหญ่เป็นนกอพยพ เช่น นกกระจิ๊ด นกพง และนกกระจ้อย ซึ่งมีจำนวนลดลงอย่างมาก ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความแห้งแล้ง การเปลี่ยนพื้นที่ป่าให้เป็นพื้นที่เมือง และพื้นที่เกษตรกรรม อีกทั้งมีชนิดพันธุ์รุกรานเข้ามาทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของพวกมัน จนทำให้นกเหล่านี้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น

การเปลี่ยนแปลงของเสียงในระบบนิเวศเกิดขึ้นทุกที่ ทั้งในอากาศ ป่าไม้ ดิน และแม้กระทั่งใต้น้ำ ในช่วงสงครามเย็น กองทัพเรือสหรัฐใช้ระบบเฝ้าระวังใต้น้ำเพื่อติดตามเรือดำน้ำโซเวียต พบว่าในเมื่อเข้าใกล้ตามแนวปะการังจะได้ยินเสียงดังผสมปนเปกัน ซึ่งพวกเขาเพิ่งจะมารู้ภายหลังว่า ปะการังที่สมบูรณ์แข็งแรงจะส่งเสียงออกมา ราวกับมีงานคาร์นิวัล

แต่ในปี 2015-2016 ช่วงที่เกิดเหตุการณ์การฟอกขาวครั้งใหญ่ ซึ่งส่งผลให้ปะการังเสียกว่า 80% ตายลง ทำให้ปัจจุบันแทบไม่เหลือเสียงดังตามแนวปะการังอีกแล้ว เหลือเพียงแต่ความเงียบกลับมา ซึ่งถ้าหากอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียส แนวปะการังมากกว่า 99% จะเริ่มตาย และจะไม่เหลือเสียงอะไรออกมาอีกเลย

ฮิลเดการ์ด เวสเตอร์แคมป์ นักนิเวศวิทยาด้านเสียง ผู้บันทึกทัศนียภาพของเสียงมาเป็นเวลาครึ่งศตวรรษ กล่าวว่า นับตั้งแต่ที่เธออัดเสียงมาจนถึงปัจจุบัน จำนวนสัตว์ป่าลดลงโดยเฉลี่ยเกือบ 70% เวสเตอร์แคมป์เริ่มทำงานกับโครงการ World Soundscape ในปี 1973 โดยมีจุดประสงค์เพื่อบันทึกระบบนิเวศที่หายไป ซึ่งเธอพยายามอัดเสียงทุกสิ่งในธรรมชาติ แม้ว่าเสียงเหล่านั้นจะน่าอึดอัดแค่ไหนก็ตาม

“การฟังเสียงเหล่านี้อาจทำให้ไม่สบาย แต่มันช่วยให้เรารู้ว่าความเป็นจริงที่เรากำลังเผชิญอยู่มันเป็นเช่นไร” เวสเตอร์แคมป์ กล่าว

 

ที่มา: The Guardian 1The Guardian 2

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์