CAL Forum #3 สานต่อภารกิจ ลุยแก้กฎหมายสู่เป้า 'ลดโลกร้อน'

CAL Forum #3 สานต่อภารกิจ ลุยแก้กฎหมายสู่เป้า 'ลดโลกร้อน'

เวที CAL Forum รุ่น 3 สู่เป้าหมายลดโลกร้อนพิชิต "Net Zero" สานต่อภารกิจรุ่นสู่รุ่น เร่งกระบวนการปรับแก้กฎหมายช่วยโลกให้ดีขึ้น ลดสัดส่วนฟอสซิล เพิ่มพลังงานสะอาด เดินหน้านโยบายสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ภายใต้ราคาที่เป็นธรรม ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม

"องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. (TGO) โดยสถาบันวิทยาการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CAA) จัดเวทีผู้นำ “Climate Action Leaders Forum รุ่น 3” หรือ CAL Forum #3 ครั้งที่ 1 จำนวน 69 ท่าน จากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา สื่อมวลชน และองค์กรอิสระ ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด ประสบการณ์ โดยเฉพาะการเปลี่ยแปลบงสภาพภูมิอากาศ การกีดกันทางการค้า สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน รักษาระดับราคา และดูแลสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวว่า โครงการ CAL Forum เป็นการรวมตัวของผู้นำภาครัฐ เอกชน สื่อมวลชน รวมถึงเอ็นจีโอ ต่าง ๆ ที่มีบริบทและ DNA เดียวกันถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชากรทั่วโลก

"ที่ผ่านมาได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์มาแล้ว 2 รุ่น โดยรุ่นที่ 1 มีผู้เข้าร่วม 49 ท่าน รุ่นที่ 2 มีจำนวน 63 ท่าน ส่วนรุ่นที่ 3 นี้มีจำนวน 69 ท่าน"

CAL Forum #3 สานต่อภารกิจ ลุยแก้กฎหมายสู่เป้า \'ลดโลกร้อน\'

อย่างไรก็ตาม จากการที่ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของโลก หากย้อนกลับไปเวที่ COP 26 ได้เริ่มมีความจริงจังในเรื่องนี้ที่เข้มข้นขึ้น และประเทศไทยก็ได้ปรับเป้าหมาย Carbon Neutrality หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี 2550 และ เป้าหมาย Net zero emissions หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ปี 2065 เพื่อสอดรับกับทั่วโลก

ทั้งนี้ ประเทศไทยจะต้องดำเนินการหลายอย่างทั้งในเรื่องของกฎหมาย กระบวนการ ที่ภาครัฐต้องปรับปรุง กระทรวงพลังงานได้ปรับแผนพลังงานชาติ ซึ่งสิ่งสำคัญคือเรื่องของกฎหมายเมื่อขยับเข้ามาเวที COP 27 มีวิวัฒนาการต่อเนื่อง 

อย่างไรก็ตาม ในช่วงการ CAL Forum#2 มีเรื่องของการเงินการลงทุน และการค้าข้ามพรมแดนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น พอมารุ่นที่ 3 มีการจัดเวที COP 28 ที่ต้องสร้างประสิทธิภาพการใช้พลังานในรูปแบบพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเป็น 3 เท่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นผลลัพธ์ของการประชุมทั่วโลก

CAL Forum #3 สานต่อภารกิจ ลุยแก้กฎหมายสู่เป้า \'ลดโลกร้อน\'

"ไทยได้ตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ที่ต้องช่วยกันทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างร่างกฎหมาย เพื่อจะจะทำอย่างไรให้มีกลไกลดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงการเตรียมสินค้าเพื่อส่งออกในขณะที่มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) เริ่มบังคับใช้ เป็นต้น"

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือ สร้างองค์ความรู้ จึงต้องเริ่มจากผู้นำ ทำให้หลายกิจกรรมที่ทำร่วมกันเริ่มออกดอกออกผลผ่าน CAL Forum ในรุ่นที่ผ่านมา จากข้อเสนอแนะระหว่างรุ่นรวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการของผู้รู้ของแต่ละรุ่น เป็นต้น สิ่งที่อยากเห็นทิศทางกฎหมายที่ดี เพื่อช่วยให้โลกดีขึ้น ถือเป็นความสำเร็จของ อบก.

นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงทิศทางและนโยบายพลังงานว่า ภาคพลังงานถือเป็นตัวใหญ่ที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนโดยที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณสูง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมามีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะด้านไฟฟ้า

โดยสถิติการใช้ไฟฟ้าปี 2566 สูงมากกว่า 2 แสนเมกะวัตต์ อาจเพราะอากาศร้อนโดยเฉพาะช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. มียอดใช้ไฟฟ้า (พีค) ที่ 34,827 เมกะวัตต์ สูงที่สุดในช่วงเวลากลางคืน จากปกติที่พีคอยู่ระดับ 3.3. หมื่นเมกะวัตต์ มากกว่าปี 2565 ถึง 5% ที่ผ่านมาสูงแค่ 2% อาจเพราะมีการขยายเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ภาคอุตสาหกรรมได้มีการผลิตเริ่มกระบวนการผลิตต่อเนื่อง 24 ชม. ผนวกกับการใช้ไฟภาคประชาชนมีจำนวนมากขึ้น จากการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งชาร์จไฟในเวลากลางคืนส่งผลให้ประชาชนทั่วไปใช้ไฟเพิ่มขึ้น 7% ส่วนภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น 8% ส่วนหนึ่งมาจากธุรกิจโรงแรม ที่ภาคท่องเที่ยวมีการเติบโต

อย่างไรก็ตาม จากปัญหาโควิด และโลกร้อน ทำให้เกิดเหตุการต่างๆ มากมาย และมีความขัดแย้งเกิดขึ้นทั้งสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาพลังงานขึ้นสูงมาก ก่อนโควิดราคา LNG นำเข้าอยู่ที่ 10 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู และเมื่อเกิดโควิดราคาลดลงมาเหลือ 2 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู เมื่อคลี่คลายขยับมาที่ 45 ดอลลาร์ต่อล้านบีทียู กระทบต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้า

ทั้งนี้ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยปีละประมาณ 370 ล้านตัน โดย 260 ล้านตัน หรือ 70% มาจากภาคพลังงาน การจะถึงเป้าหมายปี 2550 จะต้องเหลือ 95 ล้านตัน จาก 260 ล้านตัน ถือว่ายังทำได้ยาก จึงต้องใช้วิธีปลูกป่า ใช้วิธีกักเก็บคาร์บอนผ่านเทคโนโลยี CCS มาช่วยลด จึงเป็นโจทย์ที่กระทรวงพลังงานจะต้องทำ

ทั้งนี้ นโยบายพลังงานที่สำคัญโดยรวมมี 3 เรื่อง คือ 1. ความมั่นคง 2. ราคา และ 3 สิ่งแวดล้อม ดังนั้น กระทรวงพลังงานจะเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม ในภาพรวมพลังงานหลีกเลี่ยงไม่ได้ในเรื่องของความมั่นคง ถือเป็นความสำคัญอย่างยิ่ง รวมถึงเรื่องของราคาด้วย ซึ่งจะต้องควบคุมและบริหารจัดการให้สมดุลใน 3 เรื่อง