เปิดตัว CBSquare Application สะสม คาร์บอนเครดิต

เปิดตัว CBSquare  Application สะสม คาร์บอนเครดิต

วิกฤติโลกร้อน โลกเดือดส่งผลกระทบไปทั่วโลก หลายภาคส่วน อาทิ ภาคธุรกิจ องค์กรเอกชน ไปจนถึงวงการอุดมศึกษา ต่างเร่งพัฒนา ส่งเสริมเพื่อสร้าง Model เพื่อสังคมยั่งยืน คาร์บอนเครดิต มาตรการช่วยลดภาวะโลกร้อน เรื่องใกล้ตัวที่ทุก Gen ช่วยโลกให้ดีขึ้นได้

Key Point : 

  • จุฬาฯ เปิดตัว CBSquare แอปพลิเคชั่น ด้านสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้บันทึก คาร์บอนเครดิต เป็นครั้งแรกของประเทศ
  • เป็นการนำเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม มาประยุกต์ใช้บันทึกสะสมคะแนนการลดการใช้คาร์บอน
  • กระตุ้น จูงใจให้คนหันมาทำกิจกรรมที่ลดการใช้คาร์บอน ซึ่งเป็นต้นแบบการบูรณาการร่วมกันระหว่างการศึกษา เกษตรและนวัตกรรม

 

เมื่อความรู้ที่ไม่ได้อยู่แค่ในห้องสี่เหลี่ยมเท่านั้น แต่ความรู้ที่ดีที่สุด คือ การปฏิบัติจริง บทบาทของมหาวิทยาลัยในยุคนี้จึงต้องบูรณาการนำนิสิต นักศึกษาให้ได้มาทำงานปฏิบัติจริงกับชุมชนเกษตรกรจริง โดยอาศัยนวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเชื่อมโยงไปถึงเรื่องคาร์บอนเครดิตเพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืนเป็นตัวอย่างที่ดีในการก้าวออกมาสร้างการเรียนรู้ และเป็น Real Business in the school     

 

เมื่อเร็วๆนี้ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.), กระทรวงพาณิชย์ และสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ เปิดตัว CBSquare ซึ่งเป็น Application ด้านสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้บันทึก คาร์บอนเครดิต เป็นครั้งแรกของประเทศ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CBS) เปิดเผยว่า CBSquare Application เป็นโครงการพัฒนา ‘แผนธุรกิจใหม่’ นำโดยทีมนิสิต บริษัท Chula Business Enterprise จำกัด (CBE) ภายใต้แนวคิดความยั่งยืน Sustainable Business Model ใช้ Technology ด้านสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้บันทึกสะสมคะแนนการลดการใช้คาร์บอน เพื่อกระตุ้น จูงใจให้คนหันมาทำกิจกรรมที่ลดการใช้คาร์บอน ซึ่งเป็นต้นแบบการบูรณาการร่วมกันระหว่างการศึกษา เกษตรและนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม

 

CBSquare ได้เปิดตัวภายในงาน ‘บัญชี แฮปปี้ Farm Fair’ส่งฟาร์มสุขรับปีใหม่แบบยั่งยืน’ ซึ่ง CBS จัดทำขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบในการเชื่อมโยงเกษตรกรและนิสิตในการทำธุรกิจ ในรูปแบบของ The Real Farmer Business in the school โดยเปิดโอกาสให้มีการเชื่อมโยงเกษตรกรท้องถิ่น ที่ต้องการหาช่องทางในการพัฒนาแบรนด์สินค้าของตนเองในอนาคต และพาร์ทเนอร์สำคัญอย่าง Cero มาร่วมต่อยอดแอพลิเคชัน สร้างระบบ Sustainable CRM ที่ทุกการซื้อสินค้าเกษตร และกิจกรรมที่สมาชิกทำเพื่อลดการก่อคาร์บอนในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้ถุงผ้า การเอาแก้วมาเอง สามารถสแกนผ่านแอพเพื่อสะสม CBS Credit   

 

เปิดตัว CBSquare  Application สะสม คาร์บอนเครดิต

 


   

แอปพลิเคชัน CBSquare

เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทุกคนได้เข้าถึงเรื่องคาร์บอนเครดิต ทำให้ เกิดการตระหนักรู้ ผ่านทุกกิจกรรมการใช้จ่ายสินค้าทุกครั้ง ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาให้โลกดีขึ้น เพียงใช้แอปพลิเคชัน CBSquare ทำการสะสม CBS Credit เพื่อรับของต่าง ๆ และแอป CBSquare ยังเป็นเครื่องมือช่วยสร้างพฤติกรรมให้ทุกคนได้ลงมือทำ ได้เกิดการตระหนักรู้ในการลดการเกิดคาร์บอนไม่ว่าจะเป็น ใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก พกแก้วน้ำส่วนตัวมาเอง ฯลฯ”เป็นจุดเริ่มต้นการสร้างการรับรู้ เรื่องคาร์บอนเครดิตผ่านแพลตฟอร์มที่ให้ทุกคนเข้าใจ และเข้าถึงในการช่วยให้โลกดีขึ้นได้ จากทุกการซื้อสินค้า การใช้จ่าย การบริจาคสิ่งของ เรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำวันที่ทุกคนทำได้เลยทันที 

 

Sustainable Business Model

การสร้าง ธุรกิจยั่งยืน ไม่ได้มองมิติเดียวเท่านั้น ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ อธิบายความหมายของความยั่งยืนที่มาจาก 3 ข้อด้วยกัน นั่นคือ 'พอใจ กำไร ยั่งยืน'  พอใจ คือการที่ลูกค้าพอใจในระยะยาว ยอดขายต้องเกิดจากแรงจูงใจที่ชอบคุณภาพ ความไว้วางใจ ความผูกพันที่เป็นระยะยาว เพราะฉะนั้น ความพอใจของลูกค้า จึงทำให้เกิดความยั่งยืน เป็นความผูกพันระยะยาว กำไร เกิดจากความสุขของลูกค้า ความยั่งยืน แม้ว่าเจ้าของธุรกิจไม่อยู่โลกนี้แล้ว แต่ธุรกิจยังอยู่

 

ดังนั้น แบรนด์ต้องอายุยืนกว่าคนสร้างแบรนด์ ธุรกิจต้องอายุยืนกว่าเจ้าของธุรกิจ ไม่มองความยั่งยืนในแง่มิติสิ่งแวดล้อมอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องมองถึงมูลค่า คุณภาพ ลูกค้าชอบ มีประโยชน์เชิงสังคมด้วย การจัดงานเป็น Chula Carbon Neutral Fair จึงยึดหลัก SDGs ตั้งแต่รูปแบบการจัดงานที่เป็นงานกลางแจ้งเพื่อลดการใช้ไฟฟ้าให้น้อยที่สุด และการหา Partnership และพัฒนา Business Model ใหม่ๆ ผ่านการใช้เทคโนโลยีมาช่วยกันต่อยอดสินค้าจากเกษตรกร โดย CBE และชุมชนท้องถิ่น โดยชุมนุม SIFE ให้เกิดการซื้อขาย สร้างโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน

 

ซึ่งสินค้า และของที่ใช้ในงานยังเป็นของที่รีไซเคิลมาจากเศษวัสดุตามแนวคิดของ Circular Economy ทุกกิจกรรมในงานตั้งแต่การรับถุงรีไซเคิล, ซื้อสินค้าเกษตร ชุมชนท้องถิ่น ไปจนถึงการนำแก้วมาเองสามารถเริ่มต้นสะสมเป็น CBS Credit ผ่านแอปฯ CBSquare และขยะที่แยกอย่างเป็นระบบในงานนี้จะถูกส่งต่อไปรีไซเคิลหมุนเวียนใช้ต่อ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อีกด้วย 

 

เปิดตัว CBSquare  Application สะสม คาร์บอนเครดิต

 

จุดเริ่มต้นชุมนุม SIFE    

ชุมนุม SIFE หรือ Students In Free Enterprise คือชุมนุมของนิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เข้าไปร่วมวางแผนธุรกิจกับชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน ผ่านการนำองค์ความรู้ด้านธุรกิจในห้องเรียนและศาสตร์แขนงต่าง ๆ มาประยุกต์และปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนทั่วประเทศไทย ให้เกิดการซื้อขาย สร้างโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน

 

การทำงานมีชุมชนเป็นที่ตั้ง โดยนำปัญหาและความต้องการของชุมชนเป็นกรอบการทำงาน เพราะชุมนุม SIFE เชื่อว่าความยั่งยืนเกิดจากหลักความคิด “เราอยากทำ เขาอยากทำ และเขาจะทำ” สิ่งที่จะลงมือไปพัฒนาชุมชนนั้น ต้องเริ่มจากการที่มีจิตอาสาอยากพัฒนาชุมชนให้มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในขณะเดียวกัน สิ่งที่ไปมอบให้กับชุมชนนั้น ชุมชนเองต้องอยากที่จะทำด้วยเช่นกัน และสำคัญที่สุดลำดับสุดท้าย คือ ชุมชนจะต้องเป็นกำลังสำคัญในการลงมือปปฏิบัติ โดยมีชุมนุม SIFE เป็นที่ปรึกษาทางธุรกิจยั่งยืนอย่างใกล้ชิด ในวันที่ SIFE ก้าวออกมา ชุมชนจะต้องสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน