'ไออาต้า' ชี้ธุรกิจการบินโลกฟื้น แนะแอร์ไลน์ปรับตัวใช้ SAF ลดคาร์บอน

'ไออาต้า' ชี้ธุรกิจการบินโลกฟื้น แนะแอร์ไลน์ปรับตัวใช้ SAF ลดคาร์บอน

"ไออาต้า" ระบุ ธุรกิจการบินทั่วโลกฟื้น อนาคตการเดินทางจะมหาศาล แนะผู้ประกอบการแอร์ไลน์ปรับตัวใช้เทคโนโลยีขับเคลื่อนร่วมมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ชี้ SAF ถือเป็นส่วนหนึ่งเชื้อเพลิงเพื่อความยั่งยืน 

กลุ่มบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดงานสัมมนา Bangchak Group Greenovative Forum ครั้งที่ 13 “Regenerative Fuels: Sustainable Mobility” เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2566 เพื่อนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนเชื้อเพลิงชีวภาพเพื่อลดการปล่อยก๊าซ

นายยงยุทธ ลุจินตานนท์ Area Manager IATA Thailand, Laos, Cambodia and Myanmar กล่าวในเวทีเสวนาหัวข้อ “Pioneering Sustainable Aerospace: พลิกโฉมน่านฟ้า สู่การบินยั่งยืน” ว่า การเดินทางช่วงที่เกิดโควิดในปี 2019 เมื่อเทียบกับปัจจุบันปี 2023 ได้มีการเติบโตถึง 80% แม้จำนวนการเดินทางจะยังไม่กลับมาเท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด

อย่างไรก็ตาม จากการคาดการณ์ว่าตัวเลขการเดินทางจะกลับมาเป็นปกติก่อนช่วงเกิดโควิดจะอยู่ในปี 2025 และหากเทียบสัดส่วนอีก 20 ปีข้างหน้า การเดินทางไปยุโรปจะโตระดับ 700 ล้านคน สหรัฐ 500 ล้านคน ส่วนเอเชีย-แปซิฟิก จะมีจำนวน 2,800 ล้านคน และหากมีการเดินทางมากขึ้น ธุรกิจการบินจะเพิ่มเที่ยวบินอย่างไร และจะผลิตเครื่องบินทันหรือไม่ รวมถึงการบริหารจัดการทางอากาศ

\'ไออาต้า\' ชี้ธุรกิจการบินโลกฟื้น แนะแอร์ไลน์ปรับตัวใช้ SAF ลดคาร์บอน

นอกจากนี้ เมื่อการเดินทางในอนาคตที่เพิ่มมากขึ้น การใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล รวมถึง AI จะมีบทบาทสำคัญ และยิ่งการเดินทางที่เพิ่มขึ้น ความปลอดภัยจึงต้องสำคัญควบคู่กับการคำนึงถึงการปลดปล่อยคาร์บอน การที่กลุ่มบางจาก เป็นผู้นำและเห็นถึงความสำคัญของเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel) หรือ SAF ถือเป็นความมุ่งมั่นที่ดีที่จะช่วยลดคาร์บอนได้ก่อน ในช่วงที่เทคโนโลยีไฮโดรเจน และแบตเตอรี่ยังไม่คอมเมอร์เชียล

ธุรกิจการบินถือว่ามีการปล่อยคาร์บอนปริมาณที่เยอะ การร่วมมือและเห็นความสำคัญของ SAF จะะเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ได้ดีที่สุด รองรับเที่ยวบินในอนาคตที่จะเพิ่มขึ้น ถือว่าเริ่มต้นก่อนก็จะลดคาร์บอนได้ก่อน”

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญของการใช้เชื้อเพลิง SAF คือกฏระเบียบ บทเริ่มต้นของการใช้ต้องเรียนรู้จากหลายที่ให้ส่งเสริมมากขึ้นจะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

1. การทำงานกับภาครัฐทั่วโลก เป็นสิ่งที่ IATA ทำเพื่อความชัดเจนในแต่ละภูมิภาคและแต่ละประเทศ เพื่อให้สายการบินทราบพร้อมร่วมปฎิบัติและร่วมกำหนดสัดส่วนในแต่ละปี อีกทั้ง ผู้ผลิตอย่างกลุ่มบางจาก จะต้องผลิตในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละปีจะต้องมีปริมาณที่เท่าไหร่ รวมถึงการวางโครงสร้างพื้นฐาน

\'ไออาต้า\' ชี้ธุรกิจการบินโลกฟื้น แนะแอร์ไลน์ปรับตัวใช้ SAF ลดคาร์บอน

2. สายการบิน ที่จะต้องสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า โดยอาจมีต้นทุนให้ผู้โดยสารในราคาที่สามารถจ่ายได้ เพราะ SAF ปัจจุบันยังมีต้นทุนสูงกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล 3-5 เท่า เชื่อว่าเมื่อถึงจุดที่มีผู้ผลิตมากขึ้น ซึ่งกลุ่มบางจากสามารถผลิตได้วันละ 1 ล้านลิตร จะมีผู้ประกอบการมากขึ้น มีดีมานด์และซัพพลาย สามารถรับรองด้านคุณภาพและความปลอดภัยได้

3. สายการบินจะต้อง Created Awareness ได้ ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ถ้าลูกค้าไม่ได้เดินทางด้วยสายการบินจะไม่ทราบว่าแต่ละครั้งมีการปลดปล่อยคาร์บอนในปริมาณที่เท่าไหร่ และสายการบินอะไรบ้างที่จะช่วยในเรื่องนี้ ดังนั้น สายการบินอาจจะประชาสัมพันธ์ว่า เมื่อเดินทางกับสายการบินลำนี้จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในปริมาณที่เท่าไหร่ และสิ่งสำคัญคือหวังว่าอนาคตผู้โดยสารจะเริ่มรับรู้และมีปริมาณการใช้ SAF ที่เพียงพอและราคาไม่สูงมาก

"SAF ถือเป็นส่วนหนึ่งเชื้อเพลิงเพื่อความยั่งยืน การเดินทางในอนาคตจะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล เพราะชีวิตคนยิ่งกว่าการเดินทาง ดังนั้น การจะเดินทางอย่างไรให้ลดความวุ่นวาย เทคโนโลยีจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย และลดคาร์บอน ทำให้การเดินทางของทุกคนได้มีความสุข"