กยท. ดึงเอกชน เร่ง Thai RubberTrade รับ กฎEUDR

กยท. ดึงเอกชน เร่ง Thai RubberTrade รับ กฎEUDR

กยท. ผนึก ผู้ประกอบการรายใหญ่วงการยาง ร่วม Thai RubberTrade เดินหน้าตามมาตรการEUDR ตัดปัญหาส่งออก พร้อมยกระดับรายได้ คุณภาพชีวิตเกษตรกร เร่งขึ้นทะเบียนผู้ประกอบกิจการยาง จัดทัพผู้ซื้อ - ผู้ขาย เข้าระบบมาตรฐานการตรวจสอบย้อนกลับRAOT Traceability

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัทผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)เปิดเผยว่า หลังจาก กยท. นำคณะผู้บริหารระดับสูง หารือกับคณะกรรมาธิการยุโรป (EU) เพื่อติดตามความคืบหน้าประเด็นการประกาศเตรียมบังคับใช้กฎหมายEUDRของสหภาพยุโรป กยท. ได้เตรียมพร้อมที่จะดำเนินการตามกฎระเบียบEU Deforestation Free Production Regulation (EUDR)ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรป (EU)ประกาศกฎเกณฑ์การจำหน่ายสินค้า หรือส่งออกจากสหภาพยุโรป ให้มั่นใจว่าแหล่งกำเนิดสินค้า 7 ชนิด รวมถึงยางพาราไม่ได้มาจากพื้นที่ที่มีการทำลายป่าและเป็นสินค้าถูกกฎหมาย

กยท. ดึงเอกชน เร่ง Thai RubberTrade รับ กฎEUDR

โดยทางEUยอมรับว่าไทยเตรียมการได้ดีและสามารถสนับสนุนการดำเนินการตามกฎหมายEUDRได้ ทั้งนี้ ระบบTraceabilityของ กยท. เป็นระบบที่ส่งเสริมการปรับใช้กับกฎหมายEUDRได้ดี

ขณะเดียวกันEUอยู่ระหว่างจัดทำและรวบรวมประเด็นข้อซักถามจากประเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาเอกสารIndustry Guideline ดังนั้น กยท. จึงเชิญภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง อาทิ

กยท. ดึงเอกชน เร่ง Thai RubberTrade รับ กฎEUDR กยท. ดึงเอกชน เร่ง Thai RubberTrade รับ กฎEUDR

สมาคมยางพาราไทย สมาคมน้ำยางข้นไทย ผู้ประกอบการจาก บริษัท เซาท์แลนด์ รับเบอร์ จำกัด บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยอิสเทิร์น รับเบอร์ จำกัด บริษัท ไทยฮั้ว ยางพารา จำกัด (มหาชน) มาระดมความเห็นในการจัดทำเอกสารข้อมูลรายการการซื้อขาย (Transaction Information)ผ่านแพลตฟอร์มTRT-EUDRที่ กยท. พัฒนาขึ้น เพื่อใช้เป็นโมเดลเสนอEUในกระบวนการพัฒนาเอกสารIndustry Guidelineต่อไป

แพลตฟอร์มดังกล่าว สามารถติดตามและระบุแหล่งกำเนิดของผลิตภัณฑ์ยางพารา ตั้งแต่ผู้จัดจำหน่าย ผู้ผลิต โรงงานแปรรูปยาง ไปจนถึงสวนยางของเกษตรกร โดยมีเอกสารข้อมูลรายการการซื้อขาย (Transaction Information)ข้อมูลพิกัดแปลง (Geo-Information)ที่แสดงว่ายางพาราชุดนั้นมาจากแหล่งปลูกที่ไม่บุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ขณะนี้มีผู้ประกอบการให้ความสนใจและเข้ามาลงทะเบียนกับ กยท. แล้วมากกว่า 95%

 “การหารือร่วมกันครั้งนี้ เป็นก้าวสำคัญย้ำให้เห็นว่า กยท. ผู้ประกอบการ และหน่วยงานทุกภาคส่วนพร้อมผนึกกำลังและเดินหน้าตามมาตรการEUDRเพื่อประโยชน์ทางการค้าและส่งออกยางพาราไทย ที่จะช่วยยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกรชาวสวนยางไปพร้อมกัน”ผู้ว่าการ กยท. กล่าวในตอนท้าย

ทั้งนี้ ผู้ประกอบกิจการยางสามารถขึ้นทะเบียนได้ ทางการยางแห่งประเทศไทยโดยโรงงานแปรรูป/ส่งออกยางให้ลงทะเบียนผู้ประกอบกิจการยางกับ กยท. เป็นผู้ซื้อในระบบ ส่วนจุดรวบรวมยาง(เอกชน)ให้มาขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบกิจการยางพาราและสมัครเป็นผู้ขายผ่านแพลตฟอร์มTRT-EUDRได้เช่นกัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายเศรษฐกิจยาง การยางแห่งประเทศไทย โทร. 0-2424-4259