“ไทม์ไลน์”การแปรสภาพเป็นทะเลทราย “น่าน”น่าห่วงเหตุพื้นที่เกษตรรุกป่าไม้

“ไทม์ไลน์”การแปรสภาพเป็นทะเลทราย   “น่าน”น่าห่วงเหตุพื้นที่เกษตรรุกป่าไม้

“ทะเลทราย” อาจเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคนไทยแต่“ทะเลทราย”มีโอกาสเกิดขึ้นทั่วโลก จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยังทวีความรุนแรงขึ้นจึงนำไปสู่การหารือในระดับนานาชาติ

ปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการอนุสัญญาสหประชาชาติ( UNCCD) กล่าวในการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย หรือ UNCCD พ.ศ. 2566-2570 ว่า UNCCD ได้ให้คำจำกัดความ "การแปรสภาพเป็นทะเลทราย" ว่าเป็น"ความเสื่อมโทรมของที่ดินในพื้นที่แห้งแล้ง" และ "ความเสื่อมโทรมของที่ดิน ‘’ เป็นการลดลงหรือการสูญเสียผลิตภาพทางชีวภาพหรือทางเศรษฐกิจและความซับซ้อนของพื้นที่ อันเนื่องมาจากการใช้ที่ดินและแบบแผนของการดำรงชีพ

 

“ไทม์ไลน์”การแปรสภาพเป็นทะเลทราย   “น่าน”น่าห่วงเหตุพื้นที่เกษตรรุกป่าไม้ “ไทม์ไลน์”การแปรสภาพเป็นทะเลทราย   “น่าน”น่าห่วงเหตุพื้นที่เกษตรรุกป่าไม้ “ไทม์ไลน์”การแปรสภาพเป็นทะเลทราย   “น่าน”น่าห่วงเหตุพื้นที่เกษตรรุกป่าไม้

โดยทั่วโลกได้เห็นความสำคัญจึงก่อตั้งอนุสัญญาUNCCD ขึ้นเพื่อเป็นกรอบข้อตกลงทางกฎหมาย ในการจัดการการแปรสภาพเป็นทะเลทรายและผลกระทบจากภัยแล้ง โดยมีสมาชิก 197 ประเทศ สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมพัฒนาที่ดินรับผิดชอบในฐานะหน่วยงานผู้ประสานงานระดับชาติ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ของอนุสัญญาฯ ปี 2561-2573(the UNCCD 2018-2030StrategicFramework) ได้ระบุให้ประเทศสมาชิกพัฒนาแผนปฏิบัติการ และติดตามผลอย่างต่อเนื่องตามที่เหมาะสม

 

 

แผนปฏิบัติการฯมีวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ 5 ด้าน คือ 1. พัฒนาสภาพของระบบนิเวศที่ได้รับผลกระทบ ส่งเสริมและสนับสนุนความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน 2. เพื่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของประชากรที่ได้รับผลกระทบ 3. เพื่อลดผลกระทบ ปรับตัว และจัดการภัยแล้งของประชากร และระบบนิเวศ 4. เพื่อสร้างประโยชน์ต่อโลกจากการดำเนินงานอนุสัญญาฯที่มีประสิทธิภาพ และ 5. เพื่อสร้างหุ้นส่วนการดำเนินงานในระดับโลก และระดับประเทศที่มีประสิทธิภาพ

“ ผลการประชุมจะนำไปสู่แผนปฏิบัติการที่ใช้เป็น กรอบทิศทางการดำเนินงานของประเทศไทย และนำแผนไปสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องความร่วมมือภายใต้อนุสัญญาฯที่สอดคล้อง กับการประชุมรัฐภาคีสมัยที่ 15 (COP 15) ที่ผ่านมา”

วิษณุ อรรถวานิช รองผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า

ผลการศึกษาพบว่าทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป ลดลงอย่างต่อเนื่อง คาดว่าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติสามารถใช้ได้อีกประมาณ 50 ปีเท่านั้น เช่นเดียวกับพื้นที่ป่าไม้ของโลกและไทยก็ลดลงในช่วง2 ทศวรรษที่ผ่านมา  ขณะเดียวกันไทยมีพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ชุมชน สิ่งปลูกสร้างและแหล่งน้ำเพิ่มขึ้น แต่การขาดแคลนน้ำมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

"อากาศสะอาดลดลง จะเห็นได้จากจำนวนวันที่เป็นอันตรายมากต่อสุขภาพใน จ.เชียงใหม่สูงสุดในรอบ 5 ปี จำนวนวันที่อากาศสะอาดในกรุงเทพต่ำสุดในรอบ 5 ปี "

ขณะที่ รายงานผลการดำเนินงานแห่งชาติ ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย ปี 2566 ได้ศึกษาถึงแนวโน้มสิ่งปกคลุมดิน คาดการณ์ระดับประเทศของพื้นที่ดินทั้งหมด พื้นที่ครอบคลุมด้วยแหล่งน้ำ และพื้นที่ประเทศทั้งหมด พบว่าพื้นที่ดินรวมมีแนวโน้มลดลง

ด้านเมทริกซ์การเปลี่ยนแปลงตามสิ่งปกคลุมที่ดินของ UNCCDใน 13 จังหวัด ในภาคเหนือ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า พื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และ พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นชุมชน/สิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่น้ำ

โดย จ.น่านเป็นจังหวัดที่น่าจับตามองมากที่สุดในด้านความเสี่ยงโดดเด่นและน่าเป็นห่วงมากเรียกว่าติดลบไปเลยในเรื่องของการสูญเสียพื้นที่ป่า ในช่วง10ปีที่ผ่านมา รองลงมาคือ ตาก และลำปาง ที่พื้นที่ป่าถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม นอกจากนี้ จ.น่านยังมีความเสื่อมโทรมของที่ดิน มีความเสื่อมโทรมของการกักเก็บปริมาณคาร์บอนในดิน สูงที่สุด

ปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เป็นแนวโน้มที่จะเกิดการแปรสภาพเป็นทะเลทราย ซึ่งมีสาเหตุมาจากมนุษย์ ดังนั้นการต่อต้านการแปรสภาพดังกล่าว ก็เป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่จะฟื้นฟูป้องกันและอยู่ร่วมกันโดยให้มีการสูญเสียน้อยที่สุด