ฟื้นฟู 'ต้นจามจุรี' สวนเบญจกิติ เพิ่มพื้นที่สีเขียว

ฟื้นฟู 'ต้นจามจุรี' สวนเบญจกิติ เพิ่มพื้นที่สีเขียว

กทม. ร่วมกับ Big Trees Foundation และภาคเอกชน ฟื้นฟู 'ต้นจามจุรี' ภายใน 'สวนเบญจกิติ' ให้กลับมาสมบูรณ์แข็งแรงอีกครั้ง

ปัจจุบันเมืองมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วเพื่อสนองตอบการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้มีความต้องการใช้ที่ดินเพื่อการก่อสร้างมากขึ้นก่อให้เกิดผลกระทบพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองลดลง เนื่องจากเกิดการทรุดโทรมของต้นไม้ ดังนั้นการดำเนินการเพื่อจัดการพื้นที่สีเขียวจึงมีความสำคัญ

 

ล่าสุด สำนักสิ่งแวดล้อม สังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ร่วมกับมูลนิธิรักษ์ไม้ใหญ่ (Big Trees Foundation)และภาคเอกชน โดย บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)และคณะผู้จัดงาน Sustainability Expo 2023 (SX 2023) ร่วมกันฟื้นฟูต้นจามจุรี ซึ่งเป็นต้นดั้งเดิมภายในสวนเบญจกิติ มีปัญหาเรื่องความสุขภาพจึงจำเป็นต้องฟื้นฟูให้กลับมาสมบูรณ์แข็งแรงอีกครั้ง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

 

จากการสำรวจของผู้เชี่ยวชาญจากคณะวนศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มูลนิธิรักษ์ไม้ใหญ่ (กลุ่ม Big Tree) สมาคมรุกขกรรมไทย และอาสาสมัคร ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางไม้ใหญ่มาสำรวจพบว่าต้นจามจุรีมีปัญหารากผุ มีหนอนและราขึ้นและบริเวณรากมีดินบดอัดแน่น ซึ่งอาจจะมาจากการก่อสร้างสวนสันนิษฐานว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้นจามจุรีทั้งโซนนี้อ่อนแอ

 

แนวทางการรักษา ฟื้นฟู ต้นจามจุรี บริเวณ Sky walk จำนวน 4 ต้น จากทั้งหมด 15 ต้น ที่มีอาการวิกฤตมากที่สุดก่อน โดยการปรับระดับความสูงของดิน กำจัดโรคและแมลงพรวนดินบริเวณโคนรอบต้น นำดินที่กดทับบริเวณเหนือคอรากออก พร้อมรดน้ำผสมฮอร์โมนเร่งราก และทำท่อระบายอากาศให้รากต้นจามจุรีและขนวัสดุปรับปรุงดินมาใส่ทดแทน

 

รวมถึงการนำเสียมลม (Air Spade)มาใช้ในการพรวนและเปิดหน้าดิน ซึ่งเป็นวิธีพรวนดินที่ไม่ทำให้รากไม้ขาดหรือเสียหายลดการบดอัดของดินที่แน่นเกินไป และถมสูงเกินไปจนทำให้รากไม้ขาดอากาศ แล้วใส่กิ่งไม้สับ (Mulch) รอบ ๆบริเวณโคนต้น เพื่อเพิ่มความร่วนซุยและชุ่มชื่นให้กับดิน พร้อมทั้งมีการตัดแต่งปลายกิ่ง ปรากฏว่าต้นไม้แตกใบใหม่นับเป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันพัฒนาพื้นที่สีเขียวดูแลต้นไม้ใหญ่ในเมือง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในเมือง

 

 

การฟื้นฟูต้นจามจุรีด้วยการใช้แรงดันอากาศขนาดสูงจากเครื่องอัดอากาศขนาดใหญ่เพื่อใช้พรวนและขุดดินข้อดีคือสามารถพรวนดินได้โดยไม่ทำให้รากกิ่งของต้นไม้เสียหาย ซึ่งเมื่อเปิดหน้าดินจะทำให้โคนต้นและรากได้หายใจ ไม่ถูกปิดทับจากนั้นนำกิ่งไม้สับมาปูบริเวณรอบโคน ซึ่งต่อไปกิ่งไม้เหล่านี้จะกลายเป็นปุ๋ย ดำเนินการมาแล้ว 1 เดือน โดย 4 ต้นแรกเห็นได้ชัดเจนว่าต้นไม้มีการแตกใบเพิ่มขึ้น จึงดำเนินการต่อเฟส 2 อีกจำนวน 4 ต้นรวมที่ต้องดำเนินการมีอีกกว่า 10 ต้น

 

ถือเป็นจุดเริ่มต้นดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและช่วยกันรักษาพื้นที่สีเขียวให้คนกรุงเทพฯ ได้มีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ ประชาชนสามารถติดตามผลของการฟื้นฟูได้ 

FacebookPage : Sustainability Expo,

www.sustainabilityexpo.com

หรือเข้าร่วมกิจกรรมด้านความยั่งยืนเพื่อโลกได้ในงาน Sustainability Expo 2023 .ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 ก.ย. ถึง 8 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์