'ทวิภาคี' ธุรกิจร่วมผลิตกำลังคน เติบโต 'ยั่งยืน' เรียนรู้ตลอดชีวิต

'ทวิภาคี' ธุรกิจร่วมผลิตกำลังคน  เติบโต 'ยั่งยืน' เรียนรู้ตลอดชีวิต

บริษัท อาซาฮี-ไทย อัลลอย จำกัด ร่วมกับ มทร. พระนคร จัดโครงการพัฒนากำลังคนของประเทศ 3Ls Learn to Earn@Workplace ภายใต้ แผนการเรียนรู้บูรณาการวิศวกรรมเทคโนโลยีนวัตกรรมกับการทำงาน (WIL) สร้างความเท่าเทียมการศึกษา สร้างแรงงานตอบโจทย์อุตสาหกรรม

Key Point : 

  • การศึกษา เป็นสิ่งสำคัญและการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องมีแค่ในห้องเรียน ขณะเดียวกัน ยังมีเด็กจำนวนหนึ่งที่ยังเข้าไม่ถึงการศึกษา เพราะการขาดแคลนทุนทรัพย์ 
  • บริษัท อาซาฮี-ไทย อัลลอย จำกัด จับมือกับ มทร. พระนคร พัฒนากำลังคนของประเทศตอบโจทย์ประเทศและอุตสหากรรม พร้อมสนับสนุนเด็กปวส. ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เรียนต่อป.ตรี
  • ความร่วมมือดังกล่าว ถือเป็นการร่วมกันระหว่างภาคเอกชน การศึกษา รวมถึงตอบโจทย์ 'การพัฒนาที่ยั่งยืน' เป้าหมายที ่4 คือ การสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม 

 

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable  Development Goals : SDGs) ทั้งหมด 17 เป้าหมาย ซึ่งครอบคลุมทุกมิติการใช้ชีวิต โดยหนึ่งในนั้น คือ เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพราะการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญและการเรียนรู้ ไม่ใช่แค่จำกัดเฉพาะในห้องเรียนอีกต่อไป แม้จะออกสู่โลกแห่งการทำงาน ก็ยังจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพอยู่เสมอ หรือที่เรามักได้ยินคำว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิต 

 

แต่ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะมีโอกาสที่เท่าเทียม เพราะยังมีบางกลุ่มที่ไม่มีโอกาสแม้แต่การศึกษาต่อจนจบปริญญาตรี เพราะขาดแคลนทุนทรัพย์ รวมทั้งสถาบันการศึกษาบางแห่งผลิตบัณฑิตไม่ตรงกับความต้องการ  หลักสูตรทวิภาคีหรือ Work-integrated Learning : WIL จึงเกิดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ทำงานและต้องการเรียนต่อปริญญาตรี 

 

\'ทวิภาคี\' ธุรกิจร่วมผลิตกำลังคน  เติบโต \'ยั่งยืน\' เรียนรู้ตลอดชีวิต

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

 

3Ls Learn to Earn@Workplace

 

โครงการพัฒนากำลังคนของประเทศ 3Ls Learn to Earn@Workplace ที่ บริษัท อาซาฮี-ไทย อัลลอย จำกัด ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จัดทำแผนการเรียนรู้บูรณาการวิศวกรรมเทคโนโลยีนวัตกรรมกับการทำงาน (Work-integrated Learning : WIL) ในหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน คือตัวอย่างหนึ่งที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาที่จบปวส. และต้องการเรียนต่อปริญญาตรี

 

ผศ.สหรัตน์ วงษ์ศรีษะ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (มทร.พระนคร)อธิบายว่า การเรียนการสอนจะเติมองค์ความรู้ 3 หลัก คือ คุณธรรม เป็นหัวใจของการขับเคลื่อนองค์ความรู้ ความมีวินัย ถัดมา คือ คุณค่า เป็นผู้เรียนที่มีคุณธรรม จะต้องเห็นคุณค่าของตัวเอง และสุดท้าย คือ มองประโยชน์ส่วนรวม อนาคตลูกศิษย์ทั้ง 30 คน สามารถไปทำงานที่ไหนก็ได้ในโลกนี้ 

 

“กระบวนการศึกษาในเมืองไทย อาจารย์จะต้องเปลี่ยนทัศนคติ การสร้างหลักสูตรด้วยการเดินเข้าไปคุยกับเจ้าของบริษัท ทำงานจริง และนำสิ่งเหล่านั้นมาสร้างหลักสูตร นอกจากจะเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการแล้ว ช่วยให้ผู้เรียนมีงานทำเป็นการเรียนรู้อย่างยั่งยืนอีกด้วย”

 

\'ทวิภาคี\' ธุรกิจร่วมผลิตกำลังคน  เติบโต \'ยั่งยืน\' เรียนรู้ตลอดชีวิต

 

3Ls เรียนรู้ตลอดชีวิตยั่งยืน

 

บริษัท อาซาฮี-ไทย อัลลอย จำกัด เป็นผู้ผลิตสินค้า ประปาและสุขาภิบาล ภายใต้แบรนด์ SANWA ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีการบริจาคเพื่อสังคมหลายด้านไม่ว่าจะโรงพยาบาล หรือนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร มาขยายสู่โครงการด้านการศึกษา เป็นการตอบแทนสังคมที่ไม่ได้เป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการทำงานร่วมกันกับสถานศึกษาอย่างจริงจัง เพื่อแก้ปัญหาการผลิตบัณฑิตไม่ตรงตามความต้องการ หลังรับเข้าทำงานต้องเริ่มต้นให้เรียนรู้ใหม่ทั้งหมด 

 

ดร.อรรณพ ปิยะสินธ์ชาติ ผู้อำนวยการระบบบริหารคุณภาพ บริษัท อาซาฮี-ไทย อัลลอย จำกัด กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการให้เปล่าไม่มีพันธะผูกพัน เป็นการช่วยมหาวิทยาลัยในการผลิตบุคลากรให้ประเทศไทย นักศึกษาที่เรียนจบแล้วไม่ได้คาดหวังว่าจะมาทำสัญญาหรือจะต้องมาทำงานกับบริษัท  

 

โครงการ3Ls Learn to Earn@Workplace  มีคำสำคัญ 3 คำ คือ 3Ls (Lifelong learning) เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน เพราะไม่ได้เรียนเพื่อที่จะได้ใบปริญญาอย่างเดียว แต่เพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพ  การที่จะไปสมัครงานหลังจากเรียนจบ จะต้องมีสมรรถนะในการทำงานที่จะตอบโจทย์กับสถานประกอบการเพื่อที่จะได้รับการว่าจ้างและดำรงชีวิตอยู่ได้ในสังคม วิธีการที่ดีที่สุด ต้องไปเรียนที่สถานประกอบการ

 

มีเด็ก ปวส. ที่จบมาและมีส่วนหนึ่งที่ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษาไป ทั้งๆที่อยากจะศึกษาต่อ  โครงการนี้จะสนับสนุนเด็กที่ยากจน ต้องสร้างโอกาสให้เด็กที่ขาดแคลน เพราะเมื่อจบมาเขาต้องทำงานเนื่องจากมีภาระอยู่ข้างหลัง โดยตลอดระยะเวลาเด็กๆ จะได้รับเงินเดือนตามอัตราค่าแรง ปวส. โดยมีเงินที่เด็กจะใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เงินค่าบำรุงการศึกษา และที่พักให้ฟรี ทั้งหมด 30 คน  ร่นระยะเวลาการเรียนจาก 2 ปี (4 เทอม) เป็นเวลา 18 เดือน สอนทฤษฎี 30 % และ 70 % ลงไปทำงานในสายงาน เรียนรู้และนำวิชาในแต่ละเทอมไปใช้ในการทำงาน โดยจะมีใบงาน และให้เด็กเก็บรวบรวมส่งรายงาน ขณะที่การสอนงานจะสอนโดยผู้ชำนาญการในสายงานนั้นๆ

 

\'ทวิภาคี\' ธุรกิจร่วมผลิตกำลังคน  เติบโต \'ยั่งยืน\' เรียนรู้ตลอดชีวิต

 

ธุรกิจ-การศึกษาผลักดัน 3 เสาหลัก

 

ดร.อรรณพ กล่าวต่อไปว่า การเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องเริ่มต้นสอนให้เด็กรู้ว่านี่คือกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต กุญแจสำคัญ ที่จะทำให้โครงการสำเร็จ คือ สถานประกอบการ และ มหาวิทยาลัย ต้องจับมือกันอย่างชัดเจน ร่วมกันปรับปรุงรายละเอียดการทำงาน เพื่อต้องการผลลัพธ์ที่ตอบโจทย์ภายใน 18 เดือน

 

สิ่งที่ต้องการจะเห็นหลังจากจบโครงการ คือ เด็กเหล่านี้ออกไปพร้อมโอกาสในกระเป๋า เพื่อไปประกอบอาชีพได้ เขาจะมีผลงานที่ผ่านการเรียน การปฏิบัติจริง และเมื่อไปสมัครงานที่ไหน คาดว่าทุกองค์กรที่สมัครงานจะอ้าแขนรับ อีกทั้ง ทักษะสำคัญ คือ จะต้อง Lifelong learning เราต้องการผลผลิตของโครงการนี้ให้เขามีโอกาส ในการสร้างฐานะเลี้ยงดูครอบครัว เป็นผู้นำครอบครัวได้เป็นหลักของครอบครัวได้ ภายใต้องค์ความรู้และคุณธรรมที่เรามอบให้ การเรียนรู้ 

 

“การเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องเริ่มต้นสอนให้เด็กรู้ว่านี่คือกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้ก็เพื่อออกไปทำงาน ต้องสอนให้รู้จักขบวนการทำงาน การที่จะประสบผลสำเร็จในชีวิตอย่างยั่งยืน ต้องยืนอยู่บน 3 เสาหลัก คือ เรื่องของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องเกิดมา่จากการเรียนรู้อย่างยั่งยืนตลอดชีวิตซึ่งเป็นความท้าทายของภาคธุรกิจและสถา่บันการศึกษาต้องร่วมกันผลักดัน” ดร.อรรณพ กล่าว

 

โอกาสของผู้เสียสละ

 

กษิดิศ  พงค์พรหม อายุ 20 ปี หนึ่งในนักศึกษาที่มีโอกาสได้เข้า โครงการ 3Ls Learn to Earn@Workplace จบ ปวส. จากวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม สาขาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม ที่มีความจำเป็นต้องทำงาน ทั้งๆที่อยากเรียนต่อ  เพราะมีน้องชายอีกคนที่กำลังเรียนปวช. และมีค่าใช้จ่าย จึงอยากแบ่งเบาภาระค่าใช้พ่อแม่ด้วยการทำงาน

 

ขณะที่กำลังเลือกว่าจะเรียนต่อหรือทำงาน ซึ่งความจริงอยากจะเรียนต่อ เพราะอยากมีปริญญาสักใบและอยากเรียนวิศวกรรมศาสตร์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และได้รู้ข่าวหลักสูตรจากอาจารย์ที่ปรึกษาในวิทยาลัย จึงได้สมัครขอทุนและได้่รับการอนุมัติ 

 

\'ทวิภาคี\' ธุรกิจร่วมผลิตกำลังคน  เติบโต \'ยั่งยืน\' เรียนรู้ตลอดชีวิต

 

กษิดิศ  มองว่าการที่ได้เรียนรู้ในสถานประกอบการ ดีกว่าการเรียนแค่ในมหาวิทยาลัย เพราะจะได้ทั้งประสบการณ์ ความรู้ที่ใช้งานจริงๆ เราคิดมาตลอดว่าการเรียนเนื้อหาในห้องบางอย่างไม่จำเป็นต้องใช้หรือไม่ได้ใช้ ดังนั้นการได้เรียนรู้จากงานจริงจะดีกว่า อย่างน้อยจบมา ถึงแม้จะไม่ได้ทำงานกับโรงงานเดิม แต่สามารถนำความรู้ที่เรามี ไปใช้กับการทำงานในอนาคตได้ 

 

“พอได้ทุนนี้พ่อแม่เขาดีใจมาก เขาสงสารเราเพราะเป็นลูกคนโตต้องเสียสละ หากน้องชายเรียนจบปวส. ก็อยากจะให้น้องเรียนต่อ เมื่อเราโตกว่า มีโอกาสได้ทำงานก็อยากจะให้น้องได้บรรลุเป้าหมายเช่นเดียวกัน” กษิดิศ กล่าว

 

 

\'ทวิภาคี\' ธุรกิจร่วมผลิตกำลังคน  เติบโต \'ยั่งยืน\' เรียนรู้ตลอดชีวิต

 

ก่อนหน้านี้ อธิการบดี มทร.พระนคร 'ดร.ณัฐวรพล รัชสิริวัชรบุล' ได้มอบหนังสือเพื่อน้อง ให้ห้องสมุดผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพเขาย้อย จ.เพชรบุรี ซึ่งจัดการเรียนการสอนหลักสูตรปวช. และปวส.ให้นักเรียน 239 คน ในจำนวนนี้มีเยาวชนที่มีฐานะยากจนในโครงการ“อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ”รวมอยู่ด้วย ซึ่งตั้งแต่ปี. 2557-ปัจจุบัน ทำความร่วมมือทวิภาคีกับภาคเอกชนในพื้นที่รวม 44  บริษัทเปิดโอกา่สให้ผู้ที่มีวุฒิปวช.เรียนต่อปวส.โดยได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทที่ทำงานอยู่

 

ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพเขาย้อย “เดชณรงค์ รอดซุง” กล่าวว่าได้ตกลงร่วมกับ อธิการบดี มทร.พระนคร ว่าในอนาคตจะการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีให้กับผู้ที่จบปวส.ด้วย โดยมทร.พระนครจะส่งอาจารย์มาสอนที่ห้องเรียนที่วิทยาลัยการอาชีพเขาย้อย ซึ่งปัจจุบันมทร.พระนครมี ทุนราชมงคลพระนครให้นศ.ปีที่ 2 เรียนฟรีตลอดหลักสูตร ทุนเรียนดี ผู้มีเกรดเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละชั้นปี ทุนกิจกรรมดีเด่น ให้สภานักศึกษา/องค์การนักศึกษา ทุนขาดแคลนทุนทรัพย์ นักศึกษา และทุนกีฬา และยังมีทุนนักศึกษาพิการ ทุนมูลนิธิ อายิโนะโมะโต๊ะ มูลนิธินายห้างโรงปูนผู้หนึ่ง มูลนิธิกลุ่มอีซูซุ และจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการทำงาน (Work-integrated Learning)กับภาคเอกชนด้วย 

 

\'ทวิภาคี\' ธุรกิจร่วมผลิตกำลังคน  เติบโต \'ยั่งยืน\' เรียนรู้ตลอดชีวิต