ส่องแผนกำลังคนภาครัฐ’ – ข้าราชการไทย แนวโน้มลดจำนวน – เพิ่มประสิทธิภาพทำงาน

ส่องแผนกำลังคนภาครัฐ’ – ข้าราชการไทย  แนวโน้มลดจำนวน – เพิ่มประสิทธิภาพทำงาน

ส่องข้อมูลกำลังคนภาครัฐ 2.91 ล้านคน แนวโน้มยังลดจำนวนลงทั้งข้าราชการ และที่ไม่ใช่ราชการ จากข้อจำกัดเรื่องประชากร และงบประมาณของประเทศ ผลักดันความจำเป็นในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานราชการ ปรับตัวให้ทันรับความท้าทาย

“กำลังคนภาครัฐ” เป็นคำเรียกรวมของทรัพยากรบุคคลที่ทำงานในส่วนของภาครัฐ ซึ่งกินความหมายกว้างทั้งข้าราชการ พนังงานอัตราจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งบุคลากรในองค์กรอิสระ หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการทำงานขับเคลื่อนประเทศไทย

ที่ผ่านมาบ่อยครั้งเราได้ยินข่าวว่าข้าราชการไทยไม่เพียงพอ หรือ มีจำนวนน้อยกว่างาน หรือบางฝ่ายก็บอกว่าข้าราชการไทยมีมากเกินไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วจะต้องเอาข้อมูลข้อเท็จจริงมาพิจารณาว่าข้าราชการไทยนั้นมีมากหรือน้อยเกินไป แล้วเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เรามีจำนวนข้าราชการรวททั้งบุคลากรของรัฐที่ไม่ใช่ข้าราชการคิดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของจำนวนแรงงานทั้งประเทศ

ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนของภาครัฐได้นำเสนอ ครม.เกี่ยวกับแผนการบริหารกำลังคนภาครัฐ โดยรายงานถึงกำลังคนภาครัฐในปัจจุบันต่อ ครม.เพื่อเป็นพื้นฐานข้อมูลให้ ครม.นำไปใช้ในการวางแผนกำลังคนภาครัฐในระยะต่อไป

โดยมีสาระสำคัญคือจากข้อมูลของสำนักงานสถิตแห่งชาติ ภาพรวมและแนวโน้มกำลังคนภาครัฐ ในช่วง10 ปีที่ผ่านมาเมื่อพิจารณาสัดส่วนกำลังคนที่เป็นแรงงานในภาพรวม เทียบกับจำนวนประชากรที่มีอยู่ในประเทศ จำนวน 67 ล้านคน พบว่า ประเทศไทยมีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อมจะทำงานจำนวน 38.63 ล้านคน โดยเป็นการจ้างงานในส่วนของกำลังคนภาครัฐ จำนวน 3 ล้านคน

ประกอบด้วย ข้าราชการ จำนวน 1.785 ล้านคน และประเภทอื่นที่ไม่ใช่ข้าราชการ (พนักงานจ้าง พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานกระทรวงสาธารณสุขพนักงานรัฐวิสาหกิจ และพนักงานองค์การมหาชน) จำนวน 1.24 ล้านคน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.ข้าราชการ ได้แก่

-พลเรือนสามัญ 421,228  คน   คิดเป็น 24.97%  
-ครูและบุคลากรทางการศึกษา 427,525 คน  คิดเป็น 25.39%
-พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา 13,422 คน  คิดเป็น 0.8%
- ตำรวจ  213,208 คน คิดเป็น 12.64%
-ทหาร    325,053  คน  คิดเป็น14.86%
- รัฐสภา    3,106 คน คิดเป็น 0.18%
- อัยการ       4,236 คน คิดเป็น  0.25%
- ตุลาการ       5,429 คน คิดเป็น 0.32%
- องค์กรอิสระ      22,838 คน คิดเป็น 1.36%
- ส่วนท้องถิ่น  250,670 คน คิดเป็น 14.86%

2. บุคลากรรัฐที่ไม่ใช่ข้าราชการ ประกอบไปด้วย

-พนักงานจ้าง         258,276 คน คิดเป็น 20.89%

-พนักงานราชการ    149,537 คน คิดเป็น 12.09%

-ลูกจ้างประจำ            119,000  คน คิดเป็น 9.62%

- ลูกจ้างชั่วคราว    228,543 คน  คิดเป็น 18.48%

- พนักงานมหาวิทยาลัย 129,469 คน  คิดเป็น 10.47%

- พนักงานกระทรวงสาธารณสุข 123,830 คน คิดเป็น 10.01%

- พนักงานรัฐวิสาหกิจ     214,860 คน คิดเป็น 17.38%

- พนังงานองค์การมหาชน     13,090 คน คิดเป็น 1.06%

ส่องแผนกำลังคนภาครัฐ’ – ข้าราชการไทย  แนวโน้มลดจำนวน – เพิ่มประสิทธิภาพทำงาน

ทั้งนี้เมื่อเทียบเทียบจำนวนข้าราชการไทยกับหลายๆประเทศพบว่าสัดส่วนข้าราชการไทยไม่ได้มีมากเกินไปโดยอยู่ที่ประมาณ 7.7% หากเทียบกับหลายประเทศ พบว่ามีจำนวนประชากรในวัยแรงงานที่ทำงานเป็นบุคลากรของภาครัฐรวมทั้งข้าราชการในสัดส่วนที่สูงกว่าประเทศไทย เช่น สหราชอาณาจักร 16% สหรัฐฯ 14.9% เกาหลีใต้ 8.1%  และญี่ปุ่น 5.9%

โดยนอกจากการรายงานตัวเลขกำลังคนภาครัฐทั้งที่เป็นข้าราชการ และไม่ใช่ข้าราชการ รายละเอียดของรายจ่ายงบประมาณภาครัฐในเรื่องกำลังคนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมายังมีการเสนอทิศทางทางกำลังคนภาครัฐในอนาคต โดยมีสาระสำคัญ คือ

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการสำรวจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 – 2564 พบข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในประเทศมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 โดยข้อมูลในปี 2564  ประชากรในวัยเด็ก (0 - 14 ปี) มีจำนวนลดลง 12.57% วัยแรงงานลดลง 1.8% ขณะที่ผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น 3.99% ต่อปี ขณะที่อัตราการเกิดของประชากรไทยลดลง 3.96% ต่อปี

จากข้อมูลสถิติประชากรในประเทศปี พ.ศ.2564 เมื่อพิจารณาสัดส่วนกำลังคนที่เป็นแรงงานในภาพรวม เทียบกับจำนวนประชากรที่มีอยู่ในประเทศ จำนวน 66.17 ล้านคน พบว่า ประเทศไทยมีผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานหรือผู้ที่พร้อมจะทำงาน จำนวน 38.63 ล้านคนโดยในจำนวนนี้เป็นการจ้างงานในส่วนของกำลังคนภาครัฐ จำนวน 2.91  ล้านคน

ทั้งนี้แนวโน้มของประชากรที่ลดลงรวมกับข้อจำกัดเรื่องงบประมาณของประเทศทำให้ในอนาคตจำนวนของกำลังคนภาครัฐ ทั้งในส่วนของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐที่ไม่ใช่ข้าราชการมีแนวโน้มต้องลดจำนวนลง และมีแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้นตามแนวทางการปฏิรูประบบราชการ

 

บุคลากรภาครัฐต้องเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน 

จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วง 10  ปีที่ผ่านมา พบว่าภาพรวมอัตราการเพิ่มของจำนวนประซากรในประเทศมีแนวโน้มลดลง ด้วยแนวคิดการดำเนินชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่นำไปสู่อัตราการเกิดที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราการเพิ่มของจำนวนประขากร ในกลุ่มผู้สูงวัยกลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขส่งผลให้ปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และเมื่อพิจารณาในมิติด้านแรงงาน พบว่า

กำลังคนในวัยทำงานช่วงอายุระหว่าง 15 - 49 ปี มีแนวโน้มลดลง ในขณะที่กำลังคนวัยทำงาน ที่มีอายุระหว่าง 50 - 59 ปี กลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตและพฤติกรรมของคน รวมทั้งวิกฤตการณ์การแพร่ระบาด

โควิด-19 ถือเป็นความท้าทายใหม่และเป็นตัวเร่งให้ทุกต้องหาวิธีจัดการและรับมือ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้นอกจากจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งด้านเศรษฐกิจสังคม และการดำเนินชีวิตแล้ว ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อบริบทการบริหารและการขับเคลื่อนภารกิจ ของหน่วยงานภาครัฐซึ่งมีกำลังคนในระบบการจ้างงานกว่า ล้านคน ด้วยเช่นกัน ดังนั้น การกำหนด

นโยบายและวางแนวทางของมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐจึงต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยภาครัฐจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจเพื่อให้มีขนาดที่เหมาะสม นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาปรับปรุงพัฒนารูปแบบวิธีการทำงานให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว โปร่งใส รวมทั้งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งงบประมาณและกำลังคนให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่าสูงสุด การบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐในสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศอยู่ในสภาวะหดตัวทางเศรษฐกิจและวิกฤต

ตรึงจำนวนราชการลดภาระภาครัฐ

ด้านงบประมาณ การควบคุมกำลังคนและค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรภาครัฐของประเทศจึงมีความสำคัญ และจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจังและเร่งด่วน โดยควรมีการตรึงอัตรากำลังคนภาครัฐทุกประเภท ไว้ระยะหนึ่งเพื่อลดการะค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรของประเทศ ควบคู่ไปกับการปรับขนาดกำลังคนภาครัฐ เพื่อให้มีจำนวนและคุณภาพที่เหมาะสม สามารถใช้กำลังคนที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ประหยัด เต็มศักยภาพ

รวมทั้งจำเป็นต้องมีกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลที่เป็นระบบและครอบคลุมทุกมิติ ยืดหลักสมรรถะ (Competency Based) หลักผลการปฏิบัติงาน (Performance Based) และหลักคุณธรรม (Merit Based) โดยมีจุดเน้นสำคัญ คือ การบริหารทรัพยากรบุคคลมีความยืดหยุ่น คล่องตัว โปร่งใส เป็นธรรมมีรูปแบบการจ้างงานที่หลากหลาย เหมาะสมกับภารกิจและลักษณะเฉพาะขององค์กร สอดคล้องกับ ทิศทางการปฏิรูปประเทศ สามารถปรับตัวตอบสนองได้อย่างทันท่วงทีต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง