วันสากล แห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ประจําปี 2566

วันสากล แห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ประจําปี 2566

สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเครือข่ายจัดกิจกรรมเนื่องในวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ประจําปี 2566 ในหัวข้อ “From Agreement to Action : Build Back Biodiversity”

เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนส่งเสริมการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนและสนับสนุน
การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับการดําเนินงาน
และพันธกรณีของประชาคมโลก โดยได้รับเกียรติจาก จตุพร บุรุษพัฒน์ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดกิจกรรม และ พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บรรยายพิเศษในหัวข้อ “โลกขยับ ไทยปรับตัว  จาก Kunming-Montreal GBFสู่ยุทธศาสตร์การดําเนินงานของประเทศไทย”

ภายในงานมีการจัดกิจกรรม IDB Talk หัวข้อ “บทบาทของภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคมกับภารกิจ 2030 Mission ลดการสูญเสีย เพิ่มการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์จากความหลากหลาย
ทางชีวภาพอย่างยั่งยืน” และการเสวนา ในหัวข้อ “OECMs โอกาสในการบรรลุเป้าหมาย 30 x 30 ของประเทศไทย”

และการจัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานจากหน่วยงานรัฐและภาคธุรกิจ ซึ่งเลขาธิการ สผ. เน้นย้ำถึงการยกระดับ การทํางานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย โดยเฉพาะการจัดทําเป้าหมายระดับชาติ (national targets) ภายใต้แผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2566 – 2570 ควบคู่ไปกับ การจัดเตรียมแผนแผนที่นําทางการดําเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2567 – 2590 และให้ความสําคัญกับ การเชื่อมโยงการดําเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพที่ต้องควบคู่กันไปโดยการสนับสนุนและเชิญชวนให้ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม และชุมชน มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการทํางาน
ให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ประเทศวางไว้ เพื่อ “ส่งต่อความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์ซึ่งเป็นพื้นฐานของ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีแก่พี่น้องประชาชน”

เดวิด คูเปอร์รักษาการเลขาธิการอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ กล่าว่าวันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพปีนี้มีความสําคัญเป็นพิเศษ หลังจากการประชุมสมัชชาภาคี อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ ๑๕ (CBD COP15) ในเดือนธันวาคม 2022 ที่ผ่านมาซึ่งพวกได้รับรองกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ซึ่งเป็นข้อตกลงร่วมกันของโลกในการหยุดยั้งและลดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

ข้อตกลงนี้ถือเป็นก้าวสําคัญที่จะช่วยให้เราบรรลุวิสัยทัศน์ของโลก คือ การอยู่ร่วมกันอย่างสอดคล้องและเป็นหนึ่งเดียว กับธรรมชาติ ภายในปี ค.ศ. 2050 โดยที่พวกจะต้องเปลี่ยนจากข้อตกลงไปสู่การปฏิบัติ ให้ได้ เพื่อที่จะทําความหลากหลายทางชีวภาพให้กลับคืนมา มีอากาศและน้ําสะอาด มีความมั่นคงทางอาหาร จํากัดการแพร่ระบาดของโรคจากสัตว์สู่คน และสร้างอนาคตที่ยั่งยืนบนโลกใบนี้

จึงต้องต้องดําเนินการอย่างเร่งด่วนอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้ภายในปี ค.ศ. 2030 ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ผู้บริโภค ต่างมีบทบาทในการดําเนินการตามกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลาย ทางชีวภาพของโลก หน่วยงานภาครัฐจําเป็นต้องเร่งกําหนดเป้าหมายระดับชาติให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ของกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก รวมถึง กําหนดนโยบายและแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ภาคธุรกิจจําเป็นต้องประเมิน และเปิดเผย ถึงผลกระทบ และมุ่งไปสู่แนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนประชาชนต้องลดปริมาณของเสีย และมุ่งไปสู่การบริโภคที่ยั่งยืนมากขึ้น และหนึ่งในสิ่งที่สําคัญที่สุดที่ทุกคนสามารถทําได้ คือ การสื่อสารความหลากหลายทาง ชีวภาพ ยิ่งพวกเราให้ความสําคัญกับความหลากหลายทางชีวภาพมากเท่าไร ความสําเร็จย่อมมีโอกาสเกิดมากขึ้นเท่านั้น วันสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพนี้ ต้องเปลี่ยนจากข้อตกลงไปสู่การปฏิบัติ เพื่อที่โลก จะร่วมกันสร้างความหลากหลายทางชีวภาพกลับคืนมา ขอให้ทุกคนยอมรับความท้าทายที่อยู่ข้างหน้า ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดําเนินการให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามกรอบงานคุนหมิง-มอนทรีออลว่า ด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของโลก เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และวิสัยทัศน์การอยู่ร่วมกันอย่างสอดคล้องและเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ ภายในปี ค.ศ. 2050 วันสากล แห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ประจําปี 2566

วันสากล แห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ประจําปี 2566