“ปูนฯไฮดรอลิก”ลดคาร์บอน วัสดุสุดปังในบิ๊กโปรเจกต์ กทพ.

“ปูนฯไฮดรอลิก”ลดคาร์บอน วัสดุสุดปังในบิ๊กโปรเจกต์ กทพ.

ในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่อง การบูรณาการความร่วมมือในการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อประเทศไทยบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการส่งเสริมใช้วัสดุก่อสร้างประเภทปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก

 ระหว่างสมาคมอุตสาหรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) และ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

ก่อนอื่นต้องทำความรู้จัก“ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก” คือ ปูนซีเมนต์ที่ก่อตัวและแข็งตัวเนื่องจากการทำปฏิกิริยากับน้ำ และมีความ

สามารถทํานองเดียวกันเมื่ออยู่ในน้ำ โดยมีคุณสมบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2594 กําหนดโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และมีการประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ. 2556 

การผลิตปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกมีวิธีการผลิตเช่นเดียวกับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มุ่งเน้นการเพิ่ม ประสิทธิภาพของปูนซีเมนต์ (Performance Based)โดยคุณลักษณะเป็นไปตามมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมอก. 2594 รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างมีนัยสำคัญด้วยวัสดุผสมเพิ่ม 7% วัสดุทดแทน 10% ปูนเม็ด83% ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก 871kg-CO/T Cement 

สำหรับการใช้วัสดุทดแทน10 % ได้แก่1. ส่วนประกอบของแคลเซียม เช่นแคลเซียมคาร์บอเนต หินปูน ปูนขาว ปูนสุก ฝุ่นจากเตาเผาปูนเม็ด 2. ปอชโชลาน เช่น เถ้าลอย ปอชโชลานธรรมชาติ ชิลิกาฟูม 3. กากถลุง เช่น กากถลุงจากเตาถลุงแบบพ่นลม สําหรับประเทศไทยจะนิยมใช้หินปูน ด้วยเหตุผลด้านความพร้อมของปริมาณสำรอง และคุณภาพ

โดยกระบวนการผลิตปูนซีเมนต์จะมีการปล่อย CO2 จากการสลายตัวของวัตถุดิบและการเผาไหม้ ของเชื้อเพลิงในขั้นตอนการเผาปูนเม็ด (Clinker) ซึ่ง CO2 นี้เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) ที่ชั้นบรรยากาศของโลก ดังนั้น การใช้ปูนเม็ดในสัดส่วนที่น้อยลงจะส่งผลให้เกิดการปล่อย CO2 ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ลดลงไปด้วย 

สุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการกทพ.  กล่าวว่า การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับความปลอดภัยของผู้ใช้ทางพิเศษ ด้วยมาตรฐานระบบจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 พร้อมนำแนวทาง Environment-Social-Govemance (ESG) รวมถึงการลงทุนสีเขียว (Green Investment) การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) มาใช้ในกระบวนการทำงาน เพื่อส่งเสริมและ สนับสนุนการดำเนินงานต่อสู้ปัญหาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ

สอดคล้องกับนโยบาย “ระบบคมนาคมสีเขียว”ภายใต้ กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2560 - 2579 ของกระทรวงคมนาคม

      ชนะ ภูมิ นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย(TCMA) กล่าวว่า ความร่วมกันเดินหน้าสนับสนุนนโยบายลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ในสาขากระบวนการ ทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Industrial Processes and Product Use: IPPU) ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ด้วยการส่งเสริมการใช้วัสดุก่อสร้างประเภทปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก ในทุกโครงการก่อสร้างของกทพ.ในการขับเคลื่อน MISSION 2023” ให้บรรลุเป้าหมาย ลดก๊าซเรือนกระจก 1,000,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ภายในปี 2566

การพัฒนาเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นสิ่งที่ดีแต่ในอีกบทบาทการใช้งานของสิ่งก่อสร้างต่างๆคือความแข็งแรงและคงทน ข้อมูลจาก TCMA ระบุว่า จากการใช้งานในหลายประเทศทั่วโลกแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก สามารถถูกนำมาใช้แทนที่ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ในงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ ภายใต้ การรับรองคุณสมบัติของปูนซีเมนต์จากหลายมาตรฐานในระดับสากล อาทิ American Society for Testing and Materials (ASTM) และ European Standard (EN) 

นอกเหนือไปจากคุณสมบัติทางวิศวกรรม ที่ได้การรับรองจากหลายมาตรฐาน ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิกยังเป็นปูนซีเมนต์ที่ยังประโยชน์ดี ในด้านสิ่งแวดล้อม และในด้านของความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ จนสามารถกล่าวได้ว่า ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก เป็นปูนซีเมนต์ที่ตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ ยังเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และการสนับสนุนให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสนองตอบต่อนโยบายการลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี พ.ศ. 2593 และปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิ เป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2608 เพื่อร่วมกันควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกตามความตกลงปารีส