'ไฟป่า' สะท้อนวิกฤตโลกร้อน เร่งเพิ่มพื้นที่สีเขียวรับมือภัยแล้ง

'ไฟป่า' สะท้อนวิกฤตโลกร้อน เร่งเพิ่มพื้นที่สีเขียวรับมือภัยแล้ง

ความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ได้ส่งผลต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติทุกรูปแบบ ยิ่งเข้าสู่ช่วงภัยแล้ว 'ไฟป่า' เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีและทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

Ketpoint:

  • ความถี่และความรุนแรงของไฟป่าทั่วโลก ได้กลายเป็นภัยคุกคามหลักต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก
  • Climate change ส่งผลภัยแล้งอย่างหนัก ปัจจัยเกิดไฟป่าไม่ใช้จากภัยธรรมชาติเพียงอย่างเดียว เกิดจากพฤติกรรมมนุษย์
  • เร่งปลูกต้นไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ทุกภาคส่วนต้องเร่งแก้ปัญหาเชิงรุก ห้ามเผาป่า ร่วมป้องกันไฟป่า

ก่อนหน้านี้พื้นที่ที่มักจะเกิดไฟป่าจะเป็นพื้นที่บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกือบทุกจังหวัด  โดยจะเกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนพฤษภาคม แต่ในปัจจุบันไฟป่าสามารถเกิดขึ้นได้ทุกภูเขา ได้ทุกพื้นที่ และทุกจังหวัด 

'ไฟป่า หมอกควัน และภัยแล้ง' ล้วนเป็นภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเป็นประจำและเกิดในหลายพื้นที่ทั่วโลก ซึ่งล้วนมีสาเหตุจากกิจกรรมมนุษย์ที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติของโลกเกินพอดี ในตลอดช่วงเพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ทุก ๆ นาที โดยเฉลี่ย มีพื้นที่ป่าไม้ขนาดสี่สิบสนามฟุตบอลได้ถูกโค่นทำลายไป

ต้นไม้มีความสำคัญมากที่สุดในการรักษาระบบนิเวศ รักษาสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางอาหาร และซึ่งคือความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติ หากเราสามารถหยุดการทำลายป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ได้หนึ่งในสามจากเดิม หรือปลูกต้นไม้เพิ่มประมาณ 1.2 พันล้านล้านต้นทั่วโลกก็จะสามารถบรรเทาวิกฤตโลกร้อนได้

เพราะต้นไม้จะดูดซับคาร์บอนจากอากาศตลอดการเจริญเติบโต มวลน้ำหนักครึ่งหนึ่งของต้นไม้หนึ่งต้นคือปริมาณคาร์บอนที่ต้นไม้ดูดออกจากอากาศ และส่งต่อลงสู่ดินผ่านรากและจุลินทรีย์ในดิน สร้างความสมบูรณ์ชุ่มชื้นให้ดิน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

สรุปเหตุการณ์ไฟป่า 3 จุดใหญ่ เขาแหลม นครนายก , เขาค้อ เพชรบูรณ์ , อุทยานฯ จ.แพร่

'ไฟป่า' ลาม 170 ไร่ 'ยอดภูลมโล' จนท. สนธิกำลังเข้าสกัด

GISTDA ชี้ จุดความร้อนของไทยสูงถึง 5.5 พันจุด สูงสุดในรอบปี 5 ที่ผ่านมา

โรดแมปดันไทยสู่ Green Gold เชื่อคาร์บอนเครดิตช่วยเปลี่ยนโลก

 

ไฟป่าเกิดขึ้นทุกมุมโลก ส่องปัจจัยที่ทำให้เกิด

แม้ว่าจะมีการพยายามของหลายประเทศในการเร่งเพิ่มพื้นที่สีเขียวในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ดังเช่นกลุ่มประเทศยุโรป ที่มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น 1% ทั้งทวีป หรือเพิ่มขึ้น 15 ล้านเฮกตาร์  และจีน ที่มีพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้นถึง 5% หรือ 35 ล้านเฮกตาร์ ซึ่งมากที่สุดในโลก

แต่ขณะเดียวกันการสูญเสียป่าในทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกา ก็มีตัวเลขสูงถึง 5% และ 7% หรือสูญเสียถึง 75  ล้านเฮกตาร์  และ 65  ล้านเฮกตาร์ ตามลำดับ ซึ่งก็ทำให้พื้นที่สีเขียวหรือป่าทั่วโลกยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง   

อย่างในปี 2020 เหตุการณ์ไฟป่าได้เกิดขึ้นทั่วโลก ตั้งแต่ป่าอเมซอน (Amazon) จนถึงขั่วโลกเหนือ หรืออาร์กติก (Arctic) ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน และในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้เกิดไฟป่าเพิ่มขึ้นถึง 13% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน ซึ่งถือว่าปีนี้ได้รับการบันทึกว่าเป็นปีที่เกิดไฟป่าสูงสุด สาเหตุอาจมาจากวิกฤตโลกร้อน

หรือในพื้นที่ประเทศไทย ล่าสุด เกิดเหตุเพลิงไหม้พื้นที่ป่าเขาแหลม จ.นครนายก จนเกิดภาพทะเลเพลิงยามค่ำคืน 

ความถี่และความรุนแรงของไฟป่าทั่วโลกนั้น ได้กลายเป็นภัยคุกคามหลักต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก เหตุการณ์ไฟป่าออสเตรเลียในช่วงปี 2019-2020 ที่ผ่านมา ได้คร่าชีวิตสัตว์ป่ามากถึง 3 พันล้านตัว ซึ่งรวมถึงสัตว์พื้นถิ่นใกล้สูญพันธุ์ เช่น โคอาล่า และพืชพันธุ์ไม้พื้นถิ่น กว่าร้อยละ 6 ซึ่งขึ้นอยู่ในพื้นที่กว่าร้อยละ 30 ที่ถูกไหม้ ต้องเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์

 

 'มนุษย์' เป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดไฟป่า

ในทั่วโลกนั้น ไฟป่าที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช่รูปแบบตามธรรมชาติ  แต่เกิดจากพฤติกรรมของมนุษย์ แต่กลับส่งผลกระทบ ต่อการอยู่รอดของสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะถูกฆ่า บาดเจ็บ หรือป่วยจากการสูดควันไฟ สูญเสียถิ่นอาศัย และกระทบต่อห่วงโซ่อาหารของสัตว์ป่าเอง และที่สำคัญรวมถึงห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ ซึ่งสัตว์ป่าพื้นถิ่นเกือบทุกชนิดอาจไม่สามารถปรับตัวให้อยู่รอดได้ในพื้นที่เกิดไฟป่า เนื่องจากมีระบบห่วงโซ่อาหารที่เปลี่ยนแปลงไป

"ไฟป่า คือ ไฟที่เกิดจากสาเหตุใดก็ตาม แล้วลุกลามไหม้ในป่าได้โดยอิสระปราศจากการควบคุม ไม่ ว่าไฟจะลุกลามไหม้ในป่าธรรมชาติ หรือส่วนป่า องค์ประกอบของไฟป่า ไฟป่าเกิดขึ้นได้ต้อมีปัจจัยที่สำคัญ 3 อย่าง คือความร้อน ก๊าซออกซิเจน และเชื้อเพลิง จึงจะ สามารถเกิดไฟขึ้นได้ หากขาดสิ่งใดซึ่งหนึ่งไปจะไม่สามารถ เกิดขึ้นได้เลย องค์ประกอบทั้ง 3 สิ่งนี้ เรียกว่า สามเหลี่ยมไฟป่า"

ชนิดของไฟป่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ตามลักษณะของเชื้อเพลิงที่ถูกเผาไหม้ ดังนี้

1.ไฟใต้ดิน เป็นไฟที่เผาไหม้พวกอินทรียวัตถุสลายตัว แล้วและก าลังสลายตัวเหนือผิดวดินในป่า บางทีไฟนี้ไหม้ พวกรากไม้ด้วยไฟ ลักษณะนี้ครุกกรุ่นเผาไหม้อย่างช้าๆไม่ มีเปลวไฟให้เห็น มีควันเล็กน้อย หรือไม่มีเลย ไฟชนิดนี้จะ เกิดจากไฟผิดดินและมีความรุนแรงของไฟน้อย

2.ไฟผิวดิน เป็นไฟที่เผาไหม้พวกซากพืชและพืชผลที่ ร่วงหล่นบนผิวดิน ได้แก่ เศษไม้ ปลายไม้ พืชชั้นล่าง ได้แก่ หญ้า พุ่มไม้ และลูกไม้ มีอัตราการลุกลามตั้งแต่ช้า จนเร็วมาก

3.ไฟเรือนยอด เป็นไฟที่ไหม้เรือนยอดไม้ และลุกลาม จากเรือนยอดหนึ่งไปสู่เรือน ยอดหนึ่ง ไฟชนิดนี้มีชนิดนี้มี ความรุนแรงมาก จะเกิดกับหมู่ไม้ที่มีความหนาแน่นมาก พฤติกรรมของไฟป่า ไฟป่าจะเกิดขึ้นจากจุดไฟเล็กๆเพียงแต่หัวไม้ขีดเสมด แล้วจะลุกลามขยาย วงกว้างออกไปทุกทิศทางยิ่งนาน ขนาดของไฟป่าจะใหญ่ขึ้น

สำหรับประเทศไทย ไฟป่าส่วนใหญ่จะเป็นไฟผิวดิน คือไฟที่ไหม้ลุกลามไปตามผิวดิน โดยเผาไหม้เชื้อเพลิงบนพื้นป่า อันได้แก่ ใบไม้ กิ่งก้านไม้แห้งที่ตกสะสมอยู่บนพื้นป่า หญ้า ลูกไม้เล็กๆ ไม้พื้นล่าง กอไผ่ ไม้พุ่ม โดยจะมีความสูงเปลวไฟ ตั้งแต่ 0.5 – 3 เมตร ในป่าเต็งรัง จนถึงความสูงเปลวไฟ 5 – 6 เมตร ในป่าเบญจพรรณที่มีกอไผ่หนาแน่นไฟป่าชนิดนี้ หากสามารถตรวจพบได้ในขณะเพิ่งเกิด และส่งกำลังเข้าไปควบคุมอย่างรวดเร็ว ก็จะสามารถควบคุมไฟได้โดยไม่ยากลำบากนัก แต่หากทอดเวลาให้ยืดยาวออกไปจนไฟสามารถแผ่ขยายออกเป็นวงกว้างมากเท่าไร การควบคุมก็จะยากขึ้นมากเท่านั้น

เช็กสาเหตุเกิดไฟป่าในประเทศไทย

ปัจจุบันสาเหตุการเกิดไฟป่าในประเทศไทย เกือบทั้งหมดเนื่องมาจาก การกระทำของมนุษย์ ไฟป่าจะ เกิดจากสาเหตุธรรมชาติน้อยมาก เนื่องจากประเทศไทย เป็นประเทศเกษตรกรรม พื้นที่และพื้นที่เพาะปลูกส่วน หนึ่งของราษฏรอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยสาเหตุหลักๆ มีดังนี้

1. เผาไร่ เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกโดยไม่มีการควบคุม 

2.เผาป่า เพื่อเก็บหาของป่า

3. ล่าสัตว์ เพื่อให้สัตว์หนีจากที่หลบซ่อน

4. เพื่อความ สะดวกในการเดินป่า

5.เลี้ยงสัตว์ เผาป่าเพื่อให้หญ้าอ่อนแดตกเป็นอาหารสัตว์

6. การพักแรมในป่า จุดเพื่อหุงต้มอาหาร

7. จุดเพื่อกลั่นแกล้ง กรณีเกิดการขัดแย้ง ระหว่าง ชาวบ้านกับส่วนราชการ

8.ความคึกคะนอง บางครั้งการจุดไฟเผาป่าเกิดจากความคึกคะนองของผู้จุด โดยไม่มีวัตถุประสงค์ใด ๆ แต่จุดเล่นเพื่อความสนุกสนาน เท่านั้น

นอกจากนั้น ยังเกิดได้จากตามธรรมชาติ 

ไฟป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ เช่นฟ้าผ่า กิ่งไม้เสียดสีกัน ภูเขาไฟระเบิด ก้อนหินกระทบกัน แสงแดดตกกระทบผลึกหิน แสงแดดส่องผ่านหยดน้ำ ปฏิกริยาเคมีในดินป่าพรุ การลุกไหม้ในตัวเองของสิ่งมีชีวิต (Spontaneous Combustion) แต่สาเหตุที่สำคัญ คือ

  •  ฟ้าผ่า เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดไฟป่าในเขตอบอุ่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศแคนาดา พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของไฟป่าที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากฟ้าผ่า 
  •  กิ่งไม้เสียดสีกัน อาจเกิดขึ้นได้ในพื้นที่ป่าที่มีไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและมีสภาพอากาศแห้งจัด เช่น ในป่าไผ่หรือป่าสน

ช่วงเวลาไหนหรือและพื้นที่ใดบ้าง? มักเกิดไฟป่า

ไฟป่าในที่นี้ จะกล่าวถึงเฉพาะไฟป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งมักเกิดขึ้นบริเวณทางตอนบนของประเทศ เช่น ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะเกิดในช่วงระหว่างปลายเดือนกุมภาพันธถึงต้นเดือนพฤษภาคม สําหรับภาคใต้มักได้รับผลกระทบจากไฟป่าที่เกิดขึ้นบริเวณเกาะสุมาตราของประเทศอินโดนีเซีย สาเหตุของการเกิดไฟป่าจะขึ้นกับสภาพอากาศและสสารที่เป็นเชื้อเพลิงโดยรอบพื้นที่นั้น ๆ เป็นสําคัญ

พื้นที่จังหวัดที่เสี่ยงภัยต่อการเกิดไฟป่า

ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.ลำพูน จ.ลำปาง จ.ตาก จ.แพร่ จ.สุโขทัย จ.พิจิตร จ.เพชรบูรณ์ และ จ.พิษณุโลก

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา จ.ชัยภูมิ จ.ขอนแก่น จ.มหาสารคาม จ.สุรินทร์ และ จ.บุรีรัมย์

ภาคกลาง จ.ราชบุรี จ.กาญจนบุรี จ.สุพรรณบุรี จ.ชัยนาท จ.นครสวรรค์ จ.อุทัยธานี จ.ลพบุรี จ.สระบุรี และ จ.อ่างทอง

ภาคตะวันออก จ.นครนายก จ.ปราจีนบุรี จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และ จ.ระยอง

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก จ.เพชรบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.นครศรีธรรมราช

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก จ.พังงา จ.กระบี่ จ.ตรัง และ จ.สตูล

วิธีการแก้ปัญหาและป้องกันไฟป่า

ทุกประเทศทั่วโลก ต่างให้ความสำคัญในการแก้ปัญหา ไฟป่า หรือที่เรียกว่า the need for global solutions and collective actions และซึ่งไฟป่ามีความเชื่อมโยงโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือวิกฤตโลกร้อน ดังนั้นทั่วโลกจึงควรใช้ผลกระทบไฟป่า เป็นบทเรียน เพื่อเร่งการแก้วิกฤตโลกร้อนร่วมกัน ซึ่งคือการบรรลุข้อตกลงปารีส

โดยทุกประเทศ ทุกภาคส่วน ร่วมกันแสดงเจตจำนงค์และดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม

การที่จะนำมาสู่การแก้ปัญหาได้จริงนั้น ต้องมีความทะเยอทะยานที่จะตั้งเป้าให้สูงที่สุดในการลดก๊าซเรือนกระจกและลงมือทำทันที 

ในส่วนของภาครัฐ  หรือรัฐบาลของแต่ละประเทศก็มีการแสดงเจตจำนงการมีส่วนร่วมของประเทศในการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ NDC ซึ่งไทยเองก็ตั้งเป้าหมายขั้นต่ำไว้ร้อยละ 40 ให้ได้ภายในปี 2030  

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่ได้รวมภาคส่วนป่าไม้และเกษตรเข้าไปในเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก (Mitigation target)  ซึ่งเป็นภาคส่วนที่เกี่ยวกับไฟป่า แต่ก็มีอยู่ในแผนด้านการปรับตัว (Adaptation plan)  

อย่างไรก็ตาม มีการเสนอและเรียกร้องจากนักวิชาการและนักอนุรักษ์ทั่วโลกว่า ตัวเลขการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะรวมไปในเป้าหมายของ NDC ของทุกประเทศ ควรรวมเอาตัวเลขการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากไฟป่าด้วย ทั้งมาจากการไหม้ตามธรรมชาติและการไหม้จากมือมนุษย์ หากรวมไปกับตัวเลขการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศแล้ว ก็จะเป็นแรงผลักดันที่มีประสิทธิภาพต่อรัฐบาลในการที่จะให้ความสำคัญกับปัญหาไฟป่า

โดยที่สำคัญ คือการลงทุนหรือใช้งบประมาณไปกับการป้องกัน มากกว่าการดับไฟ ซึ่งปริมาณเงินภาษีหรืองบประมาณที่สูญเสียไปกับการดับไฟในหลายประเทศนั้น มีตัวเลขที่สูงขึ้น ในขณะที่งบประมาณเชิงการป้องกันนั้น ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าและยั่งยืนมากกว่า กลับถูกลดลง เช่นเดียวกับงบประมาณฟื้นฟูก็ทำให้งบประมาณเชิงป้องกันนั้นถูกลดลง 

ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปถึงรัฐบาล

ทั้งนี้ การดำเนินงานเชิงป้องกันไฟป่านั้น จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะจากระดับท้องถิ่น และต้องอาศัยการกระจายอำนาจ ซึ่งในประเทศไทยนั้น อาจเป็นทางตรงข้าม ซึ่งมีการรวมศูนย์อำนาจที่รัฐบาลกลาง ที่รวมศูนย์ทั้งงบประมาณ การกำหนดและดำเนินนโยบาย รวมถึงการตัดสินใจ

ดังนั้น จะเห็นว่าการแก้ปัญหาไฟป่าในไทยเองขาดประสิทธิภาพ ทั้งไม่ทันต่อปัญหา สิ้นเปลืองงบประมาณ และไม่เน้นงานเชิงป้องกัน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่สุด  การป้องกันไฟป่านั้น สิ่งแรกคือการวิเคราะห์ถึงต้นเหตุของไฟป่า เช่น การจุดไฟเผาป่า และวิถีการทำเกษตรเชิงเดี่ยว ซึ่งอาจเป็นการรุกเผาป่าเปลี่ยนพื้นที่ทำเกษตร และการเผาตอซังเพื่อทำเกษตร

สำหรับในประเทศไทย จะเห็นได้ชัดว่า อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ หรือการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นสาเหตุหลักของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าและไฟป่านั้นเอง 

"การป้องกันไฟป่ายังต้องอาศัยความร่วมมือกับชุมชนเป็นหลัก ในการมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรป่า การเฝ้าระวัง เช่น โครงการชุมชนเฝ้าระวังไฟป่าและการทำลายป่า การทำแนวกันไฟแบบธรรมชาติ และการฟื้นฟูป่า เพิ่มพื้นที่ป่า และสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่กันชน   สิ่งที่สำคัญในการดำเนินนโยบายหรือแผนงานต่าง ๆ นั้น จะต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและหลักวิทยาศาสตร์ การใช้นำภูมิปัญญาดั้งเดิม ผนวกกับการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้"

 เมื่อเกิดไฟป่าและความเสียหาย ก็ต้องมีการประเมินผลกระทบ เพื่อที่จะจัดลำดับความสำคัญของการฟื้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทั้งนี้ ภาระความรับผิดชอบต้องไม่จำกัดเฉพาะภาครัฐ แต่ควรเป็นความรับผิดชอบของภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเกษตร ท่องเที่ยว พลังงาน และอื่น ๆ และภาคธุรกิจเหล่านี้ก็ต้องยุติการเกี่ยวข้องกับการทำลายป่า เช่นอุตสาหกรรมอาหารสัตว์และปศุสัตว์ ต้องยุติการทำลายป่าในห่วงโซ่อุปทาน เป็นต้น เป็นความรับผิดชอบของทุกคน ซึ่งสามารถมีส่วนช่วยในการป้องกันไฟป่าได้

อ้างอิง : ส่วนควบคุมไฟป่า สำนักป้องกัน ปราบปราม และควบคุมไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  ,กรมอุตุนิยมวิทยา ,องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ประเทศไทย