“ซีพีเอฟ” องค์กรยั่งยืน ร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารของโลก

“ซีพีเอฟ” องค์กรยั่งยืน ร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารของโลก

“ความมั่นคงทางอาหาร” เป็นอีกหนึ่งปัญหาความมั่นคงที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญ และจำเป็นต้องผนึกกำลังสร้างมาตรการรับมือกับความท้าทายดังกล่าว สำหรับประเทศไทยเอง แม้เราจะเป็นประเทศที่เป็นฐานในการผลิตอาหารและมีวัตถุดิบที่หลากหลาย

แต่ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดลง ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศได้ ทั้งในระดับอุตสาหกรรมและครัวเรือน ยิ่งในปี 2565 นอกจากภาวะเงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบ 13 ปี ราคาวัตถุดิบเพื่อนำไปประกอบอาหารสูงขึ้นแล้ว ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ

ในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจรและเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลก “บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ” ตระหนักและมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ของประเทศและของโลก

“ซีพีเอฟ” องค์กรยั่งยืน ร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารของโลก

นายวุฒิชัย  สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส  ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาความยั่งยืน ซีพีเอฟ  กล่าวว่า ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์เป็น “ครัวของโลกที่ยั่งยืน “ ตระหนักดีว่าต้นทางการผลิตอาหารต้องพึ่งพิงความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า  ดังนั้น การสร้างความมั่นคงทางอาหาร จึงเป็นหน้าที่สำคัญที่ซีพีเอฟ ต้องมีส่วนร่วมในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการอนุรักษ์ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของ ดิน น้ำ ป่า โดยบริษัทฯให้ความสำคัญตลอดกระบวนการผลิตต้นน้ำถึงปลายน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ซีพีเอฟ ชู Smart Process เคลื่อนธุรกิจอาหาร สู่ความยั่งยืน

CPF ขึ้นแท่น “บริษัทที่โดดเด่นที่สุดแห่งเอเชีย ในธุรกิจเกษตร ประจำปี 2022

" ซีพีเอฟ "ปรับแผนบริหารจัดการ ธุรกิจโตได้ในภาวะวิกฤติทับซ้อน

CPF ติดอาวุธ คู่ค้า SME เพิ่มขีดความสามารถจัดหาอาหารปลอดภัยได้มาตรฐานสากล

 

ซีพีเอฟ มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหาร  ด้วยกลยุทธ์ความยั่งยืน CPF  2030  Sustainability in Action ที่สามารถตอบโจทย์เป้าหมาย SDGs ได้ครบทั้ง 17 ประการ รวมทั้งสอดรับกับเป้าหมายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

อาทิ การจัดหาอย่างรับผิดชอบต่อโลก การบริหารทรัพยากรที่เป็นเลิศ เคารพสิทธิมนุษยชนและแรงงานตลอดห่วงโซ่อุปทาน ส่งเสริมคู่ค้าธุรกิจปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานตามหลักสากลในด้านสิทธิมนุษยชน   การทำการตลาดอย่างรับผิดชอบ  เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม  การไปสู่เป้าหมายสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ที่มองภาพและเห็นเป้าหมายเดียวกัน เพื่อให้เกิดพลังร่วม ที่จะขับเคลื่อนการทำงานไปสู่เป้าหมายดังกล่าว

“ซีพีเอฟ” องค์กรยั่งยืน ร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารของโลก

นายวุฒิชัย ขยายความว่า เริ่มต้นจากกระบวนการจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบต่อโลก ซีพีเอฟดำเนินงานตามความมุ่งมั่นว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและการต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่ามาโดยตลอด และแบ่งปันแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนแก่คู่ค้า ผ่านนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ  เป็นการสร้างพื้นฐานการดำเนินธุรกิจที่มั่นคงบนพื้นฐานของการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างเป็นระบบตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อลดผลกระทบ ซึ่งในธุรกิจผลิตอาหารต้องพึ่งพาห่วงโซ่อุปทาน เป็นวงจรที่ใหญ่ และต้องดูแลคู่ค้า ให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

“ซีพีเอฟ” องค์กรยั่งยืน ร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารของโลก

เช่นเดียวกับในกระบวนการผลิตภายใต้เป้าหมายความยั่งยืน ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจเชิงรุกมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) โดยได้กำหนดแนวปฏิบัติในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต  นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับกระบวนการผลิต ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน 

พัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ สร้างโรงงานและฟาร์มแห่งอนาคต นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy มาใช้ บริหารจัดการทั้งกระบวนการให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสูงสุด และลดการใช้ที่ไม่จำเป็น ทั้งเรื่องเชื้อเพลิง พลังงาน การจัดการขยะ

อาทิ  โครงการนำระบบไบโอแก๊ส (Biogas) มาเปลี่ยนมูลสัตว์เป็นพลังงานทดแทนของสายธุรกิจสุกร ที่สามารถเป็นต้นแบบที่ดี (Best Practice) ให้กับฟาร์มและโรงงานอื่นๆ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการนำหลักเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) หรือ BCG มาใช้ ซึ่งปัจจุบันฟาร์มสุกรของซีพีเอฟทั้ง 98 แห่ง ใช้พลังงานจากก๊าซชีวภาพ มาเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าในฟาร์ม ลดต้นทุนด้านไฟฟ้าได้ถึง 50-80% ของค่าไฟทั้งหมด

“ซีพีเอฟ” องค์กรยั่งยืน ร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารของโลก บริษัทฯ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable  Energy) ปัจจุบันมีสัดส่วนที่ 27% ของการใช้พลังงานทั้งหมดแบ่งเป็น พลังงานชีวมวล (Biomass) 65%   พลังงานจากก๊าซชีวภาพ (Biogas) 33% และพลังงานจากแสงอาทิตย์ (Solar Energy) ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 690,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี  หรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 78 ล้านต้น (ประมาณ 3.6 แสนไร่)

ในปี 2565 นี้ มีเป้าหมายยกเลิกการใช้ถ่านหินสำหรับกิจการในประเทศไทย และหันมาใช้พลังงานชีวมวลแทน  ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีก  190,000ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

“ซีพีเอฟ” องค์กรยั่งยืน ร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารของโลก นอกจากนี้ ซีพีเอฟมุ่งมั่นพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ หรือ Low-Carbon Products ในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์  อาทิ หมู ไก่ กุ้ง อาหารสัตว์ ซึ่งปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 700 รายการที่ได้รับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และได้รับการรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และกว่า 50 รายการเป็นผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำที่ได้รับรองฉลากลดโลกร้อนจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ทำให้ในปี 2564 ซีพีเอฟมีสัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์สีเขียว (CPF Green Revenue)  อยู่ที่ 33% ของรายได้รวม และมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนรายได้เป็น 40% ภายในปี 2573

“ซีพีเอฟ” องค์กรยั่งยืน ร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารของโลก

นายวุฒิชัย ยังได้แชร์เพิ่มเติม ว่าบริษัทฯ ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อจากพืช (Plant-based Meat) ที่ผลิตด้วยนวัตกรรม ‘PLANT-TEC’ ทำให้ได้เนื้อทางเลือกที่มีความเหมือนเนื้อสัตว์จริง ทั้งลักษณะชิ้นเนื้อ รสชาติ กลิ่นและเนื้อสัมผัส ตอบโจทย์เทรนด์โลก เอาใจผู้บริโภคที่รักษ์สุขภาพ รวมไปถึงการใช้บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน ซีพีเอฟใช้บรรจุภัณฑ์อาหาร 99.9% เป็นพลาสติกที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) หรือนำมาใช้ใหม่ (Recyclable) หรือนำไปผลิตเป็นสินค้าใหม่ (Upcyclable) หรือย่อยสลายได้ (Compostable)

“ซีพีเอฟ” องค์กรยั่งยืน ร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารของโลก

อีกด้านหนึ่งของการมุ่งสู่องค์กรยั่งยืนที่มีเป้าหมายสร้างความมั่นคงทางอาหาร   ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพผ่านโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าชายเลน เช่น โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง จังหวัดลพบุรี ที่ดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูผืนป่าไปแล้ว  7,000 ไร่ โดยมีเป้าหมายที่จะขยายฟื้นที่เพิ่มเป็น 12,000 ไร่ ในระยะที่สอง (ปี  2564-2568) รวมทั้งการอนุรักษ์ป่าชายเลน ซึ่งในระหว่างปี 2562 -2566 จะดำเนินการต่อเนื่องในพื้นที่จังหวัดระยอง สมุทรสาครและจังหวัดตราด

“ซีพีเอฟ” องค์กรยั่งยืน ร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารของโลก

ผลสะท้อนจากความมุ่งมั่นก้าวสู่องค์กรยั่งยืน ทำให้“ซีพีเอฟ” ได้รับรางวัลการันตีความสำเร็จจากเวทีต่างๆ อาทิ รางวัลดีเด่นด้านความยั่งยืน Highly Commended in Sustainability Awards เวที SET Awards 2022 เพื่อยกย่อง เชิดชู สร้างความภาคภูมิใจ และเป็นกำลังใจให้แก่บริษัทจดทะเบียน สะท้อนถึงความมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคง และยั่งยืน โดยคำนึงถึงหลักปรัชญา 3 ประโยชน์ คือ ประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และบริษัท  รางวัลเกียรติคุณ  Sustainability Disclosure Award จากสถาบันไทยพัฒน์ 

นอกจากนี้  ซีพีเอฟยังได้รับรางวัล SOS Awards 2022 ประเภท “OUTSTANDING FOOD RESCUE AWARD - BIG MANUFACTURING GROUP” จากมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ หรือ SOS ร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืนให้แก่ประเทศไทย และเป็นพันธมิตรผู้ผลิตอาหารที่สนับสนุนการดำเนินโครงการ เพื่อช่วยเหลือผู้ขาดแคลนอาหารอย่างต่อเนื่อง จากความร่วมมือในการดำเนินโครงการ "Circular Meal มื้อนี้เปลี่ยนโลก" ซี่งในปี 2565 ได้นำวัตถุดิบส่งมอบให้ SOS นำไปปรุงเป็นเมนูอร่อย สะอาด และมีคุณภาพรวม 20 ตันหรือประมาณ 85,000 มื้อ ส่งให้กลุ่มผู้เปราะบางและชุมชนมากกว่า 85 ชุมชน รอบกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

ซีพีเอฟ เดินหน้าขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์กรยั่งยืนที่มีความมุ่งมั่นทำหน้าที่สร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับประเทศไทยและโลก  ส่งเสริมการเข้าถึงอาหารอย่างเท่าเทียม บนพื้นฐานของคุณภาพ ความปลอดภัย มีโภชนาการที่ดีในทุกคำที่บริโภค   ด้วยราคาที่ผู้บริโภคเข้าถึงได้ พร้อมกับการดูแลฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นต้นทางของการผลิตอาหารให้เกิดความมั่นคง และยั่งยืนตลอดไป