กยท. จับมือMSL ทำสวนยางอินทรีย์ ยกระดับขึ้นมาตรฐานMoreganic©

กยท. จับมือMSL ทำสวนยางอินทรีย์ ยกระดับขึ้นมาตรฐานMoreganic©

กยท. ร่วม MSL ส่งเสริมการทำสวนยางอินทรีย์ ภายใต้มาตรฐาน Moreganic© ก้าวทันเทรนด์โลก มุ่งเพิ่มรายได้-คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย  เปิดเผยว่าปัจจุบันสถานการณ์โลกตระหนักถึงความปลอดภัยในอาหารและผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากจากสารเคมีมากขึ้น โดยให้ความสำคัญตั้งแต่กระบวนการผลิต ซึ่ง กยท. มองว่าผลิตภัณฑ์ยางพาราเป็นสินค้าที่ควรให้ความสำคัญในเรื่องนี้

กยท. จับมือMSL ทำสวนยางอินทรีย์ ยกระดับขึ้นมาตรฐานMoreganic©

โดยที่ผ่านมา กยท.ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางหันมาทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ตัดไม้ทำลายป่า ผลักดันให้มีการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล และสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชแบบผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ แทนปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำมาสู่การลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงความร่วมมือในการส่งเสริมการทำสวนยางอินทรีย์ ระหว่าง กยท. และMY SMART LATEX CO. LTD. (MSL)ประเทศไทยในครั้งนี้

 

ซึ่งจะเป็นกรอบแนวทางความร่วมมือภายใต้สัญญาในรูปแบบต่างๆ ร่วมกันในอนาคต ตามมาตรฐานการจัดการสวนยางMoreganic© ซึ่งให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้บริโภคและการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาห่วงโซ่คุณค่ายางพาราให้มีความยั่งยืนตั้งแต่การจัดการสวนยาง สามารถยกระดับผลผลิตยางพาราให้เป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ หรือMoreganic© ที่จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ยางพารา

กยท. จับมือMSL ทำสวนยางอินทรีย์ ยกระดับขึ้นมาตรฐานMoreganic©

การจัดการสวนยางตามมาตรฐานMoreganic©จะเป็นอีกแนวทางสำคัญในการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรสวนยางให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย วันนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ กยท. และภาคเอกชนจะได้ร่วมกันวางแนวทางสร้างระบบการจัดการสวนยางและแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางอินทรีย์ให้มีคุณภาพ สร้างความตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคและการทำเกษตรอินทรีย์ในสวนยาง

กยท. จับมือMSL ทำสวนยางอินทรีย์ ยกระดับขึ้นมาตรฐานMoreganic©

โดยการถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมการทำสวนยางตามมาตรฐานMoreganic©ซึ่งผลผลิตยางพาราจะถูกนำไปแปรรูปเป็นสินค้าMoreganic©เกิดการสร้างรายได้ให้กับชาวสวนยาง เพิ่มช่องทางในการกระจายผลผลิต นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกร มีตลาดและช่องทางจำหน่ายผลผลิตมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถบริหารจัดการทรัพยากรทางการเกษตรในสวนยางพาราอย่างสมดุลและยั่งยืนอีกด้วย