จับตาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มาแรงขอควบรวมธุรกิจปี 67

จับตาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มาแรงขอควบรวมธุรกิจปี 67

เลขาคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ชี้ เทรนด์ แนวโน้มควบรวมธุรกิจปี 67 เพิ่มต่อเนื่อง ถึงคิวธุรกิจโลจิสติกส์ ดีลิเวอรี่ จับตาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มาแรง เผย สถิติปี 66 ควบรวม 28 ราย มูลค่า 3.9 แสนล้านบาท

นายวิษณุ วงศ์สินศิริกุล เลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) กล่าวถึงแนวโน้มการควบรวมธุรกิจในปี2567 ว่า เชื่อว่าแนวโน้มการควบรวมน่าจะเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ เช่น ขนส่ง ดิลิเวอรี่ ซึ่งต้องยอมรับว่า หลายธุรกิจก็รุ่ง บางธุรกิจก็ไปไม่ไหว โดยขนาดของธุรกิจจะเป็นไซส์กลางและเล็ก เนื่องจากสายป่านทางธุรกิจไม่ยาวมากนักและมีการแข่งขันสูง และธุรกิจด้านออนไลน์

โดยก่อนหน้านี้ที่ทำให้มีการควบรวมธุรกิจเพิ่มก็มาจากผลกรทบสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ปัจจุบันสาเหตุสำคัญมาจากการแข่งขันที่สูงขึ้น ธุรกิจใดที่สายป่านไม่ยาว การทำตลาดไม่สอดคล้องกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน ก็จะเลือกกิจการหรือต้องควบรวมธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางธุรกิจก็มีส่วนหรือเป็นตัวแปรสำคัญในการควบรวมธุรกิจ เช่น ธุรกิจดิลิเวอรี่ ขนส่ง โลจิสติกส์ ส่วนใหญ่ที่ผ่านมาผลประกอบการขาดทุนเพิ่งจะมาเริ่มดีขึ้นหลังยุคโควิด โดยเฉพาะธุรกิจโซส์เล็ก ซึ่งเมื่ือพิจารณาจากคดีที่เข้ามาเห็นได้จากขอบเขตตลาด รายได้ จะพบว่าธุรกิจจะซบเซาลง

จับตาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มาแรงขอควบรวมธุรกิจปี 67

อีกธุรกิจหนึ่งที่น่าจับตามองและมีแนวโน้มการควบรวมธุรกิจมากขึ้นคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่รายใหญ่ หรือรายใหญ่ไปเทกโอเวอร์รายเล็ก เทรนด์นี้กำลังมาแรง เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซบเซา รายเล็กผลประกอบการไม่ดี รายใหญ่ก็ถือโอกาสควบรวมกิจการกับรายเล็กเพราะเวลาซื้อกิจการก็จะมีราคาถูก เพราะธุรกิจเหล่านี้เมื่อซื้อกิจการก็จะได้ที่ดินที่ถือครองมาโดยอัตโนมัติ แทนที่จะซื้อที่ดินและอาจเป็นการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีที่ดินหรือไม่ เพราะอัตราภาษีที่ดินค่อนข้างสูง

“การควบรวมกิจการแบบนี้ส่วนใหญ่เป็นการแจ้งขอควบรวมธุรกิจไม่ใช่เป็นการขออนุญาต เพราะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ไม่ใช่ขนาดใหญ่ แม้มูลค่าบางตัวอาจจะมาก ธุรกิจแบบนี้คล้ายกับธุรกิจประกันภัยที่มูลค่าสูง แต่ไม่ใช่ยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจเฉพาะเหมือนธุรกิจพลังงานที่มีไม่ราย แต่ละรายมีมูลค่าทางการตลาดสูงมากที่สามารถครองตลาดได้”

สำหรับสถิติการควบรวมธุรกิจในปี 2566  มีจำนวน 28 ราย แยกเป็น การแจ้งขอรวมธุรกิจ  27  เรื่อง เป็นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค  2 เรื่อง ธุรกิจการเงิน  3 เรื่อง สินค้าอุตสาหกรรม 12 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 4 เรื่อง บริการ 6 เรื่อง และการขออนุญาต  1 เรื่อง เป็นธุรกิจด้านทรัพยากร มีมูลค่าการรวมธุรกิจ  395,287,159,167 บาท แบ่งเป็นมูลค่าการขออนุญาต 30,608,000,000 บาท ส่วนการแจ้งผลการรวมธุรกิจมีมูลค่า 364,679,159,167 บาท

โดยกขค.มีมติเรื่องการแจ้งผลการรวมธุรกิจแล้ว 22 เรื่อง แบ่งเป็น รับทราบผลการรวมธุรกิจตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง ของพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า  จำนวน 19 เรื่อง รับทราบผลการรวมธุรกิจ 3 เรื่อง และอยู่ในระหว่างการดำเนินการ 5 เรื่อง ส่วนการอนุญาตให้รวมธุรกิจโดยกำหนดระยะเวลาหรือเงื่อนไขประกอบการอนุญาตรวมธุรกิจจำนวน 1 เรื่อง

ส่วนมูลค่าการรวมธุรกิจตั้งแต่ปี 2562-2566 มูลค่ารวม 4,283,258,025,828  บาท แยกเป็นมูลค่าการขออนุญาต มูลค่า 1,093,942,681,478 บาท และมูลค่าการแจ้งรวมธุรกิจ  3,243,315,344,350 บาท

นายวิษณุ กล่าว ส่วนกรณีการควบรวมธุรกิจขนาดใหญ่เช่นกรณีซีพีควบรวมโลตัส หรือ กรณีบางจากควบรวมกับเอสโซ่ในปีนี้น่าจะไม่มี เพราะสัญญาณใดที่บ่งบอก อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาที่คณะกรรมการการแข่งขันได้มีการตรวจสอบการปฏิบัตตามเงื่อนไขการควบรวมธุรกิจ  2 รายใหญ่

โดยจาการตรวจสอบพบว่า ซึ่งทั้ง 2 ราย จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กขค.กำหนด โดยกรณีซีพีควบรวมโลตัสที่มี 7 เงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติ ทำกลุ่มซีพีก็ได้ดำเนินตามเงื่อนดังกล่าว โดยได้รายงานให้กับ กขค.ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยบางเงื่อนไขก็จะครบระยะเวลาการดำเนินการแล้ว เช่นเดียวกับกรณีบางจากที่ต้องรายงานผลการปฏิบัติตามเงื่อนไขคาดว่าน่าจะรายงานได้ในไตรมาสแรกของปีนี้