เปิดแผนระดมทุนสหรัฐ ‘อินโดรามา’ ดัน 2 ธุรกิจหาทุน 3.5 หมื่นล้าน

เปิดแผนระดมทุนสหรัฐ ‘อินโดรามา’ ดัน 2 ธุรกิจหาทุน 3.5 หมื่นล้าน

“อินโดรามา” เล็ง IPO หุ้นสหรัฐในปีหน้ามูลค่า 1.0 พันล้านดอลลาร์ หรือ ราว 35,000 ล้าน ใน 2 กิจการ “IOD-Packaging” ปูทางลงทุน 3 ปีดัน EBITDA 60% พร้อมกางแผนปิดและย้ายการผลิตโรงงาน 6 แห่ง

KEY

POINTS

  • "อาลก โลเฮีย" CEO IVL ยอมรับยอดขายและกำไรปี 66 ลดลงเนื่องจากโรงงานจากจีนแย่งส่วนแบ่ง 
  • IVL คาดปี 68 จะนำ 2 ธุรกิจหลักคือ ธุรกิจ IOD กับ แพ็คเก็จจิ้ง IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐ และเอเซัยตั้งเป้ามูลค่า 35,000 ล้าน
  • "อินโดรามา" ระบุ 80% ของสินค้าที่ IVL ผลิต จะใช้ในสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ตรงกันข้ามกับสินค้าที่คงทน จึงจะมีปริมาณการขายที่มาก
  • มองเศรษฐกิจปี 2567 จะยังคงมีความต้องการมากขึ้น IVL ตั้งเป้ากำลังผลิตปี 2567 ที่ 15 ล้านตัน 

 

 

“อินโดรามา” เล็ง IPO หุ้นสหรัฐในปีหน้ามูลค่า 1.0 พันล้านดอลลาร์ หรือ ราว 35,000 ล้าน ใน 2 กิจการ “IOD-Packaging” ปูทางลงทุน 3 ปีดัน EBITDA 60% พร้อมกางแผนปิดและย้ายการผลิตโรงงาน 6 แห่ง

นายอาลก โลเฮีย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จํากัด (มหาชน) หรือ IVL กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ว่า จากการดำเนิดปี 2566 ที่ยอดขายและกำไรลดลงเนื่องจากโรงงานจากจีน ส่งผลให้ซัพพลายเพิ่มสูงขึ้นจากดีมานด์ที่เท่าเดิม จะเห็นว่ารายได้ปี 2565 ของบริษัทอยู่ที่ 656,266 ล้านบาท ต่างจากปี 2566 ลดลงมาอยู่ที่ 541,458 ล้านบาท 

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ตั้งเป้ารายได้ปีนี้เพิ่มขึ้นระดับ 7-10% หากรวม 3 ปี จะเพิ่มประมาณ 20% จากกรอบแผนงาน 3 ปี (2567-2569) โดยปี 2568 กิจการที่จะระดมทุน (IPO) คาดว่าจะเป็นสหรัฐสำหรับ IOD Downstream ส่วน Packaging จะระดมทุนในเอเซีย ตั้งเป้ามูลค่า 1.0 พันล้านดอลลาร์ หรือ ราว 35,000 ล้านบาท โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ อาทิ การจัดตั้งชื่อบริษัท เป็นต้น

สำหรับอินโดรามาดำเนินธุรกิจใน 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1. ธุรกิจ PET พลาสติกที่ทำขวดน้ำดื่ม 2. ธุรกิจไฟเบอร์ และ 3. ธุรกิจ IOD ถือว่ามีการเติบโตที่ดีทั้ง 140 โรงงาน ใน 35 ประเทศ ในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีหลากหลายประเภท ถือเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในโลก เช่น โพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลตที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในขวดพลาสติก ธุรกิจยานยนต์ อาทิ ล้อรถยนต์ ถุงลมนิรภัยรวมถึงรีไซเคิลรายใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีสารตั้งต้นหลายอย่าง รวมถึงสนับสนุนในกลุ่มไลฟ์สไตล์ อาทิ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม กลุ่มสุขอนามัย เช่นหน้ากากอนามัย และแพมเพิส เป็นต้น 

ดังนั้น ในการดำเนินธุรกิจต่อจากนี้ บริษัทฯ จะเน้นบริหารจัดการโรงงานให้มีประสทิธิภาพโดยมีแผนปิดและย้ายการผลิตโรงงาน 6 แห่ง ที่มีต้นทุนสูง เพราะธุรกิจบริษัทฯ ขึ้นอยู่กับกำลังการผลิต โดยปีที่ผ่านมาบริษัทเดินเครื่องได้ 74% จึงตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตปี 2569 ที่ 89% เพื่อเพิ่มรายได้ระดับ 10% และ EBITDA ที่ 60%

อย่างไรก็ตาม จากการที่ปี 2564-2565 บริษัทฯ สามารถดำเนินธุรกิจได้ดีมากกว่าปกติ เนื่องจากมีปัจจัยในเรื่องของปัญหาซัพพลายเชนที่ขาดตลาด ต่อมาปี 2566 ยอมรับว่าบริษัทฯ ต้องสูญเสียรายได้มากกว่าปกติ เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว โรงงานจีนมาแย่งตลาด ซัพพลายเชนกลับมาปกติ แทนที่บริษัทฯ จะขายได้มากขึ้นแพงขึ้นก็ได้น้อยลง เนื่องจากลูกค้าไม่ต้องสต็อกสินค้าเพิ่ม กำลังการผลิตกลับสู่ระดับใกล้เคียงกับปี 2563 ที่มีกำลังการผลิตที่ 14.5 ล้านตัน 

"ปี 2564-2565 กำลังผลิตอยู่ที่ 15.5 ล้านตัน ส่วนปี 2566 กำลังผลิตอยู่ที่ 14 ล้านตัน ซึ่งเมื่อรวมกำลังผลิตและราคาที่ต้องขายถูกกว่าจึงทำให้รายได้ลดน้อยลงด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อเราเฉลี่ยกำลังผลิตทั้ง 5 ปี จึงมีค่าเฉลี่ยกำลังการผลิตอยู่ที่ 14.9 ล้านตัน ถือว่าไม่แตกต่างมากนัก แต่สิ่งที่แตกต่างคือในเรื่องของรายได้ที่ต้องขายถูกเพราะโดนตลาดจีนตีตลาดและดอกเบี้ยที่สูงขึ้น"

อย่างไรก็ตาม หากมองในด้านความต้องการจะเห็นว่า 80% ของสินค้าที่ IVL ผลิต จะใช้ในสินค้าที่มีอยู่รอบตัวมีการใช้ในชีวิตประจำวัน จึงถือเป็นสิ่งของจำเป็นของผู้บริโภค ตรงกันข้ามกับสินค้าที่คงทน โดยสิ่งที่บริษัทฯ ผลิตไม่ใช่สินค้าที่นำไปใช้ระยะยาว จึงจะมีปริมาณการขายที่มากอยู่ อีกทั้ง มองว่า เศรษฐกิจปี 2567 จะยังคงมีความต้องการมากขึ้น บริษัทฯ จึงตั้งเป้ากำลังผลิตปี 2567 ที่ 15 ล้านตัน 

"ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมาก ซึ่งกระทบทั่วโลก ถ้าจะทำความเข้าใจต้องย้อนกลับไปปี 2008 วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ทุกคนดั้มราคาได้ ตอนนี้ปกติ ราคาน้ำมัน เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น การดำเนินธุรกิจต้องเดินไปกับโลกเพราะเรามีธุรกิจทั่วโลก แน่นอนว่าทุกคนระมัดระวังค่าใช้จ่ายมากขึ้น ตัวความต้องการอาจต่ำกว่านิดนึง ดังนั้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความต้องการ แต่อยู่ที่ซัพพลาย เพราะจริง ๆ ต้องใช้ทุกวัน ดีมานด์ยังมี" 

ทั้งนี้ ปัญหาที่เห็นชัดคือช่วงโควิดทุกโรงงานหยุด ในจีนหลายแห่งไม่ผลิต แต่ตอนนี้จีนกลับมามีอุปทานมากขึ้น แต่ดีมานด์และความต้องการไม่ต่าง ลูกค้าสามารถต่อรองราคาได้มากขึ้น บริษัทฯ จึงต้องรอบคอบ และขยันขันแข็งมากขึ้นเพราะต้นทุนต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้น จึงจะเห็นว่าบริษัทฯ จะใช้เงินลงทุนลดลงจากปีที่ผ่านมาที่ลงทุน 26,250 ล้านบาท มาอยู่ที่ 23,100 ในปีนี้ ในขณะที่ปี 2569 ก็มีแผนลดเงินลงทุนลงเหลือระดับ 2 หมื่นล้านบาท เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายดอกเบี้ย อีกทั้ง กำลังการผลิตเป็นไปตามเป้าก็ไม่ต้องลงทุนอะไรเพิ่ม