เปิดไทม์ไลน์ ป่าเขาใหญ่ 3.3 หมื่นไร่ ใครรุกใคร “ ส.ป.ก.- กรมอุทยานฯ”

เปิดไทม์ไลน์ ป่าเขาใหญ่ 3.3 หมื่นไร่ ใครรุกใคร “ ส.ป.ก.- กรมอุทยานฯ”

ยังเป็นประเด็นที่คาใจ ในข้อพิพาทป่าเขาใหญ่ กว่า 3 หมื่นไร่ ที่กรมอุทยานทวงคืนจริงจังจาก ส.ป.ก. แล้วความเป็นจริง หน่วยงานใด้กันแน่ที่ดูแลอยู่ ซึ่งมีรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง มีคำตอบ

KEY

POINTS

 

  • วันที่ 18 ก.ย.2505 ได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาใหญ่ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2505
  • ต่อมาวันที่ 3 มี.ค.2530 ครม.อนุมัติตามความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน ตามที่กระทรวงเกษตรฯ เสนอเนื้อที่ 33,896 ไร่ ให้กระทรวงเกษตรฯ ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
  • ตั้งแต่ปี 2538 กรมป่าไม้ (ขณะนั้นสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ) มีโครงการริเริ่มสร้างถนนป่าไม้ (แนวกันไฟ) ล้ำพื้นที่ ส.ป.ก.ซึ่งต่อมากรมอุทยานฯ ถือเป็นแนวเขตอุทยานฯ ซึ่งไม่ตรงแผนที่แนบท้าย พรฎ.อุทยานเขาใหญ่
  • กรมแผนที่ทหารทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี รายงานผลตรวจสอบแนวเขตที่ดินทับซ้อน มีผลตรวจสอบให้แปลงปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก.ไม่ทับซ้อนและอยู่นอกแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ยังเป็นประเด็นที่คาใจ ในข้อพิพาทป่าเขาใหญ่ กว่า 3 หมื่นไร่ ที่กรมอุทยานทวงคืนจริงจังจาก ส.ป.ก. แล้วความเป็นจริง หน่วยงานใด้กันแน่ที่ดูแลอยู่ ซึ่งมีรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง มีคำตอบ

แม้กรณีข้อพิพาทระหว่างสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ( ส.ป.ก.) กับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 จะจบลงด้วยดี เมื่อ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นชอบไม่ให้จัดสรรที่ดิน 3.3 หมื่นไร่ ที่ป่าเขาใหญ่ ให้กับเกษตรกร แต่ให้ใช้เป็นป่าในเขตปฏิรูปที่ดินแทน

แต่เพื่อให้เกิดความกระจ่างกระทรวงเกษตรฯได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ในความเป็นมาของพื้นที่ ที่จำแนกออกจากป่าไม้ถาวร “ป่าเขาใหญ่” อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ที่ ส.ป.ก.ได้รับมาดำเนินการปฏิรูปที่ดินนั้น สรุปได้ดังนี้

1. วันที่ 18 กันยายน 2505 ประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเขาใหญ่ ในท้องที่่ตำบลป่าขะ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอบ้านนา ตำบลหนองแสง ตำบลนาหินลาด อำเภอปากพลี ตำบลสาลิกา ตำบลหินตั้ง ตำบลพรหมณี อำเภอเมืองนครนายก  จังหวัดนครนายก

ตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม ตำบลสัมพันตา ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี , ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และตำบลมวกเหล็ก ตำบลซำผักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2505

 

2. วันที่่ 12 พฤศจิกายน 2506 ครม. มีมติเห็นชอบแนวเขตป่าไม้ถาวรแห่งชาติเขาใหญ่ ตามที่คณะกรรมการสำรวจจำแนกประเภทที่ดินได้เห็นชอบไว้เมื่อปี 2504 

3. วันที่ 26 ธันวาคม 2527 คณะกรรมการพัฒนาที่่ดิน ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เป็นรองประธาน และหัวหน้าส่วนราชการ 10 หน่วยงานเป็นคณะกรรมการ โดยมีอธิบดี กรมป่าไม้เป็นคณะกรรมการด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน และมีอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เป็นกรรมการและเลขานุการ มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 6/2527 เห็นชอบจำแนกพื้นที่ ถือครองที่ใช้ประโยชน์แล้วออกจากเขตป่าไม้ถาวรเป็นที่ทำกิน เนื้อที่ 33,896 ไร่ 

4. วันที่ 3 มีนาคม 2530 ครม. มีมติอนุมัติตามความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาที่ดินตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอเนื้อที่ 33,896 ไร่ ให้กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ไปดำเนินการ ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

5. วันที่ 23 มีนาคม 2531 คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (คปก.) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2531 มีมติอนุมัติให้นำที่จำแนกฯ ป่าเขาใหญ่ มาปฏิรูปที่ดินเนื้อที่ 33,896 ไร่ ในท้องที่ตำบลหมูสี ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

6. วันที่ 8 ธันวาคม 2534 ได้มีพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอสีคิ้วอำเภอสูงเนิน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2534

7. ตั้งแต่ปี 2538 กรมป่าไม้(ขณะนั้นสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) ได้มีโครงการริเริ่มสร้างถนนป่าไม้ (แนวกันไฟ) ล้ำเข้ามาในพื้นที่ ส.ป.ก. (ซึ่งต่อมากรมอุทยานฯ ได้ถือเอาถนนเป็นแนวเขตอุทยานฯ ซึ่งไม่ตรงกับเส้นแผนที่แนบท้ายพระราช กฤษฎีกาฯ อุทยานเขาใหญ่)

เปิดไทม์ไลน์ ป่าเขาใหญ่ 3.3 หมื่นไร่ ใครรุกใคร “ ส.ป.ก.- กรมอุทยานฯ” เปิดไทม์ไลน์ ป่าเขาใหญ่ 3.3 หมื่นไร่ ใครรุกใคร “ ส.ป.ก.- กรมอุทยานฯ”

8. วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ ได้เข้าไปถอนและเคลื่อนย้าย หลักหมุด ส.ป.ก. โดยอ้างว่า ส.ป.ก. รังวัดรุกล้ำเข้าไปในเขตอุทยานฯ

9. วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 ส.ป.ก. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการออก ส.ป.ก.4-01 ในพื้นที่พิพาทดังกล่าว และคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ช่วยราชการ

10. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 นายกรัฐมนตรีมอบหมายกรมแผนที่ทหาร ให้เป็นหน่วยงานกลาง ตรวจสอบแนวเขตพื้นที่พิพาท โดยให้ส.ป.ก. และกรมอุทยานฯ สนับสนุนข้อมูล

11. วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567  ร้อยเอกธรรมนัส พรหทเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้คณะที่ปรึกษา (ด้านกฎหมาย) ร้องทุกข์ต่อ ป.ป.ป. เพื่อสอบสวนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 

เปิดไทม์ไลน์ ป่าเขาใหญ่ 3.3 หมื่นไร่ ใครรุกใคร “ ส.ป.ก.- กรมอุทยานฯ” เปิดไทม์ไลน์ ป่าเขาใหญ่ 3.3 หมื่นไร่ ใครรุกใคร “ ส.ป.ก.- กรมอุทยานฯ”

12. วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567ร้อยเอกธรรมนัส พรหทเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการเกี่ยวกับนโยบายดำเนินการบริเวณเขตพื้นที่กันชน (Buffer Zone) กับเขตปฏิรูปที่ดิน

13. วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 กรมแผนที่ทหารมีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี รายงานผลการตรวจสอบแนวเขตพิพาทว่าพื้นที่พิพาทอยู่นอกเขตอุทยานฯ และอยู่ในเขตส.ป.ก.

 

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ว่า กรมแผนที่ทหาร ได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี รายงานผลการตรวจสอบแนวเขตที่ดินทับซ้อนดังกล่าว มีผลการตรวจสอบให้แปลงปฏิรูปที่ดินของ ส.ป.ก. ไม่ทับซ้อน และอยู่นอกแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

เปิดไทม์ไลน์ ป่าเขาใหญ่ 3.3 หมื่นไร่ ใครรุกใคร “ ส.ป.ก.- กรมอุทยานฯ”

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้ลงนามคำสั่งถึงเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก) ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เรื่อง นโยบายการดำเนินการบริเวณเขตพื้นที่กันชน (Buffer Zone) กับเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อให้การดำเนินงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ให้การบริหารจัดการพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน เหมาะสมตามหลักนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และบริบทความจริงของสังคมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป  โดยได้มอบนโยบายและขอให้ ส.ป.ก. ดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจโดยเคร่งครัดดังต่อไปนี้

 

1) ตรวจสอบการจัดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินบริเวณพื้นที่ตามแนวเขตปฏิรูปที่ดินที่ติดต่อกับเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และพื้นที่ต่อเนื่อง ว่าเป็นการจัดที่ดินโดยผิดกฎหมายหรือไม่ หรือจัดที่ดินให้แก่เกษตรกรโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือยังมีที่ดินที่ยังไม่ได้ดำเนินการจัดให้แก่เกษตรกรแต่อย่างใด

2) จัดทำพื้นที่กันชน (Buffer Zone) ระหว่างพื้นที่ ส.ป.ก. พื้นที่อุทยานแห่งชาติ และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยกันพื้นที่ดังกล่าวให้จัดทำเป็นป่าในเขตปฏิรูปที่ดิน

3) ตรวจสอบการจัดที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินบริเวณรอยต่อกับพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป่าไม้ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบที่ดินของรัฐอื่น ๆ โดยให้ดำเนินการทั่วทั้งประเทศ ว่ามีกรณีจัดที่ดินโดยผิดกฎหมายหรือไม่ หรือจัดที่ดินให้แก่เกษตรกรโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หรือยังมีที่ดินที่ยังไม่ได้ดำเนินการจัดให้แก่เกษตรกรแต่อย่างใด หากพบว่าการจัดที่ดินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องโดยเคร่งครัด

และ 4) เตรียมการสำรวจพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการจัดสรรหรีอที่ดินว่างเปล่ารองรับเกษตรกรกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่ไม่มีที่ดินทำกินโดยให้จัดสรรที่ดินให้กับกลุ่มเหล่านี้ตามระเบียบ ส.ป.ก. ต่อไป โดยให้ยึดถือตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด

“จากกรณีดังกล่าว ยืนยันว่าทั้ง 2 หน่วยงานไม่มีใครผิดใครถูก เนื่องจากถือแผนที่คนละฉบับ ซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้กรมแผนที่ทหาร เป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำโครงการ One Map เพื่อตรวจสอบและป้องกันการเกิดข้อพิพาทอื่น ๆ เพิ่มเติมในอนาคต และในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ ได้มีการตั้งกรรมการสอบเจ้าหน้าที่ที่มีพฤติกรรมส่อผิดกฎหมายในการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก.

พร้อมทั้งมอบที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายร้องต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง หากตรวจพบการกระทำผิดตามกฎหมายจะดำเนินคดีตามกฎหมายมาตรา 157 และเรื่องวินัยร้ายแรง อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้ตรวจสอบพื้นที่ ส.ป.ก. รอบเขาใหญ่ทั้งหมดว่ามีการจัดสรรที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หากพบว่าเป็นรีสอร์ทหรือโรงแรมจะยึดคืน ซึ่งได้ให้สำรวจทั่วประเทศ หากพื้นที่ยังไม่ได้จัดสรรให้เกษตรกร ทั้ง 2 หน่วยงานมีแนวทางจะทำเป็นป่าชุมชน หากพื้นที่ใดทำผิดวัตถุประสงค์ จะทำการเพิกถอนต่อไป” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว

นอกจากนี้ ร้อยเอก ธรรมนัส ได้ประชุมมอบนโยบายแก่ปฏิรูปที่ดินทั้ง 72 จังหวัด โดยแนวทางการขับเคลื่อนงานหลังจากนี้ ทั้ง 2 หน่วยงานจะจับมือกันพิทักษ์ป่าและพื้นที่อุทยานด้วยกัน และขอขอบคุณเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ ที่แสดงความกล้าหาญปกป้องผืนแผ่นดินไทย รวมถึงให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. ในการปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อจัดสรรพื้นที่ทำกินให้กับพี่น้องเกษตรกร