กูรูฟันธงปีนี้ กนง.ลดดอกเบี้ย 2 ครั้ง ชี้เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยง

กูรูฟันธงปีนี้ กนง.ลดดอกเบี้ย 2 ครั้ง ชี้เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยง

กูรูเศรษฐกิจฟันธง กนง.จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย 2 ครั้งในปีนี้ เริ่มครั้งแรกกลางปี ครั้งที่สองช่วงปลายปี และมีโอกาสปรับลดก่อนเฟด หากจีดีพีปี 66 ออกมาต่ำคาด และรัฐบาลไม่สามารถเดินหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ขณะที่ เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงหลายด้าน

KEY

POINTS

“จีดีพีลด-เงินเฟ้อต่ำกรอบ”ปูทางกนง.ลดดอกเบี้ย

“มองว่า แบงก์ชาติมีโอกาสลดดอกเบี้ยมากขึ้น คาดเป็นช่วงกลางปี ถ้าเป็นเดือน 4 จะเร็วไป เพราะอาจต้องรอความชัดเจนเรื่องดิจิทัลวอลเล็ต ถ้าแบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเร็วไป ต่างชาติจะมองว่า ถูกกดดันทางการเมือง ไม่มีความอิสระ แต่ถ้าหลายอย่าง เช่น เรื่องดิจิทัลวอลเล็ตชัดเจน ถ้าไม่ผ่าน แบงก์ชาติอาจใช้ตรงนี้เป็นการ Exit ออกมา จากที่ไม่ลดดอกเบี้ยทั้งปี เลยทำให้มีเหตุผลในการลดดอกเบี้ยได้ แต่วันนี้เขาก็ปูทาง จากการปรับประมาณการจีดีพีลงจาก 3.6-3.7% มาอยูที่ 2.5-3 เงินเฟ้อเองก็อยู่ที่ ต่ำกว่า1% กว่าจะกลับไป 2% ก็ปีหน้า ถ้าไม่ดูการเมือง 2 เหตุผลก็เพียงพอในการลดดอกเบี้ย คือ เงินเฟ้อก็ต่ำกว่ากรอบ และจีดีพีก็ต่ำกว่าที่ประมาณการไว้เยอะมาก ถ้ามีดิจิทัลไม่ผ่าน สามารถลดดอกเบี้ยได้ โดยที่ไม่ต้องโดนกดดันจากการเมือง”

เขาประเมินว่า คาดว่า แบงก์ชาติจะลดดอกเบี้ยประมาณอย่างน้อย 2 ครั้ง ยกเว้นว่า ถ้าธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดลดดอกเบี้ย 3 ครั้ง ก็มีโอกาสที่จะลดดอกเบี้ยได้ถึง 3 รอบ ตนมองว่า กำลังดี ซึ่งปัจจุบันดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทยนั้น ถือว่า สูงกว่าดอกเบี้ยประเทศอื่นในภูมิภาค โดยอยู่ที่ 3.6% เป็นตัวกดดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัวไม่ได้อย่างที่คาดหวัง ภาระหนี้สินก็ไม่ลดลง ยิ่งหากว่า เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะเงินฝืด ยิ่งทำให้ภาระหนี้สินใหญ่กว่าเดิม ทำให้เศรษฐกิจโตไม่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาคลาสสิกที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น โดยเงินเฟ้อติดลบมานาน หนี้สินก็จ่ายยาก ธุรกิจก็ไม่คล่องตัวมากนัก ซึ่งเราคงไม่อยากเป็นแบบนั้น ทำให้เรามองว่า แบงก์ชาติมีช่องทางที่จะลดดอกเบี้ยได้ 2-3 ครั้ง ซึ่งถือว่า ปกติมาก

“ส่วนตัวและในทีมมองว่า มีโอกาสลดกลางปี โดยกนง.น่าจะพิจารณาใน 2 อย่าง คือ เฟดจะลดดอกเบี้ยเมื่อไหร่ ดิจิทัลวอลเล็ตเคลียร์ไหม ถ้าสองอันมาตามที่คาด แบงก์ชาติจะสามารถลดได้อย่างสบายใจบางคนมองว่า ถ้าเราลดก่อนเฟด จะกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้าย ผมมองว่า สภาพปัจจุบัน เราสามารถลดดอกเบี้ยได้ก่อนเฟด ซึ่งเราเองก็ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้ายของแบงก์ชาติจาก 2.25% เป็น 2.5% ถ้าแบงก์ชาติจะลดลงมา 2.25% ก็ได้”

เขาระบุด้วยว่า ไม่ได้กังวลเรื่องส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยจะทำให้เงินไหลออก หากว่า แบงก์ชาติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายก่อนที่เฟดจะลดดอกเบี้ย เพราะมองว่า ที่ผ่านมา เงินไหลออกไปมากแล้ว ดังนั้นเงินที่จะไหลออกอีกก็อาจจะไม่มาก และเราโชคดีที่สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในขณะนี้ ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับวิกฤตต้มยำกุ้ง แม้เงินจะไหลออก ค่าเงินบาทอ่อน แต่ก็ไม่ได้ทำให้ภาระหนี้สินเพิ่มสูงขึ้น ฉะนั้น ความเสี่ยงนอกประเทศ เราไม่ได้น่ากังวลขนาดนั้น

ไม่ห่วงเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะเงินฝืด

ส่วนกรณีที่อัตราเงินเฟ้อติดลบต่อเนื่องกัน 4 เดือน มีผลต่อการตัดสินใจลดดอกเบี้ยหรือไม่ เขากล่าวว่าการดำเนินนโยบายการเงินของแบงก์ชาตินั้น ไม่ได้มองตัวเลขปัจจุบัน ถ้ามองที่ตัวเลขปัจจุบัน จะสวิงเกินไป เขาจะมองระยะปานกลางว่า เงินฟ้อจะตกกรอบหรือเปล่า ตอนปีที่แล้ว แบงก์ชาติมองเงินเฟ้อที่ 2% ถ้าดิจิทัลวอลเล็ตมาเพิ่มก็จะ 2.2% แบงก์ชาติก็ไม่ต้องทำอะไร แต่วันนี้ แบงก์ชาติปรับประมาณการเงินฟ้อลงมาต่ำกว่ากรอบ 1-3% และจะไปถึงกรอบอีกทีปีหน้า แสดงว่า เป้าหมายของแบงก์ชาติ คือ ทำให้เงินเฟ้อเข้าเป้า ถ้าเงินเฟ้อลงจากเป้า ต้องลดดอกเบี้ยลมาเพื่อให้ได้เงินเฟ้อตามเป้าหมาย 

อย่างไรก็ดี ตนมองว่า เงินเฟ้อที่ติดลบต่อเนื่องดังกล่าวนั้น จะไม่ทำให้เกิดภาวะเงินฝืด เพราะเงินเฟ้อทั่วไปยังมีการแกว่งตัว ขณะที่ เงินเฟ้อพื้นฐานยังเป็นบวก แต่มองว่า โมเมนตั้มไม่สวย เพราะเงินเฟ้อพื้นฐานแผ่วลง เหมือนเศรษฐกิจที่เรียกว่า คนแก่ จะมีอาการแผ่วลง ถามว่า ต้องการกระตุ้นไหม ก็ต้องการแต่การกระตุ้นด้วยดอกเบี้ยนั้น เป็นการกระตุ้นชั่วคราว การแก้ไขปัญหาจะต้องเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ แต่ว่า เป็นอีกเรื่องหนึ่ง 

สำหรับค่าเงินบาทนั้น เขามองว่า ค่าเงินบาทที่อ่อนค่า จะเหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าไม่สดใสเหมือนเดิม และโครงสร้างเศรษฐกิจที่มีแต่ความกังวล ทั้งแนวโน้มสังคมสูงวัยมากขึ้น ส่งออกลดลงหนี้ครัวเรือนที่ยังไม่รู้จะจบเมื่อไหร่ จะเห็นได้ว่า เราขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมาแล้ว 2 ปีซ้อน ดังนั้น ค่าเงินบาท ควรอ่อนค่า เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ

กสิกรคาดจีดีพีปีนี้ขยายตัวต่ำกว่า3% 

สำหรับจีดีพีปีนี้ กสิกรไทยมองว่า จะขยายตัวได้ที่ 3% กรณีมีดิจิทัลวอลเล็ตจะขยายตัวได้ 3.5-3.6% แต่หากว่าปี 66 จีดีพีขยายตัวต่ำกว่าที่คาด อาจดึงตัวเลขจีดีพีปีนี้ให้ต่ำกว่า 3% ทั้งนี้ ในปี 66 เดิมเราคาดการณ์จีดีพีขยายตัวที่ 2.4% ขณะนี้ เราคาดว่า จะขยายตัวได้ใกล้ 2% เพราะความเสี่ยงเศรษฐกิจสูงขึ้นมาก ปัจจัยบวกที่ดี มีแค่เรื่องท่องเที่ยว ส่วนส่งออกฟื้นจากฐานที่ต่ำ ทั้งนี้ หากว่า จีนยังคงดั๊มราคาสินค้าส่งออก จะทำให้ส่งออกไทยและประเทศอื่นลำบาก 

“ภาพของการชะลอเศรษฐกิจจะต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ก็เห็นความพยายามของรัฐบาล เป็นจุดสว่างเล็กน้อยที่เรามองออกไป โดยส่งออกเราคาดโตที่ 2% ไม่หวือหวา เราคิดว่า การเบิกจ่ายรัฐบาลน่าจะชัดเจนกลางปีเป็นต้นไป จะเป็นตัวซัพพอร์ต ถ้าดิจิทัลวอลเล็ตไม่ผ่าน หรือ ถ้าผ่าน ก็อาจมีการแจกเฉพาะกลุ่ม1.4-1.5 แสนล้านบาท แต่ก็จะมีความชัดเจนในเรื่องนี้”

กรุงไทยคาดเงินบาทแกว่งตัว 33.5-36.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ด้านนายสงวน จุงสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส สายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทยจำกัด(มหาชน)กล่าวว่า หลังแบงก์ชาติคงดอกเบี้ยนโยบาย ตลาดค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยจาก35.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ไปปิดที่ 35.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ถือว่า ไม่มาก แต่ที่น่าสนใจ คือตลาดดอกเบี้ย โดยทั้งวัน ยีลด์ปรับลดลง 2-4 basis point ที่น่าสนใจ คือ Swap curve อายุ 3 เดือน ซึ่งปกติจะไม่ค่อยซื้อขายเท่าไหร่ แต่กลับมีการขายคึกคัก ทำให้คาดการณ์ว่า แบงก์ชาติจะมีการลดดอกเบี้ยในเดือนที่ 4  สัดส่วน 50:50 และอาจจะมีการลดอีกครั้งในเดือนที่ 8 แต่ถ้าเดือน 4 ไม่ลด ก็จะไปลดในเดือนที่ 6 และ เดือนที่ 8 ติดต่อกัน

เขากล่าวด้วยว่า ตลาดบางส่วนไม่ได้เชื่อว่า เสียงส่วนน้อยจะกลายมาเป็นเสียงส่วนใหญ่ได้ง่ายนัก ในการประชุมครั้งถัดไป อย่าลืมว่า คณะกรรมการ 7 ท่าน แม้จะมีคนแบงก์ชาติ 3 คนนอก 4 แต่เนื่องจากในโควตาตคนนอก จะมีบางท่านที่ตลาดประเมินว่า มีความคิดอ่านในลักษณะของผู้กำกับเซ็นทรัลแบงก์เกอร์ อาจเน้นไปที่เสถียรภาพเป็นหลัก ฉะนั้น อาจไม่ง่ายจะไม่เทิร์นมาเป็นเสียงข้างมากในการประชุมครั้งถัดไป

อย่างไรก็ดี ตัวเลขเศรษฐกิจที่ทยอยออกมาสัปดาห์หน้า มีสัญญาณเหมือนว่า จีดีพีจะออกมาในลักษณะอ่อนตัว จะหนุนให้การลดดอกเบี้ยครั้งถัดไปได้ รวมทั้ง เงินเฟ้อที่ต่ำ โดยการอุดหนุนของรัฐบาล ก็มองว่าท่าที่ของรัฐบาลจะยังอุดหนุนให้เงินเฟ้อต่ำยาวนาน 

“ผมว่า เมษายนี้ ดอกเบี้ยจะลด 0.25% ที่น่าสนใจ ตลาดคาดการณ์ว่า เฟดหรือเซ็นทรัลแบงก์ในภูมิภาคจะเริ่มก่อนแล้วเราค่อยตาม แต่ครั้งนี้ ด้วยตัวเลขเศรษฐกิจที่หลั่งไหลออกมา เฟดที่คาดจะลดดอกเบี้ยเดือนที่ 3 กลายเป็นเดือนที่ 5 และ 6 แต่ของบ้านเรา ตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมา มันเร่งเข้ามา สวนทางกัน”

เขากล่าวด้วยว่า กรณีที่แบงก์ชาติปรับลดดอกเบี้ยลง ก็จะมีส่วนกดดันค่าเงินบาทได้ แต่คำว่า ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย ไม่ได้เป็นปัจจัยชี้ขาดเรื่องของค่าเงิน  ยกตัวอย่าง เรามีบางช่วงเวลาใปี 2017-2018 ดอกเบี้ยนโยบายเราต่ำกว่าเฟด แต่ช่วงนั้น เงินบาทแข็งค่า เนื่องจาก เรามีนักท่องเที่ยวจีนเข้ามามาก  เกินดุลการค้า ทั้งนี้ กรอบการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทในปีนี้ เรามองที่ 33.5-36.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐหากว่า จะมีเหตุการณ์ใดเข้ามากระทบ มองว่า ค่าเงินบาทจะผันผวนกว่าประเทศเพื่อนบ้าน โดยเสถียรภาพการคลัง ความขัดแย้งนโยบายการเงินการคลัง ทำให้ค่าเงินบาทของไทยไม่ถูกเลือกจากนักลงทุน

กูรูเศรษฐกิจฟันธง กนง.จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย 2 ครั้งในปีนี้ เริ่มครั้งแรกกลางปี ครั้งที่สองช่วงปลายปี และมีโอกาสปรับลดก่อนเฟด หากจีดีพีปี 66 ออกมาต่ำคาด และรัฐบาลไม่สามารถเดินหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ขณะที่ เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงหลายด้าน

Key point

  • กสิกรไทยมองกรณีการปรับลดคาดการณ์จีดีพีปีนี้ของแบงก์ชาติลงเหลือ 2.5-3% จากเดิม 3.6-3.7% และอัตราเงินเฟ้อก็อยู่ในระดับต่ำกว่า 1% เป็นการปูทางให้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย
  • การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอาจลดได้อย่างน้อย 2 ครั้ง เริ่มครั้งแรกกลางปีนี้ ครั้งที่สองปลายปี แต่หากเฟดลดดอกเบี้ยปีนี้ได้ถึง 3 ครั้ง ก็มีโอกาสที่ดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะลดได้ถึง 3 ครั้ง
  • ระบุว่า ค่าเงินบาทที่อ่อนค่า จะเหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้าไม่สดใสเหมือนเดิม และโครงสร้างเศรษฐกิจที่มีแต่ความกังวล ทั้งแนวโน้มสังคมสูงวัยมากขึ้น ส่งออกลดลง หนี้ครัวเรือนที่ยังไม่รู้จะจบเมื่อไหร่ 
  • มองเงินเฟ้อทั่วไปที่ติดลบต่อเนื่อง ไม่ก่อให้ภาวะเงินฝืด เพราะเงินเฟ้อยังแกว่งตัว ขณะที่ เงินเฟ้อพื้นฐานยังเป็นบวก แต่มองว่า โมเมนตั้มไม่สวย เพราะเงินเฟ้อพื้นฐานแผ่วลง เหมือนเศรษฐกิจที่เรียกว่า คนแก่
  • กรุงไทยคาดการณ์กนง.ลดดอกเบี้ยในเดือนเม.ย.นี้ ขณะที่ เงินบาทปีนี้จะแกว่งตัว 33.5-36.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

หลังกนง.เสียงแตกในการพิจารณาดอกเบี้ยนโยบาย โดย 5 เสียงเห็นควรคงดอกเบี้ย และ 2 เสียงให้ลดดอกเบี้ย ทำให้กูรูเศรษฐกิจฟันธงว่า กนง.จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย 2 ครั้งในปีนี้ เริ่มครั้งแรกกลางปี ครั้งที่สองช่วงปลายปี และมีโอกาสปรับลดก่อนเฟด หากจีดีพีปี 66 ออกมาต่ำคาด และรัฐบาลไม่สามารถเดินหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ขณะที่ เศรษฐกิจไทยยังเผชิญความเสี่ยงหลายด้านเงินเฟ้อต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย ปูทางให้กนง.ปรับลดดอกเบี้ยลง

นายบุรินทร์ อดุลวัฒนะ กรรมการผู้จัดการ และ Chief Economist บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัดกล่าวในรายการ DEEP Talk กรุงเทพธุรกิจ ในหัวข้อ “มติ กนง.เสียงแตก 5:2 สัญญาณ”ลดดอกเบี้ย”ครั้งหน้า? ระบุว่า ตนไม่เซอร์ไพรส์ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินจะมีมติคงดอกเบี้ยนโยบาย แต่เซอร์ไพรส์ที่เสียงแตก โดยไม่เห็นด้วยที่จะคงดอกเบี้ยจำนวน  2 เสียง ซึ่งตนคิดว่า ขณะนี้ แบงก์ชาติเองได้เปิดทางที่จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงแล้ว จากการปรับลดคาดการณ์จีดีพีในปีนี้ลงเหลือ 2.5-3% จากเดิม 3.6-3.7% อัตราเงินเฟ้อก็อยู่ในระดับต่ำกว่า 1% และ หากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตไม่สามารถเดินหน้าได้ ก็จะยิ่งเป็นเหตุผลที่กนง.จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงมา