“โคบาลชายแดนใต้”ไม่ตรงปก ตกสเปก เริ่มอย่างไรให้เจอปัญหา

“โคบาลชายแดนใต้”ไม่ตรงปก ตกสเปก เริ่มอย่างไรให้เจอปัญหา

เอาเข้าจริงแล้ว ผลผลิตโคกระบือของไทยยังไม่เพียงพอกับความต้องการ จึงไม่แปลกที่จะมีปัญหาโคเถื่อนเกิดขึ้น แม้รัฐบาลจะส่งเสริมการเลี้ยงผ่านโครงการโคล้านตัว หรือล่าสุดคือ โครงการโคบาลชายแดนใต้ แต่ก็มีปัญหา เพราะโคที่เกษตรกรได้รับทั้งซูบผอม ป่วย บางตัวเป็นหมัน

 

 Key Points

  • โครงการโคบาลชายแดนใต้ดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการอาหารอาหารฮาล ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ 
  • ปัญหาฝนส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ รวมทั้งแม่โคมีความเครียด ได้รับอาหารไม่เพียงพอ และบางตัวป่วย
  • ภาครัฐส่งเสริมร้านตัดแต่ง แปรรูปและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เนื้อโค (Butcher Shop) ดำเนินการโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

 

สำหรับโครงการโคบาลชายแดนใต้นั้น เกิดขึ้นในสมัยที่ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปัจจุบันอยู่ระหว่างนำร่องแจกโคให้กับเกษตรกร แต่มีปัญหาเกษตรกรไม่พอใจโคที่ได้รับเพราะมีลักษณะซูบผอมจึงร้องเรียนผ่านหน่วยงานต่างๆ

ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ในฐานะที่ดูแลโครงการ ได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง พร้อมที่จะลงโทษเจ้าหน้าในกรณีที่ตรวจพบว่ามีส่วนรู้เห็น  และได้จัดตั้งคณะกรรมการตรวจติดตามและประเมินผลโครงการเป็นระยะๆ เพื่อ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกรตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

“โคบาลชายแดนใต้”ไม่ตรงปก ตกสเปก เริ่มอย่างไรให้เจอปัญหา “โคบาลชายแดนใต้”ไม่ตรงปก ตกสเปก เริ่มอย่างไรให้เจอปัญหา

ทั้งนี้โครงการดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นแหล่งอารยธรรมและมีรากเหง้าความเป็นมุสลิม ประชากร 85 % นับถือศาสนาอิสลามและใช้กรอบแนวทาง “ฮาลาล” เป็นวิถีดำเนินชีวิต ศูนย์อำนวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนา จังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ร่วมกับกรมปศุสัตว์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำโครงการเมือง ปศุสัตว์ ภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสอดรับกับหลักการพัฒนา ตามศักยภาพของพื้นที่

“โคบาลชายแดนใต้”ไม่ตรงปก ตกสเปก เริ่มอย่างไรให้เจอปัญหา “โคบาลชายแดนใต้”ไม่ตรงปก ตกสเปก เริ่มอย่างไรให้เจอปัญหา

 

เพื่อมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชากรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ดีขึ้น โดยเริ่มส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อเป็นกิจการนำร่อง เนื่องจากการผลิตโคเนื้อในพื้นที่ไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภคของประชาชนและนักท่องเที่ยว พิธีกรรมทางศาสนา และการส่งออก ต้องนำเข้าโคจากนอกพื้นที่ ทำให้ผลประโยชน์จากการพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อตกอยู่กับนายทุนภายนอก เกิดการแพร่กระจายโรคระบาดสัตว์ในวงกว้าง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ศอ.บต. จึงได้จัดทำ “กิจกรรมโคบาลชายแดนใต้ ภายใต้โครงการเมืองปศุสัตว์ภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ระยะ7 ปี (พ.ศ.2565-2571)” เสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) พิจารณาให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่3/2565 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 โดยใช้งบประมาณจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 1,566.20 ล้านบาท แยกเป็นเงิน กู้ยืม1,550 ล้านบาท และเงินจ่ายขาด16.20 ล้านบาทและคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบมติ กพต. ดังกล่าวในการประชุมเมื่อวันที่  6 ก.ย .2565 

ต่อมา ศอ.บต. ได้หารือร่วมกับสำนักงบประมาณและกรมบัญชีกลาง มีข้อสรุปร่วมกันว่า โครงการดังกล่าวจำเป็นจะต้องให้หน่วยงานที่มีภารกิจและอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเป็นหน่วย ดำเนินการยืมเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร 

ทั้งนี้พระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัด ชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 ไม่ปรากฎอำนาจหน้าที่ของ ศอ.บต. ในการดำเนินการเรื่องดังกล่าว ศอ.บต. จึงได้หนังสือด่วนที่สุด ที่ นร 5203/3352 ลงวันที่ 16 กันยายน 2565 ขอความร่วมมือ จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณามอบหมาย กรมปศุสัตว์หรือหน่วยงาน ที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงเป็นหน่วยดำเนินการยืมเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อขับเคลื่อน กิจกรรมดังกล่าวต่อไป

โดยเห็นว่าเป็นโครงการสำคัญเร่งด่วนที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) และรัฐบาลให้ความสำคัญ

กรมปศุสัตว์ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมายในการส่งเสริมอาชีพปศุสัตว์แก่เกษตรกร จึงดำเนินการยืมเงินจากกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกรเพื่อดำเนินงาน “โครงการโคบาลชายแดนใต้” เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนโครงการ เมืองปศุสัตว์ภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเป็นรูปธรรม

 สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็น แหล่งอารยธรรมและมีรากเหง้าความเป็นมุสลิม พัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อเพื่อยกระดับรายได้และ คุณภาพชีวิตโดยส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ เพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคของเกษตรกร

โดยเริ่มต้นเลี้ยงแม่โคพันธุ์พื้นเมืองที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ในคอกกลาง ของหมู่บ้าน มีคณะกรรมการหมู่บ้านเป็นกลไกขับเคลื่อนในระดับหมู่บ้าน รวมถึงการส่งเสริมอาชีพ

 

“โคบาลชายแดนใต้”ไม่ตรงปก ตกสเปก เริ่มอย่างไรให้เจอปัญหา

“โคบาลชายแดนใต้”ไม่ตรงปก ตกสเปก เริ่มอย่างไรให้เจอปัญหา

การดำเนินโครงการ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

ระดับต้นน้ำ มีกิจกรรมสำคัญคือ ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงโคเนื้อให้กลุ่มวิสาหกิจ โคไทยในหมู่บ้าน จำนวน1,000 กลุ่ม ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดทำคอกกลางในหมู่บ้าน แห่งละ 1 คอก สำหรับเลี้ยงแม่โคพื้นเมืองกลุ่มละ 50 ตัว เพื่อผลิตโคลูกผสมไทยทาจิ ปลูกพืช อาหารสัตว์คุณภาพดีสำหรับเลี้ยงโคและจำหน่ายสร้างรายได้ แบ่งการดำเนินงานออกเป็น

 ระยะนำร่อ เกษตรกร 60 กลุ่ม แม่โคพื้นเมือง 3,000 ตัว

ระยะที่ 2 เกษตรกร 440 กลุ่ม แม่โคพื้นเมือง 22,000 ตัว

ระยะที่ 3 เกษตรกร500 กลุ่ม แม่โคพื้นเมือง 25,000 ตัว

ระดับกลางน้ำ มี กิจกรรมสำคัญคือ จัดตั้งศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ (Feed Center) เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์คุณภาพดี การแปรรูปอาหารสัตว์ และอาหารผสมครบส่วน (TMR) เพื่อลดต้นทุนอาหารสัตว์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงโคขุน จำนวน ๓ แห่ง ได้แก่ โรงผลิตอาหารสัตว์ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ดำเนินงานโดยภาคเอกชน รับผิดชอบส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์และแปรรูปอาหารสัตว์คุณภาพดีจำหน่ายในพื้นที่จังหวัด ปัตตานี และจังหวัดยะลา

ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สตูล อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล ดำเนินงาน โดยกรมปศุสัตว์ รับผิดชอบส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์และแปรรูปอาหารสัตว์คุณภาพดีจำหน่าย ในพื้นที่จังหวัดสตูล และจังหวัดสงขลา

ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นราธิวาส อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ดำเนินงานโดยกรมปศุสัตว์ รับผิดชอบส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์และแปรรูปอาหารสัตว์คุณภาพดีจำหน่ายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส

 ระดับปลายน้ำ มีกิจกรรมสำคัญคือ ส่งเสริมร้านตัดแต่ง แปรรูปและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เนื้อโค (Butcher Shop) จำนวน 5 แห่ง ดำเนินการโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ใช้เงินลงทุนของกลุ่มเอง หรือกลุ่มขอกู้ยืมเงินโดยตรงจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร

ทั้งหมดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ เพิ่มประสิทธิภาพการ เลี้ยงโคของเกษตรกร สู่มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ GFMGAP และเพิ่มปริมาณโคในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อปรับปรุงสายพันธุ์โคเนื้อคุณภาพดีที่เหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และ ความต้องการของตลาด เพื่อสร้างอาชีพที่เกี่ยวเนื่องในห่วงโซ่การผลิตโคและเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย และพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อทั้งระบบใน จังหวัดชายแดนภาคใต้

ด้าน นายสัตวแพทย์ประภาส ภิญโญชีพ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่าในขณะนี้กรมปศุสัตว์ อยู่ระหว่างจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณี แต่เนื่องจาก ช่วงระยะเวลาที่ได้ทยอยส่งมอบและตรวจรับแม่โคตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 เป็นช่วงเวลาที่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประสบสภาวะฝนตกอย่างต่อเนื่องและมีน้ำท่วมขังซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์บางส่วนของโครงการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยแม่โคมีความเครียด ได้รับอาหารไม่เพียงพอ และบางตัวป่วย

อย่างไรก็ตามกรมปศุสัตว์ได้ช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยเร่งฟื้นฟูสุขภาพแม่โคเนื้อที่ได้รับผลกระทบตามหลักวิชาการ ให้วิตามิน และอาหารเสริมแก่แม่โคพื้นเมืองเพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์โดยเร็ว กรณีที่กลุ่มเกษตรกรมีความประสงค์ขอเปลี่ยนตัวสัตว์ตามเงื่อนไขข้อกำหนดของโครงการ

กรมปศุสัตว์ได้แจ้งให้ผู้ประกอบการหรือผู้ขายดำเนินการเปลี่ยนตัวสัตว์ให้ใหม่ซึ่งได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดปัตตานีเรียบร้อยแล้ว สำหรับกลุ่มเกษตรกรระยะนำร่องในจังหวัดอื่นจะได้ตรวจสอบ หากพบปัญหาลักษณะเดียวกัน จะช่วยเหลือฟื้นฟูสุขภาพสัตว์โดยเร่งด่วนต่อไป