'ภูมิธรรม' ดันยุทธศาสตร์เชิงรุกรายมณฑล เร่งการค้าไทย-จีน หนุน 'EV-อิเล็กฯ'

'ภูมิธรรม' ดันยุทธศาสตร์เชิงรุกรายมณฑล เร่งการค้าไทย-จีน หนุน 'EV-อิเล็กฯ'

"พาณิชย์" เร่งขายความร่วมมือการค้าไทย-จีน ยึดยุทธศาสตร์การค้าเชิงรุกรายมณฑล จับคู่ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า ดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ปัญญาประดิษฐ์ เตรียมเซ็น MOU เพิ่มการค้ากับ 6 มณฑล

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีปิดและมอบประกาศนียบัตรของหลักสูตร China Wealth สถาบันผู้นำตลาดจีน รุ่นที่ 1 เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2566

นายภูมิธรรม ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “แนวทางการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน” ว่า กระทรวงพาณิชย์จะใช้ “ยุทธศาสตร์การค้าเชิงรุกรายมณฑล” ให้กระทรวงพาณิชย์เร่งเชื่อมสัมพันธ์ผู้บริหารภาครัฐและเอกชนจีน

โดยเฉพาะผู้บริหารบริษัทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า ดิจิทัล ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น ผ่านการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าสำคัญของจีน ทั้ง China – ASEAN EXPO (CAEXPO)  และ China International Import Expo (CIIE)

ขณะเดียวกัน ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมและขับเคลื่อนการค้าและเศรษฐกิจเชิงรุกไทย-จีน อาเซียนเพื่อขับเคลื่อนเชิงรุกอย่างรอบด้าน \'ภูมิธรรม\' ดันยุทธศาสตร์เชิงรุกรายมณฑล เร่งการค้าไทย-จีน หนุน \'EV-อิเล็กฯ\'

รวมทั้งกระทรวงพาณิชย์ยังมุ่งเป้าจะขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าสู่มณฑล/เมืองรองที่มีศักยภาพของจีน ผ่านการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ทางการค้าอีก 6 ฉบับ ประกอบด้วย

1.เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน

2.เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง

3.มณฑลเจ้อเจียง

4.มณฑลซานซี

5.มณฑลเฮย์หลงเจียง

6.มณฑลเหอเป่ย

ทั้งนี้ เป็นการลงนามเพิ่มเติมจาก 4 ฉบับที่ได้ดำเนินการไปแล้วกับมณฑลไห่หนาน มณฑลกานซู่ มณฑลยูนนาน และเมืองเซินเจิ้น 

 

 นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ปาฐกถาพิเศษว่า การสร้างประชาคมที่มีโชคชะตาร่วมกันระหว่างไทยจีน เพื่อผลักดันความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจร่วมกันของทั้งสองประเทศ ปัจจุบันประเทศจีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย จีนเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรอันดับ 1 ของไทย \'ภูมิธรรม\' ดันยุทธศาสตร์เชิงรุกรายมณฑล เร่งการค้าไทย-จีน หนุน \'EV-อิเล็กฯ\'

นอกเหนือจากความร่วมมือที่ใกล้ชิดและแน่นแฟ้นในการค้าสินค้าเกษตรและการลงทุนในอุตสาหกรรมพื้นฐานต่างๆ ปัจจุบันไทยและจีนยังขยายความร่วมมือไปสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง เช่น เศรษฐกิจดิจิทัลและยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนให้ก้าวไปอีกขั้น

นายธนากร เสรีบุรี นายกส่งเสริมการลงทุนและการค้าไทย-จีน กล่าวว่า หลักสูตร China Wealth สถาบันผู้นำตลาดจีน รุ่นที่ 1 ซึ่งเป็นหลักสูตรอบรมผู้บริหารระดับสูงที่ต้องการรุกตลาดจีน โดยความร่วมมือระหว่างศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ สมาคมส่งเสริมการลงทุนและการค้าไทย-จีน และหอการค้าไทยในจีน

รวมทั้งมี ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร เลขาธิการสมาคม และ ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้อำนวยการหลักสูตรร่วมกัน

สำหรับการอบรมรุ่นที่ 1 มีนักธุรกิจและผู้บริหารระดับสูงร่วมอบรม 45 ท่าน หลักสูตรนี้เป็นการประสานภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติที่เน้นการปฏิบัติเป็นผลที่เป็นรูปธรรม โดยลงมือทำ Business Workshop และเริ่มอบรมตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2566 รวม 8 สัปดาห์ และต้นปี 2567 หลักสูตรฯ จะจัด Business Trip ศึกษาดูงานด้านการค้าและธุรกิจในจีนสำหรับผู้ผ่านการอบรม
 

\'ภูมิธรรม\' ดันยุทธศาสตร์เชิงรุกรายมณฑล เร่งการค้าไทย-จีน หนุน \'EV-อิเล็กฯ\' สำหรับวิทยากรมีทั้งนักวิชาการและนักธุรกิจที่มีประสบการณ์ในตลาดจีน เช่น นายกำธน ลีเลิศพันธ์ ประธานกรรมการบริษัท บัวสยามเทรดดิ้ง (เซี่ยงไฮ้) จำกัดผู้ทำแบรนด์ดอกบัวคู่ , นายดนัย ดีโรจนวงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัดผู้ทำแบรนด์มิสทีน

นายวิบูลย์ คูสกุล อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน , น.ส.มยุรี ทรัพย์สุทธิพร Partner และ Head of China Practice กุดั่นแอนด์พาร์ทเนอร์ , รศ.ดร.สมชนก ภาสกรจรัส ประธานหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย \'ภูมิธรรม\' ดันยุทธศาสตร์เชิงรุกรายมณฑล เร่งการค้าไทย-จีน หนุน \'EV-อิเล็กฯ\'

รวมทั้งจะมีการเปิดอบรมรุ่นที่ 2 ในปี 2567 โดยสามารถติดต่อสมาคมส่งเสริมการลงทุนและการค้าไทย-จีน โทรศัพท์ 02-766-8657, 083-0455-280 อีเมลล์ [email protected] หรือที่ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โทรศัพท์ 02-2187229, 02-2187416 อีเมลล์ [email protected] หรือ LINE @chinawealth