“โฉนดต้นไม้”ทรัพย์ในดิน สิน(เชื่อ)เพิ่มมูลค่าการเกษตร

“โฉนดต้นไม้”ทรัพย์ในดิน    สิน(เชื่อ)เพิ่มมูลค่าการเกษตร

“ต้นไม้ 1 ต้นจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 500 บาท” หากต้นไม้เป็นร้อยต้น หรือ เป็นพันต้นก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทวีคูณ ดังนั้น“ต้นไม้”ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์อย่างที่ดินได้และเป็นการเพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนของเกษตรกรไทย

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า  ในขณะนี้ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนิน“โครงการโฉนดต้นไม้” คือการออกเอกสารสิทธิ์สำหรับต้นไม้ที่เป็นพืชเศรษฐกิจเช่น ต้นยางพาราที่ปลูกบนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์  ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการเปลี่ยนโฉนดสปก.

“โฉนดต้นไม้”ทรัพย์ในดิน    สิน(เชื่อ)เพิ่มมูลค่าการเกษตร

“โฉนดต้นไม้”ทรัพย์ในดิน    สิน(เชื่อ)เพิ่มมูลค่าการเกษตร

ทั้งนี้ ได้สั่งให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ไปจัดทำรายละเอียดการดำเนินโครงการโฉนดต้นไม้ หรือ โฉนดยางพารา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง หากต้องการสภาพคล่อง โดยการนำที่ดินที่มียางพาราปลูกอยู่ ไปของสินเชื่อทางสถาบันการเงิน เกษตรกรชาวสวนยางพารา จะได้เงินเพิ่มจากจำนวนต้นยางพาราที่ปลูกในที่ดินนั้น อย่างน้อยที่สุด 35,000 บาทต่อไร่

“โฉนดต้นไม้”ทรัพย์ในดิน    สิน(เชื่อ)เพิ่มมูลค่าการเกษตร

“สวนยางพารา ส่วนใหญ่จะมีต้นยางประมาณ 70 ต้นต่อไร่ เมื่อชาวสวนต้องการเงินเป็นสภาพคล่อง ต้องนำที่ดินไปกู้เงินจากธนาคาร เมื่อมีโฉนดยางพารา ธนาคารจะประเมินราคายางพาราให้ด้วยต้นละประมาณไม่ต่ำกว่า 500 บาท ตามอายุของยางพารา หรือประมาณ 35,000 บาทต่อไร่ เป็นอย่างน้อย”

วิณะโรจน์  ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก กล่าวว่า  โครงการโฉนดต้นไม้ จะดำเนินการควบคู่กับการออกโฉนดเพื่อเกษตกรรม โดยกำหนดให้เกษตกรต้องปลูกต้นไม้มีค่าในพื้นที่อย่างน้อย 10 ต้นต่อไร่ เพื่อสร้างสินทรัพย์ให้มากขึ้นโดยตนไม้ดังกล่าวจะสามารถนำไปค้ำประกันเงินกู้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ได้ในอัตราที่กำหนด 

 

“โฉนดต้นไม้”ทรัพย์ในดิน    สิน(เชื่อ)เพิ่มมูลค่าการเกษตร

ทั้งนี้ ส.ป.ก. จะหารือกับธ.ก.ส. เพื่อให้รับทราบและเข้ามาดำเนินโครงการร่วมกับส.ป.ก.เป็นการต่อยอดจากป้จจุบันที่ ธ.ก.ส. มีโครงการค้ำประกันเงินกู้ด้วยต้นไม้มีค่าอยู่แล้ว และส.ป.ก.ก็ร่วมในโครงการนี้แต่จะดำเนินการให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยการพิจารณามูลค่าต้นไม้จะอยู่ที่อัตรา 30-40 % ตามเกณฑ์ของกรมธนารักษ์ 

นอกจากนี้ส.ป.ก. ได้หารือกับกรมป่าไม้แล้ว เพื่อขอรับการสนับสนุนไม้มีค่าให้เกษตรกรนำไปปลูก จากก่อนหน้านี้่ ส.ป.ก. ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ ( MOU) เพื่อสนับสนุนเกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจ สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ สร้างรายได้ในครัวเรือน ก่อให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน กำหนดที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ตามหนังสือสิทธิ เพื่อให้ไม้ที่ปลูกขึ้นในที่ดินดังกล่าวไม่เป็นไม้หวงห้าม ทำให้ประชาชนที่ปลูกต้นไม้บนที่ดิน ส.ป.ก. สามารถตัดหรือโค่นไม้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่อีกต่อไป จะส่งผลให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ และสร้างรายได้ในครัวเรือน สามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เป็นมรดกให้กับครอบครัวในอนาคตได้อีกด้วย  

“ส.ป.ก. ได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเต็มศักยภาพควบคู่กับการส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรมีรายได้เพียงพอต่อการยังชีพ รวมถึงการบริหารทรัพยากร การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพแวดล้อม และรักษาพื้นที่เกษตรกรรมในเขตปฏิรูปที่ดิน”

 ณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการกยท. ​กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีที่พัฒนาแล้วสามารถนำไม้ยางพาราไปใช้ประโยชน์เชิงธุรกิจได้แล้ว จากในอดีตต้นยางเมื่อครบ25 ปีไม่สามารถกรีดน้ำยางได้ต้องโค่นทิ้งเท่านั้น  การใช้ประโยชน์ไม้ยางเป็นสินทรัพย์เพื่อค้ำประกันเงินกู้ได้ นั้นจะหารือกับธ.ก.ส.เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เบื้องต้น เช่นการประเมิณมูลค่าตามอายุต้นยางพารา หลักเกณฑ์การไถ่ถอน  เป็นต้น แต่ต้นยางที่นำไปคำ้ประกันเงินกู้นั้นเกษตรกรยางสามารถใช้ประโยชน์จากการกรีดน้ำยางได้ 

“การทำงานแบบเดิม แต่หวังผลที่แตกต่างนั้นเป็นไปไม่ได้” อาจไม่ใช่คำพูดที่ถูกเสมอไป เพราะกรณี“โฉนดต้นไม้” คือการใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วมาเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนซึ่งจะให้ผลที่ต่างออกไปในแง่การขับเคลื่อนภาคเกษตรของไทย