'เอกชน' แนะทางรอดเศรษฐกิจไทย พลิกวิกฤติขัดแย้ง 2 ขั้วมหาอำนาจ

'เอกชน' แนะทางรอดเศรษฐกิจไทย พลิกวิกฤติขัดแย้ง 2 ขั้วมหาอำนาจ

'เอกชน' ส่งสัญญาณทางรอดเศรษฐกิจไทย พลิกวิกฤติท่ามกลางความขัดแย้งระหว่าง 2 ขั้วมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ โดยควรเลือกยืนข้างความเป็นกลาง

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ต้องจับตาผู้นำประเทศอาเซียนที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอินโดรนีเซียในช่วงปีหน้า สิ่งสำคัญของการเปลี่ยนแปลงผู้นำ การขัดแย้งหลายพื้นที่สร้างแรงกดดัน ซึ่งปัจจุบันประเทศเศรษฐกิจอย่างจีนกับสหรัฐจะเป็นแรงผลักให้ไทย จากการย้ายฐานการผลิตระหว่างกัน

อย่างไรก็ตารม จากความขัดแย้งดังกล่าว ถือเป็นโอกาสของไทย ส่วนสงครามตะวันออกกลางอย่างอิสราเอลก็ถือเป็นโอกาส เพราะหลายประเทศอยากย้ายออก ตอนนี้ที่อิสราเอลมีบริษัทยูนิคอร์นเยอะต้องหาที่ขยับขยายจึงเป็นโอกาสไทยเพราะโลกกำลังเปลี่ยน ซึ่ง 1 ในเทรนด์ของโลกคือการที่จะผงาดขึ้นมาของเอเซีย คือ จีน อินเดีย และอาเซียน 

ทั้งนี้ จีนปิดประเทศ อินเดียก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ หากมององค์ประกอบ อาเซียนจะตอบโจทย์ได้ เพราะตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของไทย ซึ่งอินโดนีเซียมีขนาดใหญ่การลงทุนโลจิสติกส์สูง ไทยมีพรมแดนติดจีน ใกล้อินเดีย หากเดินหมากได้ถูกต้องจะเป็นตัวเลือหหลาบบริษัท ขึ้นอยู่กับรัฐบาลจะรับลูกย่างไรให้ไทยรับประโยชน์สูงสุด

ทั้งนี้ ในช่วง2 -3 ปีที่ผ่านมา ไทยถูกมองว่าถูกกดดันจากพี่ใหญ่ทั้ง 2 ที่ช่วงชิงอันดับ 1 โดยการหาพวก ไทยเผชิญความกดดันจึงต้องวางตัวอย่างระมัดระวัง ความเป็นกลางจะมีประโยชน์ในอนาคต เพราะทั่วโลกอยากอยู่ประเทศที่เป็นกลางเพื่อไม่ให้เสียการลงทุนจุดที่ดีคือเป็นกลาง

นอกจากนี้ เทคโนโลยีดิสรัปชันเกิดขึ้นเร็ว ในทุกอุตสาหกรรม ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ 1. ความพร้อมที่เปลี่ยนสิ่งใหม่และทิ้งสิ่งเก่าหรือไม่ 2. ความสามารถในการลงมือทำเพื่อให้พร้อมในอนาคต เราอยู่ในจังหวะเวลาถูกที่ถูกทาง อยู่ตรงกลาง ต้องทำสิ่งที่เหมาะคือ ยอมรับเรื่องข้อจำกัดเทคโนโลยี จึงต้องเปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามาได้ง่ายขึ้นเพื่อพัฒนา และอีกสิ่งสำคัญคือบุคลากรที่ต้องยอมรับได้ว่ามีบุคลากรด้านการวิจัยที่มากพอ

"ไทยต้องมองไป 20 ปีข้างหน้า ทั้ง ลาว เมียนมา จะโต ภาพรวมอาเซียนจะต้องเติบโต หวังว่านายกฯ จะแต่งงานกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเชื่อมความสำพันธ์"

"ต้องดูนโยบายเทรนด์การทำงานของทั่วโลก แต่เรามีนักวิจัยน้อยมาก หากเทียบบริษัทเทคโนโลยีอย่าง หัวเว่ยมีนักวิจัยถึง 6 หมื่นคน จึงต้องพัฒนาด้านการศึกษา ซึ่งตอนนี้นายกฯ ขับเคลื่อนนโยบายแลนด์บริดจ์จะเชื่อมได้หลากประเทศ เราต้องก้าวสู่โลจิสติกส์ฮับ จึงต้องลงมือทำตอนนี้ เพื่อให้ไทยอยู่ถูกที่ทาง"

นายกานต์ ตระกูลฮุน ประธานคณะกรรมการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลออดช่วงที่ผ่านมา 10 ประเทศในอาเซียน มีการจับมือกันอย่างเข้มแข็ง คนส่งเสริมการทำงานร่วมกัน โดยช่วงนี้ได้มีผู้นำประเทศท่านใหม่ในหลายประเทศ อาจเป็นโอกาสที่ดีเพื่อจะปรับแนวคิดการทำงานสอดคล้องกัน ซึ่งในมุมของตำแหน่งทางเศรษฐกิจ พบว่าไทยมีความยอดเยี่ยมมีพรมแดนติด 4 ประเทศ จึงมีโอกาสและศักยภาพที่ดีในไทย 

อย่างไรก็ตาม ในอดีตไทยมีหุ้นส่วนการค้าทั้งสหรัฐ และ สหภาพยุโรป แต่ตอนนี้มีจีนเป็นรายใหม่ จึงเริ่มเห็นโอกาสที่ดีของอาเซียน ต้องยอมรับว่าขณะนี้ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เนื้อหอมมาก มีหลากหลานอุตสาหกรรมเข้ามาลงทุน เป็นพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษที่ดีสามารถเชื่อมกับกัมพูชา ลาว เมียนมา และใช้รถไฟไปสิงคโปร์ 

สำหรับปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ถือเป็นประเด็น ไทยมีประวัติศาสตร์ยาวนานทั้งสหรัฐ รัสเซีย รวมถึง จีน เพราะคนจีนมาอยู่ในไทยและได่สัญชาติจำนวนมาก รวมถึงตน จึงรู้สึกมีความเชื่อมั่นในกระทรวงการต่างประเทศ ว่าจะสามารถสานสัมพันธ์ที่ยาวนานกับหลายประเทศ ชื่อว่าจะเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ประเทศไปพร้อมกับอนาคต 

ทั้งนี้ เอกชนจะอยู่รอดได้โดยการเปลี่ยนเทคโนโลยี และยืดหยุ่น สิ่งสำคัญคือการอัพเกรดเทคโนโลยีโดยเป็นเข้าเอง โดยลงทุนการวิจัยและการพัฒนา (อาร์แอนด์ดี) ถือเป็นสิ่งสำคัญ สมัยก่อนการลงทุนอาร์แอนด์ดีเมื่อเทียบกับ GDP แค่ 0.2% เท่านั้น ปัจจุบันยังอยู่แค่ 1.2% หรือประมาณ 5.6 พันล้านดอลลาร์ และ 76% เป็นการลงทุนจากเอกชน ส่วน 20% ลงทุนโดยรัฐบาล