ถอดบทเรียนดิจิทัล 'เอสโตเนีย' ยกขีดความสามารถการแข่งขัน 'ไทย'

ถอดบทเรียนดิจิทัล 'เอสโตเนีย' ยกขีดความสามารถการแข่งขัน 'ไทย'

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดสัมมนา “Thailand Competitiveness Conference 2023” ในวาระครบรอบ 15 ปี การขับเคลื่อนการสร้างขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศผ่านโครงการ Thailand Competitiveness Enhancement Program

ในปี 2566 ประเทศไทยถูกจัดอันดับขีดความสามารถทางการแข่งขันอยู่ที่ 30 เมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียนเป็นรองสิงคโปร์ที่อยู่อันดับ 4 และมาเลเซียที่อยู่อันดับ 27 ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลพยายามแก้จุดอ่อนที่ได้คะแนนน้อย โดยตัวชี้วัดด้านโครงสร้างพื้นฐานไทยอยู่ที่อันดับ 43 ถือว่าได้คะแนนน้อยกว่าตัวชี้วัดอื่น เช่น สมรรถนะทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของภาครัฐและประสิทธิภาพภาคเอกชน

เคอร์สตี้ คัลยูไลด์ อดีตประธานาธิบดีเอสโตเนีย กล่าวว่า ย้อนเมื่อปี 2019 ที่รับตำแหน่งพบว่าเอกชนใช้อินเทอร์เน็ตในการทำธุรกรรมผ่านออนไลน์มีธนาคารให้บริการเฉพาะประเทศที่ฐานะดี โยเมื่อได้อิสรภาพปี 1991 แม้ยังไม่เช้ารูปรอยแต่เริ่มตั้งกระทรวงต่าง ๆ จึงมองว่าการลอกเลียนแบบเอกชนจะสร้างความสามารถทางแข่งขันให้ประเทศได้ จนเอสโตเนียเป็นผู้นำเมื่อเทียบประเทศใกล้เคียง

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องคิดไปข้างหน้าการนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนโดยภาครัฐใช้ระบบ e-Government มาช่วยบริหารจัดการข้อมูลทั้งด้านภาษีและการรับบริการสาธารณสุข ซึ่งรัฐบาลต้องให้เวลาเพื่อให้ประชาชนคุ้นเคย เพื่อแสดงให้เห็นว่าการเก็บภาษีแล้วท้ายสุดจะต้องมาจ่ายคืนประชาชน

ทั้งนี้ เมื่อประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ทั่วถึงต้องสร้างความคุ้นชินให้ผู้สูงวัยด้วยการใช้งานฟรีและขยายบริการมากขึ้น จากการมี

 ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID โดยการบริการจึงเชื่อมโยงมากขึ้น โดยเฉพาะการรับบริการจากโรงพยาบาลที่ไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่ทุกครั้งแม้จะเป็นโรงพยาบาลคู่แข่งกัน

“รัฐเข้าถึงข้อมูลได้เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เอาข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิด เรามีระบบลายนิ้วมือดิจิทัล ซึ่งต้นทุนการลงทุนอยู่ที่ 1% ของ GDP แต่ประหยัดค่าใช้จ่ายถึง 2% ของ GDP ช่วยให้ประชาชนติดต่อราชการได้ 24 ชั่วโมง”

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเอสโตเนียส่วนใหญ่ทำธุรกิจส่งออก ดังนั้นระบบอิเล็กทรอนิกส์จึงอำนวยความสะดวกทำงานได้ทุกที่ทั่วโลก แม้กระทั่งการจ่ายภาษี จึงส่งผลให้ปัจจุบันเอสโตเนียมียูนิคอร์นทั่วโลกกว่า 200 บริษัท จากจำนวนประชากร 1.3 ล้านราย ดังนั้น Digital ID จะดึงบุคลากรทั่วโลกมาช่วยงานได้

“ช่วงเกิดโควิดมีประเด็นปัญหามากมาย รัฐบาลพยายามเก็บข้อมูลการเดินทางของประชาชน จึงต้องบูรณาการข้อมูลเพื่อให้ประชาชนยินยอมผ่านการสนับสนุนด้านการเงิน โดยเชื่อมกับสิทธิประโยชน์ รัฐบาลจะเห็นข้อมูลว่าใครตกงานเพื่อส่งหน่วยงานเข้าไปดูแล เพราะหากรัฐบาลไม่มีข้อมูลสุดท้ายกลุ่มคนตกงานก็อาจกลายเป็นอาชญากรได้”

ถอดบทเรียนดิจิทัล \'เอสโตเนีย\' ยกขีดความสามารถการแข่งขัน \'ไทย\'

กอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า เทคโนโลยีดิสรัปชันเกิดขึ้นเร็ว ในทุกอุตสาหกรรม ดังนั้น สิ่งสำคัญ คือ 1.ความพร้อมที่เปลี่ยนสิ่งใหม่และทิ้งสิ่งเก่าหรือไม่ 2.ความสามารถในการลงมือทำเพื่อให้พร้อมในอนาคต เราอยู่ในจังหวะเวลาถูกที่ถูกทาง อยู่ตรงกลาง ต้องทำสิ่งที่เหมาะคือ ยอมรับเรื่องข้อจำกัดเทคโนโลยี จึงต้องเปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามาได้ง่ายขึ้นเพื่อพัฒนา และอีกสิ่งสำคัญ คือ ต้องยอมรับว่ามีบุคลากรด้านการวิจัยที่มากพอ

“ต้องดูนโยบายเทรนด์การทำงานของทั่วโลก แต่เรามีนักวิจัยน้อยมาก หากเทียบกับบริษัทเทคโนโลยีอย่าง หัวเว่ย ที่มีนักวิจัยถึง 6 หมื่นคน จึงต้องพัฒนาด้านการศึกษา ซึ่งตอนนี้นายกฯ ขับเคลื่อนนโยบายแลนด์บริดจ์จะเชื่อมได้หลากประเทศ เราต้องก้าวสู่โลจิสติกส์ฮับ จึงต้องลงมือทำตอนนี้ เพื่อให้ไทยอยู่ถูกที่ทาง”

กานต์ ตระกูลฮุน ประธานคณะกรรมการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลออดช่วงที่ผ่านมา 10 ประเทศในอาเซียน มีการจับมือกันอย่างเข้มแข็ง ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน โดยช่วงนี้ได้มีผู้นำประเทศท่านใหม่ในหลายประเทศ อาจเป็นโอกาสที่ดีเพื่อจะปรับแนวคิดการทำงานสอดคล้องกัน ซึ่งในมุมของตำแหน่งทางเศรษฐกิจ พบว่าไทยมีความยอดเยี่ยมมีพรมแดนติด 4 ประเทศ จึงมีโอกาสและศักยภาพที่ดีในไทย

ทั้งนี้ เอกชนจะอยู่รอดได้โดยการเปลี่ยนเทคโนโลยี และยืดหยุ่น สิ่งสำคัญคือการอัพเกรดเทคโนโลยีโดยเป็นเข้าเอง โดยลงทุนการวิจัยและการพัฒนา (อาร์แอนด์ดี) ถือเป็นสิ่งสำคัญ สมัยก่อนการลงทุนอาร์แอนด์ดีเมื่อเทียบกับ GDP แค่ 0.2% เท่านั้น ปัจจุบันยังอยู่แค่ 1.2% หรือประมาณ 5.6 พันล้านดอลลาร์ และ 76% เป็นการลงทุนจากเอกชน ส่วน 20% ลงทุนโดยรัฐบาล