'สภาพัฒน์' หั่นจีดีพีไทยปี 66 เหลือ 2.5 - 3% หลังไตรมาส 2 ขยายตัวได้แค่ 1.8%

'สภาพัฒน์' หั่นจีดีพีไทยปี 66 เหลือ 2.5 - 3% หลังไตรมาส 2 ขยายตัวได้แค่ 1.8%

'สภาพัฒน์' หั่นจีดีพีไทยปี 66 เหลือ 2.5 - 3% หลังไตรมาส 2 ขยายตัวได้แค่ 1.8% หลังส่งออกกดดันหนัก รายได้ท่องเที่ยวอาจไม่ถึงเป้าแม้นักท่องเที่ยวจะถึงเป้า 28 ล้านแต่การใช้จ่ายยังไม่เข้าเป้า จับตาสถานการณ์การเมืองกดดันเศรษฐกิจ เบิกจ่ายงบช้า คาดงบฯ67ลงเศรษฐกิจเม.ย.ปีหน้า

วันนี้ (21 ส.ค.) นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่ 2/2566 และภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2566

โดยเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2566 ขยายตัว1.8% ชะลอลงจากการขยายตัว 2.6% ในไตรมาสแรกของปี 2566 (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สอง ของปี 2566 เมื่อปรับฤดูกาลแล้วเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 0.2% จากไตรมาสก่อน 

 รวมครึ่งแรกของปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 2.2% 

โดยการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ที่ขยายตัวได้แค่ 1.8% มาจากภาคการส่งออกในไตรมาสนี้ที่ลดลง 5.6% ติดลบต่อเนื่องจากการลดลง 4.5%  ในไตรมาสก่อนหน้า และติดลบติดต่อกัน 4 ไตรมาส โดยปริมาณส่งออกลดลง 5.8% ต่อเนื่องจาก การลดลง 6.4% ในไตรมาสก่อนหน้า

\'สภาพัฒน์\' หั่นจีดีพีไทยปี 66 เหลือ 2.5 - 3% หลังไตรมาส 2 ขยายตัวได้แค่ 1.8%

นอกจากนี้ดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2 ก็ยังลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 โดยลดลง 5.4% เช่นเดียวกับในเรื่องดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ลดลง 4.1% ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน ขณะที่การอุปโภคภาครัฐลดลง 4.3% จากการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่ลดลงในช่วงที่สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย 

หั่นจีดีพี 2566 เหลือ 2.5 - 3% 

ในส่วนของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 สศช.ได้ปรับการคาดการณ์จีดีพีลงจากเดิมคาดว่าจะอยู่ที่ 2.7  – 3.7% มาอยู่ที่  2.5 – 3% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากในเรื่องการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่จะขยายตัวได้ 5% แต่การใช้จ่ายภาครัฐจะลดลง 3.1% จากการเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้า และสศช.คาดว่าการเบิกจ่ายงบประมาณ 2567 จะลงสู่ระบบในไตรมาส 2 ของปีหน้าหลังจากที่งบประมาณปี 2567 เริ่มบังคับใช้ได้ในเดือน เม.ย.เป็นต้นไป

ขณะที่การลงทุนรวมจะขยายตัวได้ 1.6% การลงทุนภาครัฐขยายตัวได้ 2% และการส่งออกคาดว่าจะติดลบ 1.8%   ตามปริมาณการค้าโลกที่ลดลงต่อเนื่อง ส่วนภาคการท่องเที่ยวคาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องและมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศได้ 28 ล้านคน แต่มีการปรับรายได้จากภาคการท่องเที่ยวลง 1.03 ล้านล้านบาท จากเดิม 1.27 ล้านล้านบาทเนื่องจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวไม่สูงมากนัก

\'สภาพัฒน์\' หั่นจีดีพีไทยปี 66 เหลือ 2.5 - 3% หลังไตรมาส 2 ขยายตัวได้แค่ 1.8%

 

"การเบิกจ่ายการลงทุนและการส่งออกจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เศรษฐกิจไทยต้องปรับลดประมาณการลงเหลือ 2.5 - 3% โดยเป็นการประเมินจากเครื่องชี้เศรษฐกิจหลัก โดยจะส่งผลในการจัดทำงบประมาณที่เป็นการลงทุนของภาครัฐที่จะเข้าสู้เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ที่จะชะลอออกไป" นายดนุชากล่าว 

 

นอจากนี้เอลนีญโญจะกระทบเศรษฐกิจไทยประมาณ 0.4% ซึ่งต้องมีมาตรการในการเร่งแก้ปัญหานี้อย่างเร่งด่วนเพื่อไม่ให้กระทบรายได้ของภาคเกษตร 

สำหรับประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2566 ควรให้ความสำคัญกับประเด็นต่างๆ

(1) การรักษา บรรยากาศทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศรวมทั้งการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและ การติดตามป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก

 (2) การรักษา แรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ โดย  การเบิกจ่ายจาก งบประมาณรายจ่ายเหลื่อมปีและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจในช่วงที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ยังมีความล่าช้า

การเร่งรัดกระบวนการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567  เตรียม ความพร้อมของโครงการให้สามารถเบิกจ่ายได้โดยเร็ว และ  การกำหนดเป้าหมายและติดตามผลการ เบิกจ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่าย

 (3) การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการ เกี่ยวเนื่อง โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและการสร้างการรับรู้ต่อมาตรการ Long - term Resident VISA (LTR) เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีศักยภาพโดยเฉพาะกลุ่มพำนักระยะยาว

การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยเฉพาะในจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรองที่มีศักยภาพ และ การส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูง

 (4) การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร โดย  การป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะการบริหาร จัดการทรัพยากรน้ำให้เพียงพอต่อการผลิต

การเพิ่มส่วนแบ่งให้เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายผลผลิต ขั้นสุดท้ายมากขึ้น  การดำเนินมาตรการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่เกษตรกรผ่านการส่งเสริมระบบประกันภัย พืชผลจากความเสี่ยงของสภาพอากาศ และ การบรรเทาผลกระทบจากปัญหาต้นทุนวัตถุดิบทาง การเกษตรที่ยังอยู่ในระดับสูง

 (5) การขับเคลื่อนภาคการส่งออกสินค้าเพื่อไม่ให้เป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัว ทางเศรษฐกิจ โดย การอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก การเร่งรัด การส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในเกณฑ์ดี และสร้างตลาดใหม่ที่มี กำลังซื้อสูง (การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่มีโอกาสได้รับประโยชน์จากมาตรการกีดกันทางการค้า  การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัด การเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และเตรียมศึกษาเพื่อเจรจากับประเทศ คู่ค้าสำคัญใหม่

การป้องกันและแก้ไขปัญหากีดกันทางการค้าโดยเฉพาะมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีของประเทศ คู่ค้าสำคัญ  การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และ การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออก

และ (6) การส่งเสริมการลงทุน ภาคเอกชน โดย  การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2563 - 2565 ให้เกิดการลงทุนจริง  การแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อ 6 การลงทุนและการประกอบธุรกิจ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต ควบคู่ไปกับการพัฒนา กำลังแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกเพื่อดึงดูด นักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย

 การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และการขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละ ภูมิภาค และ  การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมให้เป็นไป ตามแผนที่กำหนดไว้