เลขา ก.ล.ต.ฟื้นเชื่อมั่น ‘พรอนงค์’ โชว์ผลงาน 6 เดือน ใช้กฎหมายยกระดับตลาดทุน

เลขา ก.ล.ต.ฟื้นเชื่อมั่น ‘พรอนงค์’ โชว์ผลงาน 6 เดือน ใช้กฎหมายยกระดับตลาดทุน

เป็นที่รู้กันดีว่า “ตลาดทุนไทย” ในช่วงที่ผ่านมา ต้องเผชิญสารพัดปัญหารุมเร้า ทั้งประเด็นของ บมจ. มอร์ รีเทิร์น หรือ MORE และ บมจ. สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น หรือ STARK รวมถึงปัญหาหุ้นกู้ดีฟอล และหุ้นเล็กป่วนตลาด อย่างหนัก จนส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนอย่างหนักหน่วง

ในเวลานั้นนับเป็นทั้งแรงกดดันและความท้าทายให้กับ “พรอนงค์ บุษราตระกูล” เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) “ผู้คุมกฎคนใหม่" ด้วยภารกิจและบทบาทเข้ามาเพื่อจัดระเบียบ สางปมปัญหาต่างๆ ในบ้านและนอกบ้าน พร้อมกับ “ภารกิจฟื้นความเชื่อมั่น” ของนักลงทุน และยกระดับพัฒนาตลาดทุนไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในทุกองคาพยพให้ก้าวต่อไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน

ตลอดเวลา 6 เดือนผ่านมา (เดือน ต.ค.66 - เม.ย.67) กับมาตรการขับเคลื่อนและดำเนินการสำคัญของ ก.ล.ต. นั้นคือ “ภารกิจยกระดับ Trust & Confidence” ในตลาดทุนไทย ด้วย “มาตรการ ป้อง-ปราม-ปราบ” โดย “พรอนงค์ บุษราตระกูล” อัปเดทให้ฟังว่า ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา ก.ล.ต. มีบทบาทหน้าที่ “ตัวกระตุ้น” คุ้มครองผู้ลงทุนด้วยการทำงานร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) อย่างหนักและใกล้ชิดในการ Check and Balance ร่วมกัน และมีกระบวนการตรวจสอบเพิ่มเติมในประเด็นที่ทุกฝ่ายมีข้อสงสัย 

เลขา ก.ล.ต.ฟื้นเชื่อมั่น ‘พรอนงค์’ โชว์ผลงาน 6 เดือน ใช้กฎหมายยกระดับตลาดทุน

รวมถึงบูรณาการการทำงาน ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนไทย  เช่น ดีเอสไอ , สำนักงานอัยการ สำหรับเคสที่อยู่ในความสนใจของประชาชชน และมีผลกระทบเป็นวงกว้าง อย่างกรณีหุ้น STARK , MORE และ Zipmex ที่มีความคืบหน้ามาโดยตลอดในการผลักดันการบังคับใช้กฎหมาย 

ขณะที่ตามบทบาทหน้าที่ของ ก.ล.ต. เพิ่มประสิทธิภาพแก้ไขปัญหารวดเร็วมากขึ้น เริ่มจากการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย พร้อมกับป้องปรามและป้องปราบ ควบคู่กัน เช่น ปรับโครงสร้างองค์กรภายใน เพิ่มสายบังคับใช้กฎหมาย การดำเนินมาตรการลงโทษทางเพ่งในกรณีการกระทำที่ไม่เป็นธรรมในการซื้อขาย เปิดช่องทางสายด่วนแจ้งหลอกลงทุน 

พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ได้ดำเนินการแก้ไขกฎหมายและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการระดมทุนต่างๆ ทั้งตลาดทุน,ตราสารหนี้ , สินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อยกระดับคุณภาพการทำหน้าที่ของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่นโครงการผู้ออกหลักทรัพย์แข้มแข็ง การพัฒนาระบบนิเวศน์ตลาดตราสารหนี้ที่ยั่งยืน พัฒนาธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี การสร้างความยั่งยืนกับตลาดทุน การเข้าร่วมประชุมในเวทีนานาชาติ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม “การสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน” เป็นภารกิจสำคัญ เพื่อยกระดับตลาดทุนไทยให้เข้มแข็งมากขึ้น ดังนั้น ก.ล.ต. และทุกฝ่ายเกี่ยวข้องกับตลาดทุนไทย ได้ร่วมมือกับผลักดัน “มาตรการเพิ่มความเชื่อมั่น” ตามที่ ตลท.ได้ชี้แจ้งไปก่อนหน้า การเริ่มบังคับใชัมาตรการต่างๆ ยังเป็นไปตามไทม์ไลน์จะออกภายในไตรมาส 2 นี้ หากยังเป็นการพัฒนาระบบรองรับ และเปิดรับฟังความเห็นเพิ่มจะทยอยออกมาในช่วงไตรมาส 3 และปลายปีนี้ตามลำดับ 

“พรอนงค์” ย้ำว่า ก.ล.ต. ผนึกกำลังกับ ตลท. หารือร่วมกันมาโดยตลอดในการออกมาตรการและหลักเกณฑ์ต่างๆ และมีการเปิดรับฟังความเห็นต่อสาธารณะซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี และทำให้เกิดความเหมาะสมกับตลาดทุนไทยที่มีบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป 

แน่นอนว่า หลายๆ มาตรการเริ่มใช้แล้วตั้งแต่ปีก่อน สามารถแก้ไขปัญหาได้ระดับหนึ่ง เช่น ยกระดับคุณภาพหุ้นกู้ ทำให้หุ้นกู้ไฮยีลด์ลดลงหรือการแปะป้ายหุ้น และการเปิดเผยข้อมูลบริษัทจดทะเบียน ช่วยให้นักลงทุนมีข้อมูลในการตัดสินใจลงทุนได้มากขึ้น  

ส่วนมาตรการเพิ่มเติมสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน ยกตัวอย่าง ประเด็นปัญหาการขายชอร์ตไม่เป็นตามเกณฑ์ (Naked Short Selling) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ก.ล.ต. มีกระบวนการคุมดูแลและดำเนินการเอาผิดได้อยู่แล้ว ดังนั้น เมื่อเกิดข้อสงสัยเพิ่มเติมทาง ก.ล.ต. มีกระบวนการตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยระบบ post trade monitoring สุ่มตรวจธุรกรรม short/long sell รายงานให้ regulator ทราบโดยไม่ชักช้าเมื่อพบเหตุที่น่าสงสัยจะมีรายงานผลและประโยชน์ของรายงานนี้ คาดจะชัดเจนในเดือนก.ค. นี้ หากพบมีการกระทำดังกล่าวจริงก็จะดำเนินการเอาผิดเต็มที่แน่นอน 

“ตอนนี้เราถือว่าทลายข้อจำกัดต่างๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและยกระดับคุณภาพตลาดทุนไทย สร้างความเท่าเทียมและโปร่งใส มาได้ครึ่งทางแล้วบางส่วนก็ต้องรอการแก้กฎหมาย ตามกระบวนการต้องยังต้องใช้เวลา ซึ่งการสร้างความเชื่อมั่นในตลาดทุนรอไม่ได้ แม้จะเพิ่มมาตรการต่างๆ เราก็ไม่ได้ใส่ยาแรงเลยทันที แต่เป็นยาระดับที่คาดว่าคุมปัญหาระดับหนึ่งได้ จากนี้ต้องรอดูผลและพิจารณาทบทวนหากคุมปัญหาไม่ได้ ยังเพิ่มยาแรงขึ้นหรือลดยาได้ แต่ถ้าใช้ยาแรงไปเลยอาจดื้อยาไม่เป็นมิตรต่อเป้าหมายดึงเงินลงทุนเข้ามาในตลาดทุน” 

สำหรับ ความคาดหวังผลของมาตรการเพิ่มความเชื่อมั่นนักลงทุนในตลาดทุนไทยนั้น หากภาวะตลาดยังเป็นเช่นนี้ไม่ได้มีปัญหาหรือปัจจัยบวกเพิ่มเติม ถือว่ามาตรการต่างๆ มาถูกทาง แต่ยังสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมได้ 

จึงมั่นใจว่า ครึ่งปีหลัง “ความเชื่อมั่นนักลงทุน” จะมีทิศทางดีขึ้น และระยะถัดไปมีมาตรการรัฐเข้ามากระตุ้นเศรฐกิจเป็นปัจจัยบวกเพิ่มน่าจะเป็นกำลังเสริมซึ่งกันตลาดทุนไทยจะถูกขับเคลื่อนไปในทิศทางที่สร้างแรงดึงดูดและแข่งขันได้ในครึ่งปีหลังเช่นกัน 

“การดูแลผู้เสียหาย การเอาผิดกับผู้กระทบความผิด การล้อมคอกด้วยกฎหมาย การจัดการเก็บกวาดบ้าน ที่ทำควบคู่กันไป ดังนั้นมาตรการต่างๆเสมือน เราได้ติดอาวุธ หรือติดปีกให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะรายย่อย สามารถลงทุนได้ด้วยข้อมูลที่ครบถ้วน และปัญหาต่างๆ ถูกจัดการดูแล โดยยังคงดูแลนักลงทุนทุกกลุ่มให้เกิดความเท่าเทียมกัน พร้อมชี้แจงสื่อสารทำความเข้าใจกับนักลงทุนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนที่ยังเรียกว่า เอามือซุกหีบ ถ้าฝุ่นในตลาดทุนยังไม่หายตลบก็ไม่เข้ามาลงทุน ดังนั้น หากไม่มีมาตรการเพิ่มเติมคนกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบคงปล่อยไม่ได้เพราะนี่คือ กลุ่มพลังของการลงทุนรออยู่” 

พร้อมกันนี้ ก.ล.ต. ยังบทบาทต่อตลาดทุนไทยทั้งกำกับและพัฒนาไปด้วยกัน ดังนั้น เตรียมข้อหารือกับรมว.คลังคนใหม่ ทั้งการเข้าไปชี้แจงการดำเนินการต่างๆ ตามบทบาทกำกับดูแลและสรา้งความเชื่อมั่นนักลงทุน อาทิ เพิ่มเสน่ห์ตลาดทุนไทย สามารถใช้ตลาดทุนไทยเข้ามาระดมทุนได้ ,การมีบทวิเคราะห์ ภายใต้ผู้ประกอบธุรกิจอยู่ได้, ข้อมูลสำหรับผลักดันสร้างเงินออมระยะยาวเกี่ยวกับนำกองทุน LTF กลับมาช่วยให้ตลาดทุนคึกคัก, ความยั่งยืนเป็นจุดแข็งตลาดทุนไทย และยังมีเงินลงทุนทั่วโลกเตรียมเข้ามาลงทุนเพิ่มอีกมาก