ปศุสัตว์ยึดหนังโค เขี้ยวหมูจากอินเดีย สารภาพหลอกขายเป็น เขี้ยว -หนังเสือ

ปศุสัตว์ยึดหนังโค เขี้ยวหมูจากอินเดีย สารภาพหลอกขายเป็น เขี้ยว -หนังเสือ

ด่านกักกันสัตว์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจับกุมชาวอินเดียลักลอบนำเข้าหนังโค เขี้ยวหมู ซุก กระเป๋าเดินทาง 6 ใบ สารภาพนำมาทำเครื่องประดับ เครื่องรางของขลัง หลอกขายเป็นเขี้ยวเสือ- หนังเสือ

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากนายสัตวแพทย์ชุติพนธ์ ศิริมงคลรัตน์ ผู้อำนวยการกองสารวัตรและกักกันและนายสัตวแพทย์ยุทธนา โสภี หัวหน้าด่านกักกันสัตว์ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิว่า เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจพบความผิดปกติของกระเป๋า 6 ใบที่มากับเที่ยวบินซึ่งมีต้นทางจากประเทศอินเดีย โดยลักษณะของกระเป๋ามีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก จึงขอเปิดตรวจค้นและพบการลักลอบนำซากสัตว์ประกอบด้วย หนังโค 60 กิโลกรัม และเขี้ยวหมูจำนวน 140 กิโลกรัม น้ำหนักรวม 200 กิโลกรัม

 

เจ้าหน้าที่ได้สอบปากคำชาวอินเดียเจ้าของกระเป๋า เบื้องต้นสารภาพว่า ลักลอบนำเข้าเพื่อมาทำเป็นเครื่องประดับและเครื่องรางของขลัง ซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อเข้าใจว่าทำมาจากเขี้ยวเสือหรือหนังเสือ

 

จากนั้นจึงนำตัวเจ้าของกระเป๋าส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 มาตรา 31 มีโทษตามมาตรา 68 ผู้ใดนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 31 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนของกลางทั้งหมดได้ยึดไว้ทำลายเพื่อป้องกันโรคระบาดที่อาจปนเปื้อนมากับซากสัตว์ดังกล่าว

ปศุสัตว์ยึดหนังโค เขี้ยวหมูจากอินเดีย สารภาพหลอกขายเป็น เขี้ยว -หนังเสือ

ปศุสัตว์ยึดหนังโค เขี้ยวหมูจากอินเดีย สารภาพหลอกขายเป็น เขี้ยว -หนังเสือ

 

กรมปศุสัตว์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังและสกัดกั้นการลักลอบนำเข้าสัตว์มีชีวิตหรือซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรอย่างเข้มงวดและต่อเนื่องในทุกช่องทาง เพื่อป้องกันการแพร่ของโรคระบาดสัตว์ ซึ่งซากสัตว์ดังกล่าวอาจเป็นพาหะของโรคปาก และเท้าเปื่อย โรคลัมปีสกิน และโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เป็นต้น รวมถึงเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและปกป้องเกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์ภายในประเทศ

นอกจากนี้  กรมปศุสัตว์ได้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการติดตามสืบสวนทางลับอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าเนื้อสัตว์เถื่อน ซึ่งมีความผิดตามพ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ล่าสุดได้ข้อมูลว่า

 

 

 

 

 

เจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจกองสารวัตรและกักกันจึงเข้าตรวจสอบห้องเย็นดังกล่าวโดยประสานงานกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรพื้นที่ ผลการตรวจสอบพบเนื้อ เครื่องใน และชิ้นส่วนตัดแต่งสุกรแช่แข็ง 5 รายการซึ่งข้างกล่องระบุต้นทางการผลิตจากประเทศอิตาลี เยอรมนี และบราซิล ซึ่งสงสัยว่าลักลอบนำเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ น้ำหนักรวม 10,458 กิโลกรัม

เบื้องต้นพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบเอกสารการขออนุญาตนำเข้าซากสัตว์ เอกสารการขออนุญาตเคลื่อนย้ายซากสัตว์ และเอกสารรับรองสุขศาสตร์ซากสัตว์ ผู้ประกอบการห้องเย็นยังไม่สามารถนำมาแสดงได้ จึงอายัดของกลางทั้งหมดไว้ รวมถึงเก็บตัวอย่างจากเนื้อและเครื่องในสุกรที่อายัดได้ ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาเชื้อโรคระบาดสัตว์และสารตกค้างที่อาจติดมากับสินค้าดังกล่าว 

จากนั้นไปลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานที่สถานีตำรวจภูธรเมืองสมุทรสาคร พร้อมทั้งแจ้งให้เจ้าของสินค้านำเอกสารที่เกี่ยวข้องมาแสดงภายใน 15 วันทำการ หากไม่นำเอกสารมาแสดงจะร้องทุกข์กล่าวโทษตามพ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 มาตรา 22 ห้ามมิให้ผู้ใดเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์เข้าเขตเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษตามมาตรา 65 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 31 ผู้ใดนำเข้าส่งออกหรือนำผ่าน ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายทุกครั้งที่นำเข้า ส่งออกหรือนำผ่านราชอาณาจักร บทกำหนดโทษ มาตรา 68 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

ปศุสัตว์ยึดหนังโค เขี้ยวหมูจากอินเดีย สารภาพหลอกขายเป็น เขี้ยว -หนังเสือ ปศุสัตว์ยึดหนังโค เขี้ยวหมูจากอินเดีย สารภาพหลอกขายเป็น เขี้ยว -หนังเสือ

 

ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังและสกัดกั้นการลักลอบนำเข้าสัตว์มีชีวิตและเนื้อสัตว์เถื่อนเข้ามาในราชอาณาจักรอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการแพร่ของโรคระบาดสัตว์ ตลอดจนช่วยลดความเสี่ยงที่ประชาชนจะบริโภคสินค้าปศุสัตว์ที่ไม่มีคุณภาพและไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงเป็นการปกป้องเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ไม่ให้เนื้อสัตว์เถื่อนมาแทรกแซงราคาหรือทำลายกลไกการตลาดภายในประเทศอย่างไม่เป็นธรรม พร้อมทั้งกำชับให้ด่านกักกันสัตว์ทุกแห่งและเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัด ปศุสัตว์อำเภอในทุกพื้นที่ ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตรวจสอบสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์ทั่วประเทศอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง หากพบผู้กระทำความผิดตามพ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ให้บังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัด